“Bondage 2”
กำลังโหลด...
วันที่
2566-12-18
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
The International Art Exhibition on“The 15t Great Oriental Art Exhibition”
เชิงนามธรรม
แนวคิดและกระบวนการการเขียนบทความวิจัยนี้เกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงาน “Bondage” เป็น
กระบวนการที่ผสมผสานระหว่างการศึกษาและการสร้างสรรค์ในการสร้างผลงานที่มีความหมาย ในเรื่องของ
ความเชื่อมโยงระหว่างกายและจิตของมนุษย์โดยมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และโปรแกรม 3 มิติ
เพื่อสร้างสรรค์ผลงานเดิมที่มีลักษณะ 2 มิติ ให้อยู่ในรูปแบบ 3 มิติ ที่ได้สะท้อนความสมจริงของมิติมากยิ่งขึ้น
โดยสื่อถึงดินแดนแห่งการผูกพันระหว่างกายและจิตมนุษย์
บทความวิจัยนี้เสนอความเป็นรูปธรรมของ “กายมนุษย์” และ “จิตมนุษย์” โดยชี้ให้เห็นถึงความ
เชื่อมโยงระหว่างสองด้านและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความผูกพันระหว่างกายและจิตมนุษย์ โดยกล่าวถึงการ
ยึดติด ในร่างกายเป็นสัญลักษณ์และขอบเขตโครงสร้างภาวะมนุษย์ สร้างพันธนาการจองจำ เสรีภาพจากภายใน
จิตวิญาณของความเป็นมนุษย์ ซึ่งแม้แต่ตนเองก็มิอาจหยุดยั้งสิ่งที่เกิดขึ้น
คำอธิบาย
ความเป็นรูปธรรมของ “กายมนุษย์” เกิดขึ้นเป็น
ธรรมชาติและประกอบด้วยส่วนประกอบที่หลากหลาย
ตั้งแต่เซลล์เล็ก ๆ จนถึงอวัยวะที่ซับซ้อน เช่น เซลล์
กล้ามเนื้อ กระดูก และหนัง สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงแค่
เป็นส่วนสำคัญของร่างกายเท่านั้น แต่ยังเป็น
สัญลักษณ์และขอบเขตสำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับ
เราในทุกด้านของชีวิต ในส่วนของ “จิตมนุษย์” มี
ความเป็นจริงและความอิสระในตัวเองเป็นสิ่งที่สำคัญ
จิตมีบทบาทสำคัญในการรับรู้และปรุงประดิษฐ์
ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นผ่านทางร่างกาย ตาม
ธรรมชาติของจิตจะรับรู้และปรับปรุงปรากฏการณ์
เหล่านั้นตามสภาพอารมณ์และประสบการณ์ที่ผ่าน
มาของแต่ละบุคคล แม้ว่าความอิสระของจิตใจจะ
เป็นสิ่งที่สมบูรณ์แบบและปราศจากข้อผูกมัดทุก
ประการทั้งความคิดและการกระทำ แต่ในภาพรวม
มนุษย์มักจะยึดติดกับพันธนาการที่สร้างขึ้นเอง ซึ่ง
ทำให้จิตและกายผูกติดกัน จากนั้นเกิดความเชื่อที่
จะต้องหาสิ่งยึดเหนี่ยว เช่น รูปลักษณะทางกายภาพ
และความเป็นตัวตนของมนุษย์เอง เรายังไม่สามารถ
อยู่ตัวเราเองได้เพียงอย่างเดียว และจิตยังยึดผูกติด
กับผู้อื่นด้วย เราเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และดำเนิน
ชีวิตตามวัฒนธรรมที่สร้างขึ้น เป็นแนวทางที่ควร
ปฏิบัติต่อมนุษย์แต่ละคน ดังนั้น ความมีอิสระที่
แท้จริงในจิตใจของมนุษย์ไม่ได้หมายความถึงการอยู่
โดยอิสระแบบเต็มที่ แต่เป็นการค้นพบความมีอิสระ
ในการตัดสินใจและพึงพอใจของตนเอง แม้ว่าเราจะ
อยู่ในสังคมและต้องปฏิบัติตามสัญชาตญาณบางอย่าง
แต่เรายังสามารถค้นพบความมีอิสระในจิตใจเราเอง
ได้ เพื่อเป็นพื้นที่เป็นดินแดนที่เราสามารถเป็นตัว
ของเราเองและสร้างชีวิตที่มีความสุขได้
แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
กรอบทฤษฎีในการการสร้างสรรค์ผลงาน 3 มิติ
ภายใต้หัวข้อ “Bondage” นี้ มีเนื้อหาเกี่ยวกับ
ความสัมพันธ์ภายในจิตใจ และความสัมพันธ์
ภายนอก ดังนั้นทฤษฎีที่นำมาใช้ จึงมีทฤษฎีเริ่มต้น
ตั้งแต่แรงจูงใจส่วนตัว รวมถึงการแสดงออกและผล
ที่ปรากฏขึ้นในสังคมมนุษย์โดยรวม ในผลงานชุดนี้ใช้
กรอบทฤษฎี 3 ทฤษฎีในการอ้างอิง ได้แก่
1. ทฤษฎีแรงจูงใจของมนุษย์ ของอับราฮัม
มาสโลว์ (Abraham Maslow) ศาสตราจารย์ทางด้าน
จิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยแบรนดิสกล่าวว่าพฤติกรรม
ของมนุษย์ทุกรูปแบบจะเกิดจากแรงจูงใจของตัวเอง
แรงจูงใจที่แตกต่างกันจึงทำให้บุคคลมีบุคลิกภาพ
ไม่เหมือนกัน รูปแบบของมาสโลว์ได้เป็นการพิจารณา
ว่าความต้องการของมนุษย์จะเริ่มจากระดับล่างก่อน
เมื่อความต้องการในระดับล่างได้รับการตอบสนอง
แล้ว ก็จะไม่เป็นที่ต้องการต่อไป แต่ความต้องการใน
ระดับสูงขึ้นจะเข้ามาแทนที่ ซึ่งรูปแบบของมาสโลว์
จะมีลักษณะเป็นปิรามิด (วิไลวรรณ ศรีสงคราม,
2549, หน้า 181) โดยความต้องการระดับล่างสุด
คือ ความต้องการทางกายจะเกิดขึ้นก่อน และเมื่อ
ความต้องการทางกายได้รับการตอบสนองแล้ว ก็จะ
เลื่อนไปสู่ระดับที่สูงขึ้นคือความต้องการ ซึ่งมาสโลว์
ได้กล่าวว่า ความต้องการทางกายและความต้องการ
ความปลอดภัยเป็นความต้องการในระดับต่ำของมนุษย์
ส่วนความต้องการความรัก และความต้องการเป็น
เจ้าของจะหมายถึง ความต้องการที่จะให้และรับ
ความรัก รวมไปถึงความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของ
กลุ่มหรือสมาชิกของสังคม ลำดับสูงขึ้นถัดไปเป็น
ความต้องการมีชื่อเสียงเกียรติยศจะเป็นความ
ต้องการที่จะพัฒนาความรู้สึกในเรื่องคุณค่าของ
ตนเอง
2. ทฤษฎีการแสดงออกของมนุษย์ ของอัลเฟรด
แอดเลอร์ (Alfed Adler) จิตแพทย์ชาวออสเตรีย
ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้บุกเบิกแนวทางการศึกษา
พฤติกรรมและบุคลิกภาพของมนุษย์ที่เน้นอิทธิพล
ของสัมพันธภาพระหว่างบุคคลหรือพฤติกรรมทาง
สังคม
คำหลัก
การอ้างอิง
ภานุวัฒน์ สิทธิโชค, The International Art Exhibition on“The 15t Great Oriental Art Exhibition” (ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา,2567), 45