ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542: กรณีศึกษากรมสอบสวนคดีพิเศษ

dc.contributor.authorธนาธิป นวรัตนวรกุล
dc.date.accessioned2552-10-09T03:14:57Z
dc.date.available2552-10-09T03:14:57Z
dc.date.issued2552-10-09T03:14:57Z
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการวิจัยเอกสารเพื่อทำการศึกษาค้นคว้าบทบัญญัติของกฎหมายที่ใช้ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ เนื่องจาก การทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง หรือที่เรียกกันเป็นที่เข้าใจว่า คือ การฮั้ว นั้น เป็นสิ่งที่เกิดมาคู่กับสังคมไทยมาช้านานจนกลายเป็นวัฒนธรรมที่แพร่หลายตั้งแต่ระดับชาติไปจนถึงระดับท้องถิ่น โดยมีบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำดังกล่าว 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก ผู้ที่ประสงค์จะเข้าเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ กลุ่มที่สอง เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการเสนอราคา กลุ่มที่สาม ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยการฮั้วเกิดขึ้นเมื่อมีการแสวงหาประโยชน์ร่วมกันโดยมีข้าราชการเป็นแกนกลางในการเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในเรื่องดังกล่าวจึงได้มีการตราพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “กฎหมายฮั้ว” ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ ที่มุ่งจะทำให้การจัดหาสินค้าและบริการของหน่วยงานของรัฐทุกแห่งที่ใช้เงินงบประมาณเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมและมีการแข่งขันกันอย่างเสรีเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่การดำเนินการจัดหาสินค้าและบริการ กรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรมที่ปฏิบัติงานในเชิงรุก เพื่อป้องกันปราบปราม และควบคุมอาชญากรรมที่มีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพราะหนึ่งในภารกิจของกรมสอบสวนคดีพิเศษก็คือการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดที่เกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ โดยในพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 ได้มีการนำเอามาตรการพิเศษในการสืบสวนสอบสวนมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นการดักฟัง การติดตามด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์รวมไปถึงการอำพราง วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้นำเอากฎหมายที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวมาทำการวิเคราะห์เพื่อเสนอแนวทางในการบังคับใช้กฎหมายต่อไป นอกจากนี้แล้วการฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ ส่วนใหญ่เป็นการกระทำในราชการส่วนท้องถิ่น การกระทำความผิดในลักษณะดังกล่าวจึงมักจะเกี่ยวข้องกับข้าราชการและนักการเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อันส่งผลให้กรมสอบสวนคดีพิเศษต้องมีการสรุปสำนวนการสอบสวนไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติถึงแม้จะเป็นคดีพิเศษที่อยู่ในอำนาจของกรมสอบสวนคดีพิเศษก็ตามทำ ให้คดีที่เกิดขึ้นขาดการดำเนินการที่ต่อเนื่อง อาจส่งผลให้คดีขาดอายุความ เนื่องจากมีคดีในความรับผิดชอบอยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ การที่โครงสร้างของกรมสอบสวนคดีพิเศษอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงยุติธรรมที่อธิบดีเป็นเพียงข้าราชการประจำที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของฝ่ายการเมืองที่อาจถูกแทรกแซงได้ ดังนั้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายอย่างสูงสุด จึงควรมีการแก้ไข กฎหมายระเบียบข้อบังคับให้การกระทำความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 ที่มีมูลน่าเชื่อว่ามีการกระทำความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาเพื่อเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐซึ่งมีวงเงินหรือมูลค่าตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทเป็นขึ้นไปอันเป็น “คดีพิเศษ” ที่ต้องสืบสวนและสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนคดีพิเศษตาม พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 ที่มีข้าราชการหรือนักการเมืองร่วมกันในการกระทำความผิดให้เป็นอำนาจการสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษโดยที่ไม่ต้องส่งสำนวนไปยังคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเพื่อให้เกิดความมีประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายรวมถึงแก้ไขโครงสร้างของกรมสอบสวนคดีพิเศษให้เป็นองค์กรอิสระดังเช่นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเพื่อที่จะป้องกันการแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองที่มักจะเป็นกลุ่มผลประโยชน์หนึ่งในการฮั้วเพื่อให้การปฏิบัติงานของข้าราชการมีความเป็นอิสระและสามารถอำนวยความยุติธรรมอย่างสูงสุดตามเจตนารมณ์ที่ตั้งไว้en_US
dc.identifier.urihttps://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1594
dc.subjectกฎหมายen_US
dc.subjectพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาen_US
dc.subjectกรมสอบสวนคดีพิเศษen_US
dc.titleปัญหาการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542: กรณีศึกษากรมสอบสวนคดีพิเศษen_US

ไฟล์

ชุดต้นฉบับ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 5 ของ 11
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
1title.pdf
ขนาด:
33.06 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
2abstract.pdf
ขนาด:
66.58 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
3acknow.pdf
ขนาด:
30.15 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
4content.pdf
ขนาด:
45.87 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
5chap1.pdf
ขนาด:
72.59 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
มัดใบอนุญาต
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
license.txt
ขนาด:
1.72 KB
รูปแบบ:
Item-specific license agreed upon to submission
คำอธิบาย: