ศักยภาพของจังหวัดราชบุรีในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
dc.contributor.author | นิภาวรรณ พุทธสงกรานต์ | |
dc.date.accessioned | 2553-07-29T05:32:36Z | |
dc.date.available | 2553-07-29T05:32:36Z | |
dc.date.issued | 2548 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาศักยภาพของท้องถิ่นในการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและถ่ายทอดเทคโนโลยีที่จะตอบสนองความต้องการในด้านการเสริมศักยภาพของท้องถิ่นในการจัด การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนให้กับชุมชนและผู้ประกอบการ อีกทั้งเพื่อศึกษาการพัฒนาประสิทธิภาพและขีดความสามารถของชุมชนและผู้ประกอบการในด้านเสริมสร้างศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดราชบุรี โดยทำการศึกษาด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ อันได้แก่ การวิจัยทางเอกสาร โดยการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร รายงานวิจัย วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และจาก Internet นอกจากนั้นยังใช้การรวบรวมข้อมูล โดยแบบสอบถามเกี่ยวข้องกับแหล่งท่องเที่ยว จังหวัดราชบุรี จากผู้นำของจังหวัดราชบุรี ผู้นำท้องถิ่น นอกจากนั้นสัมภาษณ์ประชาชนในท้องถิ่น ตลอดจนนักท่องเที่ยว และยังใช้กระบวนการทำวิจัยแบบมีส่วนร่วมในการรวบรวมข้อมูลจากประชาชน การศึกษาครั้งนี้มุ่งแสวงคำตอบของปัญหาการวิจัยอยู่สองประการ ได้แก่ ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดราชบุรี และจะต้องดำเนินการประการใดเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดราชบุรี การศึกษาครั้งนี้กระทำในพื้นที่เก้าอำเภอกับหนึ่งกิ่งอำเภอของจังหวัดราชบุรี ซึ่งผลของการศึกษา ปรากฏว่า 1) ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดราชบุรีอยู่ในระดับสูง โดยมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ (การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร การท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาและศิลาสัญจร) และทางวัฒนธรรม (การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประเพณี และการท่องเที่ยววิถีชนบท) ซึ่งมีอยู่ในทุกพื้นที่ 2) ศักยภาพขององค์ประกอบการท่องเที่ยวทุกอำเภอของจังหวัดราชบุรีมีความพร้อมที่จะให้บริการทางด้านคมนาคมขนส่ง ที่พักแรม อาหารและภัตตาคาร ร้านขายของที่ระลึก ตลอดจนความปลอดภัย 3) ศักยภาพของกลไกของจังหวัดราชบุรีที่ประกอบด้วย ผู้นำส่วนจังหวัด ผู้นำท้องถิ่น ผู้ประกอบการเอกชน และประชาชนทุกอำเภอ มีศักยภาพในระดับสูงในการเสริมสร้างศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน และดึงดูดให้นักท่องเที่ยวไปใช้บริการได้ทุกฤดูกาล 4) ศักยภาพในด้านการจัดการ พบว่า มีการประสานความร่วมมือและเสริมสร้างศักยภาพด้านจัดการท่องเที่ยวระหว่างผู้นำส่วนจังหวัด ผู้นำท้องถิ่น ผู้ประกอบการเอกชน และภาคประชาชนในทุกอำเภอของจังหวัดราชบุรีในระดับสูง 5) ศักยภาพด้านบริการข้อมูลด้านท่องเที่ยว ; ป้ายบอกทางแหล่งท่องเที่ยว แผนที่แหล่งท่องเที่ยว ข้อมูล ท่องเที่ยว คู่มือแหล่งท่องเที่ยว การให้บริการข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวทางอินเตอร์เน็ต ปรากฏว่าอยู่ในระดับที่สูง นอกจากนั้นวิธีการเสริมสร้างศักยภาพของจังหวัดราชบุรี ได้แก่ การประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน และภาคประชาชนอย่างเข้มแข็งและจริงจัง จะทำให้บรรลุเป้าประสงค์ได้โดยภาพรวม จังหวัดราชบุรี จัดว่ามีศักยภาพเพรียบพร้อมในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในแต่ละด้าน การประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ควรได้รับการศึกษาในเชิงลึกถึงสัมพันธภาพ ตลอดจนวิธีการเสริมสร้างสัมพันธภาพในการศึกษาครั้งต่อไป | en_US |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1840 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศรีปทุม | en_US |
dc.title | ศักยภาพของจังหวัดราชบุรีในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน | en_US |
dc.title.alternative | ชุดโครงการศักยภาพของจังหวัดราชบุรีในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน | en_US |
ไฟล์
ชุดต้นฉบับ
1 - 1 ของ 1
กำลังโหลด...
- ชื่อ:
- โครงการวิจัยอาจารย์นิภาวรรณ.pdf
- ขนาด:
- 1.26 MB
- รูปแบบ:
- Adobe Portable Document Format
- คำอธิบาย: