การเพิ่มผลผลิตในกระบวนการเจาะ กรณีศึกษาอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์บิวท์อิน

dc.contributor.authorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชวลิต มณีศรีen_US
dc.contributor.authorนายกิติกุล ปุณศรีen_US
dc.contributor.authorนายวรพล พินสำราญen_US
dc.date.accessioned2562-02-05T07:27:49Z
dc.date.available2019-02-05T07:27:49Z
dc.date.issued2561-12-20
dc.descriptionอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์บิวท์อิน หรือเฟอร์นิเจอร์ประเภทที่ออกแบบเหมาะสมให้มีขนาดพอดีกับพื้นที่ที่ติดตั้ง เป็นงานผลิตผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้า บริษัทกรณีศึกษาเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการผลิตเฟอร์นิเจอร์บิวท์อิน ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นลูกค้าในโครงการห้องชุดที่พักอาศัย ซึ่งมีปริมาณห้องชุดจำนวนมากและมีความต้องการที่หลากหลาย ถึงแม้ว่าจะถูกผลิตบนชิ้นส่วนพื้นฐานเดียวกันก็ตาม ปัญหาพบคือ อัตราผลผลิตที่ยังไม่เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนและเวลาในการส่งมอบด้วย จากการวิเคราะห์เวลาการทำงานพบว่า มีจุดคอขวดของสายการผลิตที่กระบวนการเจาะ เมื่อหาสาเหตุของปัญหาด้วยแผนผังก้างปลาพบว่า เกิดจากการใช้เวลาตั้งเครื่องจักรนาน และการมอบหมายงานที่ไม่เหมาะสม การจัดสมดุลสายการผลิตและการกำจัดความสูญเปล่าจึงถูกนำมาใช้ในการแก้ปัญหา ภายหลังการปรับปรุงอัตราการผลิตในกระบวนการเจาะของเครื่องเจาะคอมเพิ่มขึ้นเป็น 310 แผ่น จากเดิม 144 แผ่นต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 115 ประสิทธิภาพการทำงานร้อยละ 100 และสูงกว่าค่าเป้าหมาย 300 แผ่นต่อวัน ขณะเดียวกันอัตราการผลิตในกระบวนการเจาะของเครื่องเจาะใหญ่เพิ่มขึ้นเป็น 755 แผ่น จากเดิม 655 แผ่นต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 15 ประสิทธิภาพการทำงานร้อยละ 94 และใกล้เคียงค่าเป้าหมาย 800 แผ่นต่อวันen_US
dc.description.abstractBuilt-in furniture industry or the furniture industry is designed to fit the installation area. Built-in furniture is produced according to customer needs. The case study company is one of the manufacturers of built-in furniture. The customers are almost in condominium projects. There are a large number of units which have verity needs of customers. Although there are produced on the common parts, the problem is the production rate is not meeting the target value. This affects the cost and delivery time. Production time is analyzed to find that the drilling process is the bottleneck of the production line. Fishbone diagram shows the root causes that are the machining setup and unsuitable assignment. Line balancing and waste eliminating are applied to improve the problems. After improvement, the production rate of COM drilling machine is increasing to 310 pieces from 144 pieces per day or increase up to 115% from the existing process and is 100% performance of the target 300 pieces per day. While the production rate of BIG drilling machine is increasing to 755 pieces from 655 pieces per day or increase up to 15% from the existing process and is 94% performance of the target 800 pieces per day.en_US
dc.identifier.citation20. ชวลิต มณีศรี, กิติกุล ปุณศรี และ วรพล พินสําราญ. “การเพิ่มผลผลิตในกระบวนการเจาะกรณีศึกษาอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์บิวท์อิน.” 2561. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 13. หน้า 846 - 855.en_US
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5900
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.subjectเฟอร์นิเจอร์บิวท์อินen_US
dc.subjectแผนภูมิก้างปลาen_US
dc.subjectจุดคอขวดen_US
dc.subjectสมดุลสายการผลิตen_US
dc.subjectการเพิ่มผลผลิตen_US
dc.titleการเพิ่มผลผลิตในกระบวนการเจาะ กรณีศึกษาอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์บิวท์อินen_US
dc.typeThesisen_US

ไฟล์

ชุดต้นฉบับ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
00 SPUCon2018_Chawalit.pdf
ขนาด:
1.85 MB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
มัดใบอนุญาต
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
license.txt
ขนาด:
1.71 KB
รูปแบบ:
Item-specific license agreed upon to submission
คำอธิบาย: