การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่: ศึกษากรณีเงื่อนไข ในการยื่นคำร้องและผู้มีสิทธิร้องขอให้รื้อฟื้นคดี
dc.contributor.author | รวีภัทร์ ฉัตรไชยเดช | en_US |
dc.date.accessioned | 2562-10-05T06:16:51Z | |
dc.date.available | 2019-10-05T06:16:51Z | |
dc.date.issued | 2562 | |
dc.description | รวีภัทร์ ฉัตรไชยเดช. การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่: ศึกษากรณีเงื่อนไข ในการยื่นคำร้องและผู้มีสิทธิร้องขอให้รื้อฟื้นคดี. วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2562. | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา แนวคิดพื้นฐาน หลักการ และทฤษฎีทางกฎหมายอาญาที่เกี่ยวกับการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ ว่าเกิดปัญหาขึ้นจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 อย่างไร และศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ในประเทศไทยและต่างประเทศเพื่อค้นหาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากการศึกษาพบว่าการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ตามกฎหมายไทยนั้น ขาดความชัดเจน และมีข้อจำกัดอยู่บางประการ โดยเฉพาะเรื่องของเงื่อนไขในการยื่นคำร้องขอรื้อฟื้นคดี และเรื่องของผู้มีสิทธิร้องขอให้รื้อฟื้นคดี เช่น เงื่อนไขประการหนึ่งของการยื่นคำร้องนั้น คำพิพากษาในคดีเดิมต้องถึงที่สุดว่าจำเลยได้กระทำความผิด และจำเลยได้รับโทษจากคำพิพากษานั้น ดังนั้นหากเป็นกรณีคดีเดิมไม่มีการลงโทษจำเลยเพราะเหตุอย่างหนึ่งเหตุใดตามกฎหมาย ย่อมไม่เข้าหลักเกณฑ์ในการขอให้รื้อฟื้นคดี เงื่อนไขอีกประการหนึ่ง คือ พยานหลักฐานใหม่ต้องแสดงว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิด ซึ่งคำว่า "ไม่ได้กระทำความผิด" นั้น มีความหมายแค่ไหนเพียงใด กฎหมายไม่ได้ระบุชัด จะหมายความว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดใด ๆ ทั้งสิ้นในคดี หรือความหมายเพียงเฉพาะความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งหรือแต่เพียงบางส่วนของคดี และอีกประเด็นหนึ่งคือ ในเงื่อนไขของการรื้อฟื้นคดีนั้นไม่ได้ระบุถึงเหตุเกี่ยวกับการทุจริตของเจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรมเอาไว้ จึงยังไม่ครอบคลุมเท่าที่ควร ในส่วนของผู้มีสิทธิร้องขอให้รื้อฟื้นคดีแทน ต้องเป็นกรณีจำเลยถึงแก่ความตายเท่านั้น ไม่รวมถึงกรณีอื่นที่จำเลยมิได้ถึงแก่ความตาย แต่ไม่สามารถมายื่นคำร้องเองได้ เช่น การสาบสูญหรือวิกลจริต อีกทั้งกฎหมายไม่ได้กำหนดชัดว่าการยื่นคำร้องขอรื้อฟื้นคดีแทนของบุคคลผู้มีสิทธินั้น เป็นการกระทำแทนบุคคลผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอรื้อฟื้นคดีแทนคนอื่นหรือไม่ ข้อเสนอแนะ จากการศึกษาเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 ในมาตรา 5 มาตรา 6 และมาตรา 18 ในประเด็นเงื่อนในการยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดี ควรระบุให้สามารถยื่นคำร้องได้แม้จำเลยจะไม่ได้รับโทษตามคำพิพากษานั้น นอกจากนี้ ในเงื่อนไขดังกล่าวควรระบุชัดเจนถึงกรณีว่าการยื่นคำร้องขอรื้อฟื้นคดีแต่เพียงส่วนหนึ่งส่วนใดของคดีสามารถกระทำได้ และกรณีเจ้าพนักงานกระทำการโดยทุจริตสามารถกระทำได้ รวมถึงแก้ไขในประเด็นผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดี กรณีการยื่นคำร้องแทนจำเลย ควรระบุให้ครอบคลุมถึงญาติ พี่น้อง และผู้ที่อาศัยอยู่กับจำเลยด้วย | en_US |
dc.description.sponsorship | หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. | en_US |
dc.identifier.citation | รวีภัทร์ ฉัตรไชยเดช. 2562. "การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่: ศึกษากรณีเงื่อนไข ในการยื่นคำร้องและผู้มีสิทธิร้องขอให้รื้อฟื้นคดี." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. | en_US |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6411 | |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศรีปทุม | en_US |
dc.relation.ispartofseries | SPU_รวีภัทร์ ฉัตรไชยเดช_T184603_2562 | en_US |
dc.subject | การรื้อฟื้นคดี | en_US |
dc.subject | คดีอาญา | en_US |
dc.title | การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่: ศึกษากรณีเงื่อนไข ในการยื่นคำร้องและผู้มีสิทธิร้องขอให้รื้อฟื้นคดี | en_US |
dc.title.alternative | RETRIAL OF CRIMINAL CASE: A STUDY OF CONDITIONS AND PERSONS WHO HAVE THE RIGHT TO APPLY BY MOTION FOR RETRIAL | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |