ปัญหากฎหมายการออกเอกสารสิทธิที่ดินบนเกาะตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (พ.ศ.2537)
dc.contributor.author | ไชยา วิสุทธิปราณี | |
dc.date.accessioned | 2553-06-05T08:59:03Z | |
dc.date.available | 2553-06-05T08:59:03Z | |
dc.date.issued | 2553-06-05T08:59:03Z | |
dc.description.abstract | การออกเอกสารสิทธิที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งในปัจจุบันคือโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นปัญหาสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากภาครัฐและเอกชนมีวัตถุประสงค์ตรงกันในการต้องการให้รัฐเร่งรัดออกเอกสารสิทธิในที่ดินให้กับประชาชนผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินโดยเร่งด่วนเพื่อรับรองคุ้มครองสิทธิเจ้าของที่ดิน เป็นการป้องกันการโต้แย้งสิทธิในทรัพย์สินและเพื่อเป็นหลักทรัพย์ในการประกอบอาชีพของประชาชนแต่ด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกเอกสารสิทธิที่ดิน ซึ่งบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน กฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินและประมวลกฎหมายที่ดิน ระเบียบคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติประกอบกับกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้ กฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดิน เป็นต้น ทำให้เกิดปัญหาในการออกเอกสารสิทธิให้กับประชาชน ซึ่งครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินมาก่อนประมวลกฎหมายที่ดิน วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาปัญหาการออกโฉนดที่ดินที่ดินบนเกาะ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ.2537) เนื่องจากกฎกระทรวงดังกล่าวตามข้อ 14 (3) กำหนดเงื่อนไขเด็ดขาดว่าห้ามมิให้ออกโฉนดที่ดินสำหรับที่เกาะที่ไม่มีหลักฐานแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) ใบจองใบเหยียบย่ำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ โฉนดตราจอง ตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้วจึงเป็นการตัดสิทธิผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ โดยไม่เปิดโอกาสให้มีการพิสูจน์สิทธิในที่ดินนั้นๆ ในการที่จะขอออกโฉนดที่ดินตามมาตรา 59 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดินได้เหมือนเช่นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่มิใช่ที่เกาะ เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินบนเกาะ ซึ่งผลของการออกกฎกระทรวงดังกล่าวเท่ากับเป็นการยกเลิกมาตรา 59 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดินไปโดยปริยายสำหรับที่ดินบนเกาะ จากการศึกษาพบว่าโดยปกติทั่วไปหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขในการออกเอกสารสิทธิที่ดิน หากเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย โดยเคร่งครัดแล้วก็มิใช่เรื่องง่ายๆ ในการพิจารณาออกเอกสารสิทธิที่ดินแต่ละแปลงตามมาตรา 59 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน โดยเฉพาะ ที่ดินบนเกาะ ซึ่งโดยสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาหรือเขตปริมณฑลรอบเขา 40 เมตรหรือที่มีความลาดชันเกินร้อยละ 35 หรือบางเกาะอาจอยู่ในเขตของป่าไม้หรือเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งที่ดินลักษณะดังกล่าวไม่อยู่ในหลักเกณฑ์การออกเอกสารสิทธิอยู่แล้ว ดังนั้น การที่รัฐออกกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ.2537) มากำหนดเงื่อนไขเด็ดขาดจึงเป็นการตัดสิทธิประชาชนผู้ครอบครองที่ดินบนเกาะมาก่อนประมวลกฎหมายที่ดินในการที่จะขอออกโฉนดที่ดิน ตามมาตรา 59 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ทั้งที่ก่อนมีกฎกระทรวงดังกล่าวสามารถดำเนินการได้จึงเป็นการไม่ยุติธรรมสำหรับประชาชน อีกทั้งกฎกระทรวงนี้ยังเป็นการยกเลิกมาตรา 59 ทวิ มิให้ใช้สำหรับที่ดินบนเกาะโดยปริยายเห็นควรแก้ไขกฎกระทรวงดังกล่าว เพื่อความเป็นธรรมและเปิดโอกาสให้ประชาชนได้พิสูจน์สิทธิของตน ตามมาตรา 59 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เช่นเดียวกับผู้ครอบครองที่ดินทั่วไป | en_US |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1730 | |
dc.subject | กฎหมาย | en_US |
dc.subject | ที่ดิน | en_US |
dc.subject | เอกสารสิทธิ | en_US |
dc.subject | โฉนด | en_US |
dc.subject | กฎหมายที่ดิน | en_US |
dc.title | ปัญหากฎหมายการออกเอกสารสิทธิที่ดินบนเกาะตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (พ.ศ.2537) | en_US |
ไฟล์
ชุดต้นฉบับ
1 - 5 ของ 12
มัดใบอนุญาต
1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
- ชื่อ:
- license.txt
- ขนาด:
- 1.72 KB
- รูปแบบ:
- Item-specific license agreed upon to submission
- คำอธิบาย: