ตัวแบบการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ส่งผลต่อองค์กรแห่งความสุข

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2563-09

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ

เชิงนามธรรม

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ส่งผลต่อองค์กรแห่งความสุข 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสุขของบุคลากรใน การทำงาน การบริหารเชิงพุทธ และองค์กรแห่งความสุข และ3) เพื่อพัฒนาตัวแบบการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ส่งผลต่อองค์กรแห่งความสุข ออกแบบโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย บุคลากรมหาวิทยาลัยสงฆ์ จำนวน 310 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 2) แบบสอบถาม การเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) ใช้วิธีการส่งและรับกลับมาด้วยตัวเอง 2) การใช้แบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ 1) ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา 2) ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลแบบมีตัวแปรส่งผ่านและการวิเคราะห์ขนาดอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมด้วยสถิติ SEM ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ตัวแปรที่เป็นองค์ประกอบของการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ส่งผลต่อองค์กรแห่งความสุข แบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.1) ความสุขของบุคลากรในการทำงาน มีจำนวน 5 ตัวแปร 1.2) การบริหารเชิงพุทธ มีจำนวน 4 ตัวแปร 1.3) องค์กรแห่งความสุข มีจำนวน 4 ตัวแปร รวมตัวแปรสังเกตได้ทั้งหมด 13 ตัวแปร 2) ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มตัวแปรแฝงในโมเดลพบว่า ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กันสูงสุด คือ ความสุขของบุคลากรในการทำงานกับองค์กรแห่งความสุข โดยมีขนาดความสัมพันธ์เท่ากับ .825 สัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 3) ผลการวิเคราะห์โมเดลที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าดัชนีความกลมกลืนที่ผ่านเกณฑ์การยอมรับ คือ Chi-Square =49.80, df = 37, P = 0.077, GFI = 0.97, AGFI 0.94, และ RMSEA = 0.03

คำอธิบาย

คำหลัก

ตัวแบบการบริหารจัดการ, การบริหารเชิงพุทธ, องค์กรแห่งความสุข, มหาวิทยาลัยสงฆ์

การอ้างอิง