กฎหมายต้นแบบว่าด้วยข้อบัญญัติท้องถิ่นเกี่ยวกับการอนุมัติ อนุญาต การรับรองเอกสาร ผ่านการลงลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์
dc.contributor.author | เอกพงศ์ รุ่งโรจน์วุฒิพงศ์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2565-10-07T03:42:14Z | |
dc.date.available | 2022-10-07T03:42:14Z | |
dc.date.issued | 2565 | |
dc.description.abstract | สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบว่าด้วยการอนุมัติ อนุญาต การรับรองเอกสารผ่านการลงลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการที่เกี่ยวข้อง และศึกษาถึงแนวทางเปรียบเทียบกฎหมายว่าด้วยการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ของ สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสาธารณรัฐอินเดีย ถึงประเด็นปัญหาในการให้อำนาจหน่วยงานระดับท้องถิ่น การกำหนดนิยามคำจำกัดความของการอนุมัติ อนุญาต และการรับรองเอกสาร ผ่านการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงศึกษาถึงแนวทางการให้อำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการตรากฎหมาย ผลการศึกษาพบว่า แม้ว่าในปัจจุบันมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 กำหนดแนวทางเกี่ยวกับการอนุมัติ อนุญาต และการรับรองเอกสารผ่านการลงลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ แนวทางของการพิสูจน์อัตลักษณ์ของบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่อนั้น การเก็บรักษาความลับของข้อมูลบนระบบเครือข่าย วิธีการเปลี่ยนแปลงเอกสารจากระบบเดิมที่ทำบนกระดาษให้ขึ้นมาอยู่ในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนั้น มาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 มาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 มาตรา 45 (1) แห่งพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562 มาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 มาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 ได้มีแนวทางในการตราข้อบัญญัติท้องถิ่นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไว้ แต่จากผลการศึกษาพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่มีข้อบัญญัติท้องถิ่นใดรองรับเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ส่งผลให้การนำเทคโนโลยีเอกสารอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ยังไม่แพร่หลาย อีกทั้งเกิดความไม่มั่นใจของเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่ง หรือออกคำสั่ง อนุมัติ หรืออนุญาตถึงแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องหรือกรณีหากเอกสารต้องมีการนำขึ้นมายืนยันหรือใช้เป็นหลักฐานผ่านกระบวนการพิจารณาขององค์กรบนชั้นศาล จะต้องดำเนินการอย่างไรให้มีความครบถ้วนถูกต้องเชื่อถือได้และเป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานสากล ดังนั้น จึงเห็นควรมีข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบว่าด้วยการอนุมัติ อนุญาต การรับรองเอกสารผ่านการลงลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ และให้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับคำนิยามของการอนุมัติ อนุญาต และการรับรองเอกสาร ผ่านการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ระบบคำขออิเล็กทรอนิกส์ | th_TH |
dc.description.sponsorship | Sripatum University | th_TH |
dc.identifier.citation | เอกพงศ์ รุ่งโรจน์วุฒิพงศ์. 2565. “กฎหมายต้นแบบว่าด้วยข้อบัญญัติท้องถิ่นเกี่ยวกับการอนุมัติ อนุญาต การรับรองเอกสาร ผ่านการลงลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์.” สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. | th_TH |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8483 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศรีปทุม | th_TH |
dc.subject | ข้อบัญญัติท้องถิ่น | th_TH |
dc.subject | ลงลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ | th_TH |
dc.title | กฎหมายต้นแบบว่าด้วยข้อบัญญัติท้องถิ่นเกี่ยวกับการอนุมัติ อนุญาต การรับรองเอกสาร ผ่านการลงลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ | th_TH |
dc.title.alternative | LOCAL ORDINANCE MODEL ON APPROVAL AND CERTIFICATION OF DOCUMENTS THROUGH ELECTRONIC SIGNATURE | th_TH |
dc.type | Thesis | th_TH |
ไฟล์
ชุดต้นฉบับ
1 - 5 ของ 13
มัดใบอนุญาต
1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
- ชื่อ:
- license.txt
- ขนาด:
- 1.71 KB
- รูปแบบ:
- Item-specific license agreed upon to submission
- คำอธิบาย: