ปัญหาการริบทรัพย์สินในคดียาเสพติดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 33และ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102
dc.contributor.author | ผศ.เจียมจิต สุวรรณน้อย | th_TH |
dc.date.accessioned | 2564-02-02T12:10:11Z | |
dc.date.available | 2021-02-02T12:10:11Z | |
dc.date.issued | 2563-12-18 | |
dc.description | การริบทรัพย์สินผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดนับเป็นมาตรการหนึ่งที่รัฐใช้เพื่อหยุดยั้งการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด โดยทรัพย์สินของกลางที่ถูกยึดได้ในคดียาเสพติดอาจถูกริบตามหลักกฎหมายอาญาทั่วไปในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 และ 33 ซึ่งมีขอบเขตจำกัดในเรื่องของทรัพย์สินที่ศาลจะสั่งริบได้เฉพาะทรัพย์สินที่ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด หรือทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยได้กระทำความผิด และอาจถูกริบตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 ซึ่งได้กำหนดประเภทของทรัพย์สินที่ศาลจะสามารถสั่งริบได้ขยายกว้างออกไป ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของของกลางที่ยึดได้ในคดียาเสพติด อย่างไรก็ดี หากทรัพย์สินนั้นมีการแปรสภาพ หรือปกปิดอำพราง หรืออยู่ในครอบครองของบุคคลอื่นก็อาจถูกตรวจสอบและดำเนินการริบทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 29, 30 และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 51 ปัญหาคือ การพิจารณาคดียาเสพติดในกรณีที่โจทก์ขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 33 และพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 บ่อยครั้งข้อเท็จจริงจะปรากฏว่าผู้กระทำความผิดมิได้จำหน่ายยาเสพติดในครั้งที่ถูกจับตามฟ้องเพียงครั้งเดียว หรือขณะถูกจับผู้กระทำความผิดมียาเสพติดไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ยังไม่ทันจำหน่าย แต่มีการจำหน่ายยาเสพติดให้แก่ลูกค้ารายอื่น ๆ ก่อนถูกจับมาแล้วหลายราย ดังนั้นในชั้นจับกุมนอกจากเจ้าพนักงานจะตรวจยึดยาเสพติดและทรัพย์สินที่ได้จากการจำหน่ายในครั้งที่ถูกจับเป็นของกลางแล้ว ยังสามารถตรวจยึดทรัพย์สินหรือธนบัตรซึ่งผู้กระทำความผิดได้มาจากการจำหน่ายยาเสพติดให้แก่ลูกค้าในครั้งก่อน ๆ หรือบางคดียึดได้ธนบัตรที่ผู้กระทำความผิดได้จากผู้ว่าจ้างเป็นค่าจ้างในการลำเลียง ขนส่งหรือไปส่งยาเสพติดให้แก่ผู้ว่าจ้างหรือลูกค้า รวมทั้งอาจยึดได้ธนบัตรที่ผู้กระทำความผิดได้ตระเตรียมไว้เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการซื้อยาเสพติดมาจำหน่ายเป็นของกลางด้วย แต่เมื่อผู้กระทำความความผิดเหล่านั้นถูกฟ้องดำเนินคดีโดยโจทก์มีคำขอให้ริบทรัพย์สินหรือธนบัตรดังกล่าวมาด้วยนั้น กลับถูกศาลปฏิเสธไม่ริบทรัพย์สินหรือธนบัตรซึ่งผู้กระทำความผิดได้มาจากการจำหน่ายยาเสพติดในครั้งก่อน ๆ เพราะมิใช่ทรัพย์สินที่ได้มาหรือได้ใช้ในการกระทำความผิดในครั้งที่ถูกฟ้อง ส่วนเงินค่าจ้างที่ผู้กระทำความผิดได้จากผู้ว่าจ้างศาลก็เห็นว่ามิใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ หรือวัตถุอื่นซึ่งใช้ในการกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง จึงไม่ริบ ทั้งยังสั่งคืนธนบัตรของกลางนั้นให้แก่เจ้าของ ก่อให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์ว่าในกรณีที่ข้อเท็จจริงฟังได้เป็นยุติและปรากฏชัดแจ้งอยู่แล้วว่าทรัพย์สินหรือธนบัตรนั้นเป็นทรัพย์ที่ได้มาหรือได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เหตุใดศาลจึงไม่ริบทรัพย์ ส่วนธนบัตรที่ผู้กระทำความผิดเตรียมไว้เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการซื้อยาเสพติดมาจำหน่าย ศาลฎีกาก็ยังมีความเห็นแตกต่างกันโดยฝ่ายแรกเห็นว่าริบไม่ได้เนื่องจากเป็นทรัพย์สินที่ผู้กระทำความผิดได้มาหรือได้ใช้ในการกระทำความผิดครั้งก่อน มิใช่ทรัพย์สินที่ได้มาหรือได้ใช้ในการกระทำความผิดครั้งที่ถูกฟ้อง จึงมิใช่เครื่องมือ เครื่องใช้หรือวัตถุอื่นใดซึ่งใช้กระทำความผิดในคดีที่ถูกฟ้องโดยตรง ส่วนฝ่ายที่สองที่เห็นว่าริบได้ถือว่าธนบัตรนั้นเป็นทรัพย์ที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งก่อให้เกิดความไม่แน่นอนและเกิดผลกระทบในการใช้ดุลพินิจตีความกฎหมายของผู้พิพากษาที่ไม่เป็นเอกภาพไปในแนวทางเดียวกัน | th_TH |
dc.description.abstract | ทรัพย์สินที่ผู้กระทำความผิดถูกยึดเป็นของกลางในคดียาเสพติดอาจถูกริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 33 และพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 บ่อยครั้งที่เจ้าพนักงานยึดได้ทรัพย์สินซึ่งผู้กระทำความผิดได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือยึดได้ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยได้กระทำความผิดในครั้งก่อนความผิดที่ถูกฟ้อง แต่เมื่อคดีมาถึงศาล ศาลกลับใช้หลักการตีความกฎหมายที่เคร่งครัดโดยเห็นว่าทรัพย์สินนั้นมิใช่ทรัพย์สินที่ได้มาหรือได้ใช้ในการกระทำความผิดในครั้งที่ถูกฟ้อง หรือมิใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ หรือวัตถุอื่นใดซึ่งได้ใช้กระทำความผิดในคดีที่ถูกฟ้องโดยตรง จึงไม่ริบและยังคืนทรัพย์สินนั้นให้แก่เจ้าของ ก่อให้เกิดความรู้สึกของสังคมที่ไม่ดีต่อศาล จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางปรับปรุงแก้ไข ซึ่งผลการศึกษาพบว่ามีทางเลือกอยู่ 2 แนวทาง แนวทางแรก คือ เปลี่ยนแนวคิดการตีความว่าการริบทรัพย์สินนั้นมิใช่เป็นเรื่องโทษทางอาญาเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นเรื่องของวิธีการเพื่อความปลอดภัยรวมอยู่ด้วย ส่วนแนวทางที่สอง คือ แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การริบทรัพย์สินตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 ให้ครอบคลุมถึงทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยได้กระทำความผิดในครั้งก่อนความผิดที่ถูกฟ้อง เพื่อให้ศาลใช้เป็นเครื่องมือในการริบทรัพย์สินในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดได้อย่างมีประสิทธิภาพ | th_TH |
dc.identifier.citation | การริบทรัพย์สินในคดียาเสพติด, โทษริบทรัพย์สิน,forfeiture of property in drug cases, penalties for forfeiting property | th_TH |
dc.identifier.issn | 978-974-655-469-5 | |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7256 | |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติมหาวิทยาลัยศรีปทุม | th_TH |
dc.subject | การริบทรัพย์สินในคดียาเสพติด, โทษริบทรัพย์สิน | th_TH |
dc.subject | : forfeiture of property in drug cases, penalties for forfeiting property | th_TH |
dc.title | ปัญหาการริบทรัพย์สินในคดียาเสพติดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 33และ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 | th_TH |
dc.type | Article | th_TH |