ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการโอนกิจการของนักลงทุนมาเป็นของรัฐ: ศึกษากรณีการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นกิจการในส่วนที่เหลือ
กำลังโหลด...
วันที่
2552-08-28T09:05:26Z
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
เชิงนามธรรม
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึงปัญหาทางกฎหมายที่เกิดจากพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 โดยรัฐได้ให้หลักประกันในการลงทุนของนักลงทุนที่ได้รับการส่งเสริมไว้ว่า “รัฐจะไม่โอนกิจการของผู้ได้รับการส่งเสริมมาเป็นของรัฐ” แต่ในความจริงนั้น กิจการของนักลงทุนอาจถูกโอนมาเป็นของรัฐได้ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 42 ทำให้เกิดปัญหาความไม่มั่นใจของนักลงทุนที่มีต่อพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 ซึ่งเป็นปัญหาต่อการส่งเสริมการลงทุน เมื่อมีการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของนักลงทุนไปทั้งหมดและจ่ายค่าสินไหมทดแทนความเสียหายให้กับนักลงทุนก็ไม่ทำให้เกิดปัญหา แต่เมื่อกิจการของนักลงทุนถูกเวนคืนไปแต่เพียงบางส่วนทำให้อสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือไม่สามารถประกอบกิจการตามวัตถุประสงค์ต่อไปได้ ทำให้นักลงทุนไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงควรมีกฎหมายให้เยียวยาความเสียหายอันเกิดแก่นักลงทุน
จากการศึกษาพบว่าการใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ที่นำมาใช้เป็นกฎหมายกลางในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นกิจการส่วนที่เหลือของนักลงทุนนั้น พระราชบัญญัติฉบับนี้มิได้มีเจตนารมณ์ที่บัญญัติมาเพื่อเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นกิจการ แต่บัญญัติขึ้นมาเพื่อใช้ในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรือสิ่งปลูกสร้างทั่วไป ทำให้การใช้พระราช- บัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้น มีผลทำให้นักลงทุนไม่ได้รับค่าทดแทนที่เป็นธรรม และไม่มีองค์กรที่กำหนดค่าทดแทนโดยตรง รวมทั้งไม่มีมาตรฐานในการกำหนดค่าสินไหมทดแทน เป็นเพียงการกำหนดตามดุลพินิจขององค์กรที่ทำหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเท่านั้น เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความไม่มั่นใจของนักลงทุน และไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ในการส่งเสริมการลงทุนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 และการชดเชยค่าสินไหมทดแทนที่เป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
จากการศึกษาดังกล่าว ผู้ศึกษาจึงขอเสนอแนะให้มีการแก้ไข พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 มาตรา 43 ให้มีการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นกิจการของนักลงทุนทั้งหมดและกำหนดให้มีการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นกิจการของนักลงทุนในส่วนที่เหลือด้วย โดยกำหนดให้มีองค์กรที่ใช้อำนาจเป็นมาตรฐานในการพิจารณาการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือและค่าสินไหมทดแทนเพื่อความยุติธรรมในการพิจารณา และเพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับนักลงทุน ตามเจตนารมณ์และให้บรรลุวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520
คำอธิบาย
คำหลัก
กฎหมาย, การโอนกิจการ, นักลงทุน, อสังหาริมทรัพย์