กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในศาลในความผิดฐานกระทำอนาจาร
กำลังโหลด...
วันที่
2565
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เชิงนามธรรม
เนื่องจากกฎหมายที่มีอยู่ในเรื่องความผิดเกี่ยวกับการกระทำอนาจาร ประสิทธิภาพในเรื่องการลดการกระทำความซ้ำของผู้กระทำความผิดดังกล่าวยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ส่งผลให้ยังคงมีผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการกระทำอนาจารยังคงกลับมากระทำความผิดซ้ำ อีกทั้งโทษที่ใช้บังคับเกี่ยวกับการกระทำความผิดอนาจารไม่สามารถช่วยเยียวยาให้ผู้เสียหายกลับคืนสภาพดังเดิมได้เฉกเช่นก่อนเกิดการกระทำความผิดของผู้กระทำความผิด โดยเฉพาะในด้านของสภาพจิตใจ ความรู้สึกของผู้เสียหาย กระบวนการยุติธรรมปกติไม่อาจเยียวยาในด้านดังกล่าวให้แก่ผู้เสียหาย ดังนั้นเพื่อลดการกระทำความผิดซ้ำของผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการกระทำอนาจาร และให้โอกาสแก่ผู้กระทำความผิดกลับตัวเป็นคนดีเพื่อเข้าสู่สังคมได้อีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้เพื่อเป็นการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ผู้เสียหายให้ได้รับการชดเชยเยียวยาได้อย่างครบถ้วนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องหามาตรการในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว กรอบการศึกษาในเล่มนี้มุ่งเน้นที่จะศึกษากระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์เพื่อนำมาปรับใช้กับคดีความผิดเกี่ยวกับการกระทำอนาจาร โดยเฉพาะมาตรา 278 มาตรา 279 มาตรา 280
จากการศึกษาพบว่ากระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์สามารถช่วยลดการกระทำความผิดซ้ำของผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการกระทำอนาจาร และสามารถเยียวยาผู้เสียหายในด้านสภาพจิตใจ ความรู้สึกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเสนอแนะจากการศึกษา คือ ควรนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาบังคับใช้กับความอาญาฐานกระทำอนาจาร และควรมีการพัฒนากฎหมายให้สามารถมีการบังคับใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นศาล โดยกำหนดให้ศาลมีอำนาจตรวจสอบถึงกระบวนการดังกล่าวเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์และให้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
คำอธิบาย
คำหลัก
กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์, คดีความผิดฐานกระทำอนาจาร
การอ้างอิง
ฤทธิพงศ์ คงแก้ว. 2565. "กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในศาลในความผิดฐานกระทำอนาจาร." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.