ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการจัดเก็บและการชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินของสัญญาประกอบการท่าเทียบเรือ ศึกษากรณีท่าเรือแหลมฉบัง

dc.contributor.authorฆสวัฒน์, พึ่งประชา
dc.date.accessioned2551-02-16T09:03:20Z
dc.date.available2551-02-16T09:03:20Z
dc.date.issued2551-02-16T09:03:20Z
dc.description.abstractการท่าเรือแห่งประเทศไทยได้ประกาศเชิญชวนผู้สนใจเข้าประมูลเพื่อบริหารและประกอบกิจการท่าเทียบเรือตู้สินค้า ท่าเทียบเรือบี 1-บี 4 เพื่อใช้เป็นท่าเทียบเรือตู้สินค้าและการท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น อาคารสำนักงานที่เทียบเรือลานวางตู้สินค้า ฯลฯ แล้วเห็นได้ว่าการท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินกิจการร่วมกับผู้ประกอบการภาคเอกชน โดยที่ผู้ประกอบการภาคเอกชน จะตอบแทนให้แก่การท่าเรือแห่งประเทศไทย การดำเนินกิจการของท่าบี 1-บี 4 จึงเป็นการดำเนินธุรกิจอันเกี่ยวกับท่าเรือคือท่าเทียบเรือ ตามมาตรา 6(3) และมาตรา 9(11) แห่งพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 อันเป็นกิจการของการท่าเรือแห่งประเทศไทยโดยตรง ซึ่งตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 บัญญัติว่า “ให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยได้รับการยกเว้นจากการเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร และให้ได้รับการยกเว้นจากการเสียภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมใดๆ ตามกฎหมายอื่นบรรดาที่เรียกเก็บสำหรับอาคารและที่ดินของการท่าเรือแห่งประเทศไทย นอกจากอาคาร และที่ดินที่ให้เช่า” บทบัญญัติดังกล่าวทำให้เห็นว่า การที่การท่าเรือแห่งประเทศไทย ให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนเข้ามาบริหาร และประกอบการท่าเทียบเรือตู้สินค้า ท่าเทียบเรือ บี 1-บี 4 จึงเป็นการดำเนินกิจการของการท่าเรือแห่งประเทศไทยนั้นเอง และการท่าเรือแห่งประเทศไทยสมควรที่จะต้องได้รับการยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับทรัพย์สิน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 จะไม่ได้บัญญัติให้การท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้รับการยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดิน สำหรับอาคารและที่ดินของการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยตรงเหมือนเช่นเดียวกันกับที่บัญญัติยกเว้นให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ตามมาตรา 9(2) แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ แต่คณะกรรมการกฤษฎีกาโดยกรรมการร่างกฎหมาย คณะที่ 2 เคยมีความเห็นที่ 80/2536 ในประเด็นตามที่กรุงเทพมหานครหารือไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกา สรุปได้ว่า คำว่า “กฎหมายอื่น” ในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มีความหมายรวมถึงพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ ด้วย ดังนั้น หากเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการดำเนินกิจการของการท่าเรือแห่งประเทศไทยเอง ก็สมควรที่จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับทรัพย์สินดังกล่าว ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ซึ่งในปัจจุบันภาคเอกชนนั้นมีความเข้มแข็งมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นในด้านของแหล่งเงินทุน การระดมเงินลงทุน หรือเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่างๆ ที่มีความก้าวหน้ากว่าภาครัฐ ดังนั้น ในกิจการของรัฐหรือการดำเนินกิจการของรัฐบางอย่างจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนนโยบายให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนที่มีศักยภาพเข้ามาร่วมลงทุนหรือเข้ามาร่วมประกอบกิจการที่เป็นของรัฐ และส่งผลในการกระตุ้นให้นักธุรกิจเอกชนไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจในชาติหรือนักธุรกิจต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุนในกิจการประกอบการท่าเทียบเรือหรือกิจการอื่นๆ อันจะส่งผลให้ประเทศไทยมีการพัฒนาในด้านเศรษฐกิจและการลงทุนต่อไปen_US
dc.identifier.urihttps://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/785
dc.language.isootheren_US
dc.subjectกฎหมายen_US
dc.subjectภาษีโรงเรือนและที่ดินen_US
dc.titleปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการจัดเก็บและการชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินของสัญญาประกอบการท่าเทียบเรือ ศึกษากรณีท่าเรือแหลมฉบังen_US
dc.typeThesisen_US

ไฟล์

ชุดต้นฉบับ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 5 ของ 14
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
หน้าปก.pdf
ขนาด:
39.3 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
ใบรับรอง.pdf
ขนาด:
41.11 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
กิตติกรรมประกาศ.pdf
ขนาด:
49.24 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
บทคัดย่อไทย.pdf
ขนาด:
58.72 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
บทคัดย่ออังกฤษ.pdf
ขนาด:
35.28 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
มัดใบอนุญาต
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
license.txt
ขนาด:
1.73 KB
รูปแบบ:
Item-specific license agreed upon to submission
คำอธิบาย:

คอลเลคชัน