ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเงิดทดแทน: ศึกษากรณีการจ่ายเงินทดแทนให้แก้ลูกจ้างที่ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2552-08-28T02:55:34Z

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

เชิงนามธรรม

สารนิพนธ์ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 ฉบับปัจจุบัน ในเรื่องการจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายเนื่อง จากการทำงาน ในบทบัญญัติมาตราที่ 18 ที่กำหนดหลักเกณฑ์ให้ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับเงินทดแทน คือ กรณีเจ็บป่วย กรณีสูญเสียอวัยวะ กรณีทุพพลภาพ กรณีตายหรือสูญหาย ในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือนของลูกจ้างที่มีสิทธิจะได้รับ ตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 ซึ่งเป็นหลัก เกณฑ์ที่มีการจ่ายเงินทดแทนในอัตราที่น้อยเกินไปจากการศึกษาการจ่ายเงินของต่างประเทศ เช่นประเทศเยอรมนี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ พบว่าต่างประเทศจะมีวิธีการคำนวณการจ่ายเงินทดแทนแยกเป็นประเภทออกไป เช่น กรณีทุพพลภาพจะคำนวณการจากความ สำคัญของอวัยวะ กรณีตายจะคำนวณจากอายุของลูกจ้างที่จะสามารถทำรายได้ต่อไป เป็นต้น แต่ในประเทศไทยได้กำหนดหลักเกณฑ์การจ่าย เงินทดแทนไว้ทุกกรณีในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือนเท่านั้น กฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องรับภาระทั้งหมดในการจ่ายเงินทดแทนให้กับลูกจ้างโดยตรงที่ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน โดยจ่ายทั้งหมดในการจ่ายเงินทดแทน จึงเห็นว่าพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 ในเรื่องการจ่ายเงินทดแทนกรณีลูกจ้างประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างมาพิจารณาปรับปรุงแก้ ไขเพิ่มเติม เพื่อให้ลูกจ้างได้รับเงินทดแทนตามความเหมาะสมกับการที่ลูกจ้างได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจ ให้กับงานของนายจ้างได้บรรลุผลสำเร็จไปได้ด้วยดี ทั้งนี้การจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานนั้น จะไม่ส่งผลกระทบแก่นายจ้างแต่อย่างใดในการที่จะต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน จากการศึกษาดังกล่าวพบว่าสถานะทางการเงินของกองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทนได้นำเงินไปลงทุนเป็นการสร้างรายได้ เพื่อให้กองทุนมีความมั่นคงและสามารถดูแลสิทธิประโยชน์ของผู้ประ-กันตนได้มากขึ้น และผลจากการนำเงินไปลงทุนนั้นได้ผลตอบแทนเป็นผลกำไร จากการลงทุนมากขึ้นทุกปี โดยคำนวณหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นการลงทุนที่ทำให้กอง ทุนมีความมั่นคงมากขึ้นและสามารถรองรับค่าใช้จ่ายในการดูแลสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนทั้งในปัจจุบันและในอนาคต โดยล่าสุด สำนักงานประกันสังคมได้ปรับค่าทำศพจาก 30,000 บาท เป็น 40,000 บาท ปรับเพิ่มอัตราค่า บริการทางการแพทย์ และปรับเพิ่มอัตราเงินบำนาญเพื่อให้ผู้ประกัน ตนได้รับเงินบำนาญมากขึ้นเมื่อเกษียณ อายุ และสำนักงานประกันสังคมจะทยอยปรับเพิ่มสิทธิประ- โยชน์ต่าง ๆ ให้มากขึ้นก็เพราะสำนักงานประกัน สังคมได้ดอกผลจากการลงทุนมากขึ้น ทำให้สามารถ มีค่าใช้จ่ายในการดูแลสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้นโดยที่ไม่ต้องจัดเก็บเงินสมทบจากผู้ประกันตน ทั้งนี้เพื่อเสนอแนวทางการแก้ไข พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 18 ในกรณี ลูกจ้างเจ็บป่วย สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ ตายหรือสูญหาย ให้เพิ่มสิทธิประโยชน์ในการจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน จากเดิมในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน เป็นอัตราร้อยละ 80 ของค่าจ้างรายเดือน และค่าทดแทนการเสียเวลาการทำงาน จากเดิมจ่ายค่าทดแทนเมื่อลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้เกิน 3 วัน เป็นการจ่ายค่าทดแทนตั้งแต่วันแรกที่ลูก- จ้างไม่สามารถทำงานได้ และการจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากเดิมจ่ายเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 35,000 บาท เป็นเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 45,000 บาท และกรณีตายจากเดิมจ่ายค่าทดแทนในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือนแต่ไม่เกิน 8 ปี เป็นไม่เกิน 12 ปี ฉะนั้นเหตุผลที่มีการปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ในการจ่ายเงินทดแทนนี้เพื่อชดเชยการสูญเสียรายได้ของผู้ประกันตนที่มีความเสี่ยงการประสบอันตรายในหน้าที่การงาน และให้สอดคล้องกับสถานการปัจจุบันและในอนาคต

คำอธิบาย

คำหลัก

กฎหมาย, จ่ายเงินทดแทน, ลูกจ้าง

การอ้างอิง

คอลเลคชัน