ปัญหาการกำหนดคำบังคับในคำพิพากษาของศาลปกครอง
dc.contributor.author | ชลธิชา สอนศิริ | en_US |
dc.date.accessioned | 2554-08-28T07:21:40Z | |
dc.date.available | 2554-08-28T07:21:40Z | |
dc.date.issued | 2554-08-28T07:21:40Z | |
dc.description.abstract | ศาลปกครองเป็นศาลที่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีปกครองที่เกี่ยวข้องกับคดีพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนกรณีหนึ่งและข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเองอีกกรณีหนึ่ง โดยที่ข้อพิพาทเหล่านี้เกิดจากการที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรหรือเป็นคดีอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐหรืออันเนื่องมาจากสัญญาทางปกครอง ซึ่งผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้อันเนื่องจากการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองหรือกรณีอื่นใดที่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 และการแก้ไขหรือบรรเทาความเดือดร้อนหรือความเสียหายหรือยุติข้อโต้แย้งนั้น ต้องมีคำบังคับตามที่กำหนดในมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 ผู้นั้นมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ในกรณีที่จะพิจารณาว่าผู้ฟ้องคดีมีส่วนได้เสียหรือประโยชน์เกี่ยวข้องที่จะมีสิทธิฟ้องคดีปกครองต้องพิจารณาเหตุแห่งการฟ้องคดีและคำขอเยียวยาความเสียหาย โดยคำขอเยียวยาความเสียหายต้องเป็นคำบังคับที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองที่จะมีคำบังคับได้ ดังนั้นผู้ศึกษาเห็นว่าในการพิพากษาคดีของศาลปกครองมีอำนาจกำหนดคำบังคับตามที่บัญญัติในมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 เมื่อกรณีรับฟังข้อเท็จจริงได้ตามคำฟ้องศาลปกครองอาจมีคำพิพากษานอกเหนือจากคำขอของผู้ฟ้องคดีแต่เกี่ยวเนื่องอย่างใกล้ชิดกับคำขอได้ เพราะผู้ฟ้องคดีอาจไม่ทราบหรือไม่เข้าใจว่าการแก้ไขความเดือดร้อนหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นควรขอให้ศาลออกคำบังคับอย่างไร หากศาลปกครองถือตามที่ผู้ฟ้องคดีมีคำขออย่างเคร่งครัด ทั้งที่ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามคำฟ้อง แต่ศาลปกครองไม่กำหนดคำบังคับให้ย่อมจะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้ฟ้องคดี ความเดือดร้อนหรือความเสียหายหรือข้อโต้แย้งดังกล่าวก็ยังคงมีอยู่ต่อไป ซึ่งศาลปกครองควรวางหลักการต่อไปว่า ในกรณีที่รับฟังข้อเท็จจริงได้ตามคำฟ้อง ศาลปกครองมีอำนาจที่จะหยิบยกเรื่องการกำหนดคำบังคับที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองเพื่อแก้ไขหรือบรรเทาความเดือดร้อนหรือเสียหายหรือยุติข้อโต้แย้งได้เอง หรือควรให้เป็นดุลพินิจของศาลปกครองว่าจะกำหนดคำบังคับเพื่อแก้ไขหรือบรรเทาความเดือดร้อนหรือความเสียหายหรือยุติข้อโต้แย้งนั้นอย่างไร โดยอาจจะนำหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ที่เกี่ยวข้องกับการพิพากษาเกินคำขอมาเป็นเกณฑ์ในการแก้ไข และในส่วนที่ถ้ามีคำพิพากษานอกเหนือจากคำขอของผู้ฟ้องคดีแต่เกี่ยวเนื่องอย่างใกล้ชิดกับคำขอก็สามารถกำหนดคำบังคับได้ เช่น กรณีผู้ฟ้องคดีไม่ได้มีคำขอเรื่องดอกเบี้ยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 โดยศาลปกครองก็สามารถกำหนดคำบังคับให้ได้ | en_US |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2597 | |
dc.subject | คำบังคับ | en_US |
dc.subject | คำพิพากษา | en_US |
dc.subject | ศาลปกครอง | en_US |
dc.title | ปัญหาการกำหนดคำบังคับในคำพิพากษาของศาลปกครอง | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
ไฟล์
ชุดต้นฉบับ
1 - 5 ของ 12
มัดใบอนุญาต
1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
- ชื่อ:
- license.txt
- ขนาด:
- 1.72 KB
- รูปแบบ:
- Item-specific license agreed upon to submission
- คำอธิบาย: