ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมปืนช็อตไฟฟ้าในการใช้ป้องกันตัวของประชาชน
dc.contributor.author | ชาคริต เอี่ยมเอกสกุลณี | th_TH |
dc.date.accessioned | 2566-08-09T03:00:00Z | |
dc.date.available | 2023-08-09T03:00:00Z | |
dc.date.issued | 2566 | |
dc.description.abstract | สารนิพนธ์นี้ศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมปืนช็อตไฟฟ้าในการใช้ป้องกันตัวของประชาชน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการควบคุมปืนช็อตไฟฟ้าในการใช้ป้องกันตัวของประชาชน (2) มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมปืนช็อตไฟฟ้าในการใช้ป้องกันตัวของประชาชนของระหว่างประเทศ ต่างประเทศ และของประเทศไทย (3) ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมปืนช็อตไฟฟ้าในการใช้ป้องกันตัวของประชาชน (4) แนวทางในการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมปืนช็อตไฟฟ้าในการใช้ป้องกันตัวของประชาชน ผลการศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมปืนช็อตไฟฟ้าในการใช้ป้องกันตัวของประชาชน พบปัญหาคือ (1) ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการอนุญาตให้มีหรือครอบครองปืนช็อตไฟฟ้าสำหรับประชาชนโดยทั่วไป เนื่องจากรัฐไม่ออกข้อกำหนดเปิดช่องให้ประชาชนโดยทั่วไปเข้าถึงอาวุธปืนช็อตไฟฟ้าได้ ทำให้ตัวเลือกในการป้องกันตัวจำกัดอยู่แต่ในอาวุธประเภทร้ายแรง เช่น อาวุธปืนโดยทั่วไป (2) ปัญหากรณีตลับลูกดอกไฟฟ้าและลูกดอกไฟฟ้าที่ใช้กับปืนช็อตไฟฟ้า เมื่อปืนช็อตไฟฟ้าถูกกฎหมายกำหนดให้ถือว่า อาวุธปืนช็อตไฟฟ้าเป็นอาวุธปืนตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 และเป็นยุทธภัณฑ์ตามประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง กำหนดยุทธภัณฑ์ที่ต้องขออนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 (พ.ศ. 2564) ข้อ 2 (1) (ก) ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 กลับยังไม่มีกฎหมายควบคุมตลับลูกดอกไฟฟ้าหรือลูกดอกไฟฟ้าอย่างเช่นเครื่องกระสุนปืนหรือกระสุนปืนโดยทั่วไป (3) ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาตเกี่ยวกับอาวุธปืน เนื่องจากคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 ยังไม่ครอบคลุมในเรื่องการทำแบบทดสอบก่อนได้รับใบอนุญาตเหมือนใบขับขี่ และได้รับรองการตรวจจากแพทย์โดยเฉพาะการรับรองทางด้านจิตเวช ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหากฎหมายดังกล่าวโดย (1) แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2522) ข้อ 2 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงอาวุธปืนช็อตไฟฟ้าได้ (2) แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 4 (2) “เครื่องกระสุนปืน” แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 เพื่อให้ตลับลูกดอกไฟฟ้าและลูกดอกไฟฟ้าถูกควบคุมเช่นเครื่องกระสุนปืนตามกฎหมาย และ (3) แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 13 เพื่อกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามผู้ขออนุญาตให้มีหรือครอบครองอาวุธปืน คือ กำหนดให้มีการทำแบบทดสอบทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ และการรับรองเป็นทางการจากแพทย์ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบัน | th_TH |
dc.description.sponsorship | Sripatum University | th_TH |
dc.identifier.citation | ชาคริต เอี่ยมเอกสกุลณี. 2566. "ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมปืนช็อตไฟฟ้าในการใช้ป้องกันตัวของประชาชน." ผลงานนักศึกษานิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. | th_TH |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9311 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศรีปทุม | th_TH |
dc.subject | ปืนช็อตไฟฟ้า | th_TH |
dc.subject | ป้องกันตัว | th_TH |
dc.subject | ประชาชน | th_TH |
dc.title | ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมปืนช็อตไฟฟ้าในการใช้ป้องกันตัวของประชาชน | th_TH |
dc.title.alternative | LEGAL ISSUES REGARDING THE CONTROL OF TESERS FOR CIVILIAN SELF-DEFENSE | th_TH |
dc.type | Thesis | th_TH |