ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการลงโทษเด็กและเยาวชนในคดีอาญา
กำลังโหลด...
วันที่
2562-03-08
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
เชิงนามธรรม
วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 73 วรรคสอง กรณีศึกษาเด็กอายุไม่เกิน 10 ปี ได้กำหนดให้พนักงานสอบสวนส่งตัวเด็กให้เจ้าหน้าที่ตาม กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็กโดยไม่ได้กำหนดแนวทางให้บิดาและมารดาหรือผู้ปกครองของเด็ก เข้าไปวางข้อกำหนดในการดูแลหรือให้พนักงานสอบสวนจัดทำข้อกำหนดร่วมกับบิดา มารดาหรือ ผู้ปกครองในการดูแลเด็กและเยาวชน จึงพบว่าเด็กและเยาวชนไม่ได้รับการดูแลและได้รับความผูกพัน จากครอบครัวตามวัยของเด็กและเยาวชน อันเป็นการส่งผลกระทบต่อตัวเด็กและพัฒนาการของเด็ก ที่จะต้องได้รับการเลี้ยงดูจากบิดา มารดาของตนเอง นอกจากนั้นการที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74 (2), (5) กำหนดให้ศาลใช้ดุลยพินิจโดยให้นำเงินมาเป็นเงื่อนไขให้บิดา มารดาต้องชำระต่อศาล ไม่เกินครั้งละ 10,000 บาท ถ้าเด็กกระทำความผิดนั้นอีก พบว่า การนำเงินมาเป็นเงื่อนไขให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองจะต้องดูแลให้อยู่ภายในข้อกำหนดนั้นมิใช่เป็นแนวทางที่จะพัฒนานิสัยหรือพฤติกรรม ของเด็กได้จะต้องวางข้อกำหนดหรืออบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพในการที่จะสามารถเลี้ยงดูบุตรของตน แทนการนำเงินมาเป็นเงื่อนไช และในส่วนปัญหาที่พระราชบัญญัติศาลและเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 142 ใช้อายุของเด็กเป็นเงื่อนไขในการ ส่งไปโรงเรียนหรือสถานฝึกอบรมหรือสถานที่ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อฝึกและอบรมเด็ก พบว่า เป็นความ ยุติธรรมในการกำหนดให้ศาลใช้ดุลยพินิจ ถ้าเด็กมีอายุ 10 ปี ก็สามารถส่งไปสถานฝึกหรืออบรมหรือ สถานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อฝึกหรืออบรมได้ถึง 8 ปี แต่ถ้าเด็กนั้นมีอายุ 15 ปี ศาลก็สามารถใช้ดุลพินิจได้เพียง 3 ปี เท่านั้น และในส่วนของการที่ศาลมีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษอาญา หรือวิธีการเพื่อความปลอดภัยได้จนกว่าอายุ 24 ปีบริบูรณ์ เป็นกรณีที่ใช้ระยะเวลาในการฝึกอบรม เด็กและเยาวชนในสถานพินิจนานเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาการถ่ายทอดคุณลักษณะนิสัยที่ไม่ดี ออกมาได้และปัญหาการกำหนดโทษและหลักเกณฑ์ในการกำหนดโทษของผู้กระทำความผิดต่อเด็ก และเยาวชนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 พบว่า มีการกำหนดระวางโทษจำคุกสูงสุด ไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และมีอัตราโทษต่ำสุดจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท กรณีดังกล่าวเป็นการกำหนดการลงโทษน้อยเกินไปจึงควรแก้ไข การลงโทษให้มากยิ่งขึ้นเพื่อให้กฎหมายมีประสิทธิภาพและเกรงกลัวต่อการที่จะกระทำความผิดต่อ เด็กหรือใช้เด็กเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดต่อไป
คำอธิบาย
นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
คำหลัก
การลงโทษในคดีอาญา, เด็กและเยาวชน