มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมให้ผู้ประกอบธุรกิจและผู้ประกอบวิชาชีพรับประกันความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐและประชาชน

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2556-10-16T02:52:28Z

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

เชิงนามธรรม

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายในการกำหนดให้ผู้ ประกอบธุรกิจและผู้ประกอบวิชาชีพในประเทศรับประกันความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจที่ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐและประชาชนเกี่ยวกับการนำหลักประกันมาใช้เพื่อควบคุมความเสี่ยง ในการดำเนินธุรกิจและเป็นการประกันความรับผิดของผู้ประกอบการที่อาจก่อความเสียหายให้กับ ประชาชนด้วยเหตุที่ว่าการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการและผู้ประกอบวิชาชีพนั้นนอกจากผู้ ประกอบธุรกิจต้องคำนึงถึงการปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจยังต้องคำนึงถึง ประเด็นต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจอีกด้วย เช่น ความรับผิดชอบต่อประชาชนใน ฐานะคู่สัญญา ความเสียหายอันเกิดต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งประเด็นต่างๆ ที่กล่าวมาล้วนแต่เป็น “ปัจจัย เสี่ยง” (Risk Factor) ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจย่อมมีโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ (Risk) และอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนและรัฐ เช่นการละทิ้งงานของผู้รับเหมา การ ผลิตหรือจำหน่ายอาหารที่ไม่ได้มาตรฐาน การผิดจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพทำให้ ผู้ประกอบการธุรกิจต้องรับผิดเพื่อเป็นการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งกฎหมายแพ่งได้กำหนด ความรับผิดไว้อย่างเคร่งครัดแล้ว แต่ปัญหาเกี่ยวกับความรับผิดในความเสียหายยังคงเป็นปัญหาที่ ส่งผลกระทบในวงกว้างและเป็นผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในปัจจุบันหรือในอนาคตก็ได้ แม้ว่ารัฐจะมี มาตรการในการคุ้มครองและเยียวยาความเสียหายโดยกำหนดหลักประกันในการดำเนินธุรกิจ แต่ ในอีกหลายๆกรณีก็ไม่มีกฎหมายเยียวยาแก้ไขปัญหาดังกล่าว จากการศึกษาพบว่ามีพระราชบัญญัติเกี่ยวข้องกับธุรกิจ 3 กลุ่ม กล่าวคือกลุ่มธุรกิจด้าน การท่องเที่ยว กลุ่มธุรกิจอาหาร และกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพ ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายเฉพาะที่ใช้ในการควบคุมกำกับดูแล จากผลการศึกษาพบว่าถ้าหากพิจารณาวัตถุประสงค์และอำนาจ หน้าที่ของกฎหมายที่ใช้กำกับควบคุมดูแลในแต่ละประเภทแล้วนั้นในเรื่องของการชดใช้ หรือการ เยียวยาความเสียหายให้แก่ประชาชนหรือคู่สัญญาหรือแม้แต่ผู้บุคคลภายนอกที่ไม่ได้เป็นคู่สัญญา แต่ได้รับความเสียหายก็ตาม กฎหมายดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับมาตรการ หรือวิธีชดใช้ ค่าเสียหายที่เกิดจากผู้ประกอบการแต่อย่างใด ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงขอเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาไว้ 2 ประการ กล่าวคือ 1. ผู้ศึกษาเห็นว่าสภาวะในปัจจุบันมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก การ แข่งขันในทางธุรกิจค่อนข้างสูง กฎหมายที่ใช้ควบคุมความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจโดยปรากฎใน รูปแบบของหลักประกันที่บัญญัติไว้ในกฎหมายเฉพาะในธุรกิจที่มีความเสี่ยงนั้น หลักประกัน ดังกล่าวไม่เพียงพอต่อความเสียหาย ดังนั้นรัฐต้องมีการปรับเปลี่ยนหลักประกันดังกล่าวเพื่อให้ สอดคล้องกับสภาวะการณ์ในปัจจุบันและเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่มุ่งคุ้มครอง ผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการประกอบธุรกิจหรือบุคลลภายนอกซึ่งได้รับความเสียหายจากผู้ ประกอบกิจการดำเนินธุรกิจดังกล่าว 2. ผู้ศึกษามีความเห็นว่าการบริหารจัดการความเสี่ยงด้วยการโอนความเสี่ยง (Risk Transfer) โดยการโอนความเสี่ยงภัยด้วยการประกันภัย (Insurance) เป็นการโอนความเสี่ยงภัยจาก บุคคลหรือธุรกิจที่มีความเสี่ยงภัยให้กับบริษัทประกันภัย โดยการจ่ายค่าเบี้ยประกันให้กับผู้รับ ประกันภัยเป็นค่าตอบแทน เมื่อเกิดภัยและมีความเสียหายเกิดขึ้นบริษัทผู้รับประกันภัยจะเป็นผู้แบก รับภาระความเสียหายไว้เองแทนผู้เอาประกันภัยที่มีส่วนได้เสียในความเสี่ยงภัย โดยชดใช้ ค่าเสียหายในนามผู้เอาประกันภัยซึ่งในกรณีดังกล่าวนี้นี้ผู้ศึกษาเห็นว่าเหมาะสมกับผู้ประกอบ วิชาชีพเป็นอย่างยิ่ง และหรือการจัดการความเสี่ยงด้วยการจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยง

คำอธิบาย

นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

คำหลัก

ผู้ประกอบธุรกิจ, การประกอบวิชาชีพ, ความเสี่ยง, ความเสียหาย, การดำเนินธุรกิจ

การอ้างอิง