กฎหมายต้นแบบว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีก่อการร้าย

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2563

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีก่อการร้าย โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ-ร่วมออกแบบ และการประชุมรับฟังความเห็น ข้อค้นพบจากการวิจัย คือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่เหมาะสมกับการดำเนินคดีที่จะเอาตัวผู้ก่อการร้ายไปลงโทษได้ การวิจัยจึงจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีก่อการร้ายโดยมีโครงสร้างกฎหมายประกอบด้วย กระบวนการดำเนินคดีในชั้นก่อนพิจารณา โดยการสืบสวน กำหนดให้มีเจ้าหน้าที่คดีก่อการร้าย การดักฟังด้วยเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ มาตรการอำพรางหรือการแฝงตัว การสอบสวน กำหนดให้มีพนักงานสอบสวนคดีก่อการร้าย การกันผู้ต้องหาเป็นพยาน การต่อรองคำรับสารภาพ และอัยการร่วมสอบสวน การค้นในที่รโหฐาน การค้นตัวบุคคลหรือยานพาหนะ การจับกุม การควบคุมตัวตามความจำเป็น ในชั้นพิจารณา กำหนดให้มีการพิจารณาระบบไต่สวน และระบบผู้พิพากษาสมทบ ชั้นการพิพากษา ใช้การฝึกอบรมแทนการลงโทษ ข้อเสนอแนะของการวิจัย คือ ควรมีการออกเป็นกฎหมายด้านวิธีสบัญญัติที่มีความเป็นเอกภาพสำหรับการดำเนินคดีความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย และการจัดทำกฎหมายลำดับรอง เพื่อรองรับการปฏิบัติตามกฎหมายต้นแบบ ด้านนโยบาย และด้านการบริหารจัดการ ข้อเสนอแนะหัวข้อวิจัยต่อไป คือ “การจัดตั้งศาลอาญาคดีความมั่นคงหรือศาลก่อการร้าย” และ “การคุ้มครองพยานคดีความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย”

คำอธิบาย

นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำหลัก

การป้องกัน, การปราบปราม, การก่อการร้าย, ความมั่นคง, วิธีพิจารณาคดี

การอ้างอิง

พงษ์ศักดิ์ อโนทัย. 2563. "กฎหมายต้นแบบว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีก่อการร้าย." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.