การอนุญาโตตุลาการกับการระงับข้อพิพาททางด้านกีฬาในประเทศไทย
dc.contributor.author | ทัชชภร มหาแถลง | th_TH |
dc.date.accessioned | 2566-03-03T08:50:58Z | |
dc.date.available | 2023-03-03T08:50:58Z | |
dc.date.issued | 2565-01-25 | |
dc.description.abstract | บทความนี้เกิดจากการเห็นพัฒนาการของวงการกีฬาทั้งในและต่างประเทศที่ได้รับความสนใจมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ซึ่งความนิยมในงานด้านกีฬานั้นมีในหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่ชอบเล่นกีฬาเพื่อการสันทนาการ ผ่อนคลาย หรือเพื่อสุขภาพ แต่อีกด้านหนึ่งยังมีธุรกิจที่เกี่ยวกับกีฬาที่ถือเป็นทางเลือกในการลงทุนที่มีความน่าสนใจซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจนกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า “อุตสาหกรรมกีฬา” การหากำไรจากงานด้านกีฬามีวิธีการมากมายไม่ว่าจะเป็นการจ้างงาน การลงทุน หรือการสร้างงานโดยใช้ความเชื่อมโยงต่างๆ ในวงการกีฬา ซึ่งล้วนแล้วแต่สามารถสร้างเม็ดเงินเข้ามาหมุนเวียนในธุรกิจได้อย่างมหาศาล ทุกกระบวนการในการแข่งขันกีฬามีปัจจัยในทางธุรกิจที่สามารถทำรายได้ให้กับทั้งนักลงทุน ผู้ถูกจ้างงาน หรือแม้แต่นักกีฬาเอง ซึ่งจะมีการก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ทางกฎหมายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กล่าวได้ว่าการแข่งขันกีฬามีหลายระดับและหลากหลายรูปแบบ ซึ่งการทำสัญญา หรือข้อตกลงจะต้องมีการกำหนดสิทธิและหน้าที่ไว้อย่างชัดเจนเพื่อรักษาผลประโยชน์ที่แต่ละฝ่ายพึงจะได้รับ หรือหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติต่อกัน เมื่อมีนิติสัมพันธ์ที่มีเรื่องผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบเงิน สิทธิ หรือหน้าที่แล้ว ความขัดแย้งทางด้านผลประโยชน์อันเกิดจากสัญญา หรือข้อตกลงที่ทำร่วมกันจึงเป็นประเด็นปัญหาที่ถูกพบได้ตลอดเวลา บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการทางอนุญาโตตุลาการที่ใช้ระงับข้อพาททางด้านกีฬา โดยทำการศึกษากฎหมาย กรณีศึกษา ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ วิเคราะห์ปัญหา อุปสรรครวมถึงข้อจำกัดต่างๆ ในการระงับข้อพิพาททางด้านกีฬา เพื่อเสนอแนะแนวทางให้อนุญาโตตุลาการทางด้านกีฬาได้รับความนิยมและมีการนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการวิจัยศึกษาพบว่า การอนุญาโตตุลาการด้านกีฬาได้เริ่มมีการดำเนินการแล้วในประเทศไทย โดยมีการจัดตั้งศูนย์ระงับข้อพิพาททางการกีฬาซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างการกีฬาแห่งประเทศไทยและสถาบันอนุญาโตตุลาการซึ่งหากการดำเนินการสามารถระงับข้อพิพาทและแก้ไขข้อขัดแย้งได้ตามวัตถุประสงค์จะส่งผลให้การอนุญาโตตุลาการทางด้านกีฬาของประเทศไทยสามารถที่จะเป็นกลไกที่เป็นทางเลือกในการจัดการข้อพิพาททางด้านกีฬาได้อีกทางหนึ่งด้วย | th_TH |
dc.identifier.citation | อนุญาโตตุลาการ อนุญาโตตุลาการด้านกีฬา Arbitration, Arbitration for Sport | th_TH |
dc.identifier.issn | 978-616-8315-15-6 | |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9057 | |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยพะเยา | th_TH |
dc.subject | Arbitration, Arbitration for Sport | th_TH |
dc.subject | อนุญาโตตุลาการ อนุญาโตตุลาการด้านกีฬา | th_TH |
dc.title | การอนุญาโตตุลาการกับการระงับข้อพิพาททางด้านกีฬาในประเทศไทย | th_TH |
dc.title.alternative | Arbitration and dispute resolution related to sports in Thailand | th_TH |
dc.type | Article | th_TH |