การนำนโยบายการสนับสนุนธุรกิจอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยไปปฏิบัติ

dc.contributor.authorลดา เมฆราตรีth_TH
dc.date.accessioned2564-11-25T06:55:16Z
dc.date.available2021-11-25T06:55:16Z
dc.date.issued2564
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสังเคราะห์นโยบายของภาครัฐที่มีต่อการสนับสนุนธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับไทย ศึกษาการนำนโยบายการสนับสนุนธุรกิจอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยไปปฎิบัติ ศึกษาแนวทางทางการบริหารนโยบายการสนับสนุนธุรกิจอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยและ และประเมินความเป็นไปได้ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับการนำนโยบายการสนับสนุนธุรกิจอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยไปปฎิบัติ ประชากรในการศึกษา คือ องค์กรธุรกิจอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสม สังเคราะห์นโยบายของภาครัฐโดยการศึกษาจากเอกสารขององค์กรเอกชนหรือหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง ศึกษาการนำนโยบายไปปฎิบัติ แนวทางทางการบริหารนโยบาย ประเมินความเป็นไปได้ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มสมาคมอัญมณีและผู้ส่งออกอัญมณี กลุ่มกำหนดและผู้ปฎิบัตินโยบาย (กระทรวงพาณิชย์) กลุ่มผู้บริหารอุตสาหกรรมการส่งออกอัญมณี กลุ่มผู้บริหารบริษัทการส่งออกอัญมณีและกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิด้านอุตสาหกรรมการส่งออกอัญมณี โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 25 คน ใช้แบบสัมภาษณ์จำนวน 3 ฉบับเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลศึกษาการรับรู้ และการนำนโยบายของภาครัฐ ที่มีต่อการสนับสนุนธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับไทยของบริษัท ด้วยการสุ่มตัวอย่างองค์กรธุรกิจอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยเป็นหน่วยตัวอย่างในการศึกษาจำนวน 250 บริษัท ซึ่งกำหนดขนาดตัวอย่างตามวิธีคำนวณขนาดตัวอย่างของ ทอมสัน (Thompson, S.K. 2002) ที่ระดับความเชื่อมั่น 90% ค่าความคลาดเคลื่อน (e) เท่ากับ 0.05 สัมประสิทธิ์ความผันแปรของประชากร (CV) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามแบบประเมินค่า 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ ที่มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 1.00 ทุกข้อ และมีค่าความเชื่อมั่นเชิงโครงสร้างทั้งฉบับด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา เท่ากับ 0.989 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ การสังเคราะห์นโยบาย และวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณประกอบด้วยจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการศึกษาสรุปได้ดังต่อไปนี้ ผลการวิจัยพบว่า นโยบายของภาครัฐที่มีต่อการสนับสนุนธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับไทยสามารถจำแนกออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (2) ด้านการพัฒนาการตลาด (3) ด้านการพัฒนาการผลิต (4) ด้านการเงิน (5) ด้านการปรับกฎระเบียบ และ(6) ด้านการวิจัยและพัฒนาองค์กรธุรกิจอุตสาหกรรมมีการนำนโยบายการสนับสนุนธุรกิจอุตสาหกรรม อัญมณีและเครื่องประดับไทยไปปฏิบัติโดยพิจารณาประเมินจาก 1) สมรรถนะขององค์กร 2) ภาวะผู้นำและความร่วมมือ 3) การเมืองและการบริหารสภาพแวดล้อมภายนอก และ 4) การวางแผนการควบคุม พบว่าองค์กร สมรรถนะขององค์กร ภาวะผู้นำและความร่วมมือการเมืองและการบริหารสภาพแวดล้อมภายนอก และการวางแผนการควบคุมอยู่ในระดับปานกลางองค์กรมีการบริหารนโยบายภาครัฐในการสนับสนุนธุรกิจอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยในกรอบแนวคิดพื้นฐานของ TQM (Total Quality Management) ทั้ง 6 ด้านได้แก่ การฝึกอบรมทางด้านคุณภาพการบริหารงานประจำวัน (Daily Management) การนำหลักการ การบริหารข้ามสายงาน (Cross Functional Management) การบริหารนโยบาย (Policy Management) องค์กรมีกิจกรรมกลุ่มย่อย (Small Group Activity) และการตรวจวินิจฉัย (Diagnosis) อยู่ในระดับปานกลาง ผลการประเมินความเป็นไปได้และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับการนำนโยบายการสนับสนุนธุรกิจอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยไปปฎิบัติด้วยการนำหลักของ PDCA มาใช้ประเมินกับการนำนโยบายภาครัฐในการสนับสนุนธุรกิจอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย ทั้ง 6 ด้านได้แก่ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาการตลาด การพัฒนาการผลิต ด้านการเงิน ด้านการปรับกฎระเบียบ และด้านการวิจัยและพัฒนาทุก ๆ ด้านมีระดับนโยบายอยู่ในระดับมากแต่ส่วนใหญ่มีการดำเนินการมากเฉพาะในบริษัทขนาดใหญ่ ผลการวิจัยพบว่าระดับการรับรู้ของผู้ประกอบการต่อภาพรวมนโยบายภาครัฐในการสนับสนุนธุรกิจอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ทั้ง 6 ด้านได้แก่ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาการตลาด การพัฒนาการผลิต ด้านการเงิน ด้านการปรับกฎระเบียบ และด้านการวิจัยและพัฒนา มีค่าเฉลี่ยระดับนโยบายอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ การพัฒนาการตลาด รองลงมาเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยที่ต่ำที่สุดคือ ด้านการเงิน และผลการศึกษาระดับการนำนโยบายการสนับสนุนธุรกิจอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยไปปฏิบัติในองค์กรพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางโดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ภาวะผู้นำและความร่วมมือ อยู่ในระดับมาก รองลงมาเป็น ด้านการวางแผนการควบคุม อยู่ในระดับมากเช่นกัน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือด้านสมรรถนะขององค์กร อยู่ในระดับปานกลาง ผลการวิจัยเปรียบเทียบระดับการรับรู้นโยบายภาครัฐในการสนับสนุนธุรกิจอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยตามลักษณะข้อมูลของบริษัท พบว่า แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ระหว่าง ประเภทของบริษัท อายุของบริษัท ทุนจดทะเบียน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน จำนวนบุคลากร และคุณวุฒิส่วนใหญ่ของบุคลากรและผลการศึกษาเปรียบเทียบ ระดับการ นำนโยบายการสนับสนุนธุรกิจอุตสาหกรรมอัญมณีและ เครื่องประดับไทยไปปฏิบัติตามลักษณะข้อมูลของบริษัท พบว่า แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ระหว่าง ประเภทของบริษัท อายุของบริษัท ทุนจดทะเบียน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน จำนวนบุคลากร และคุณวุฒิส่วนใหญ่ของบุคลากรth_TH
dc.description.sponsorshipSripatum Universityth_TH
dc.identifier.citationลดา เมฆราตรี. 2559. "การนำนโยบายการสนับสนุนธุรกิจอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยไปปฏิบัติ." วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.th_TH
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7790
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมth_TH
dc.subjectการนำนโยบายไปปฏิบัติth_TH
dc.subjectอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับth_TH
dc.subjectนโยบายของรัฐด้านอัญมณีth_TH
dc.titleการนำนโยบายการสนับสนุนธุรกิจอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยไปปฏิบัติth_TH
dc.title.alternativeTHE IMPLEMENTAYION OF POLICY SUPPORTION THAI GEMS AND JEWELRY INDUSTRYth_TH
dc.typeThesisth_TH

ไฟล์

ชุดต้นฉบับ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 5 ของ 17
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
1.หน้าปก.pdf
ขนาด:
68.71 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
2.บทคัดย่อภาษาไทย.pdf
ขนาด:
328.78 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
3.บทคัดย่อภาษาอังกฤษ.pdf
ขนาด:
253.61 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
4.กิตติกรรมประกาศ.pdf
ขนาด:
264.05 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
5.สารบัญ.pdf
ขนาด:
169.98 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
มัดใบอนุญาต
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
license.txt
ขนาด:
1.71 KB
รูปแบบ:
Item-specific license agreed upon to submission
คำอธิบาย: