มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดทางอาญาในการรักษาพยาบาลบุตร

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2562-03-08

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

เชิงนามธรรม

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความรับผิดทางอาญาของบิดามารดา อันเกิดจากการรักษาพยาบาลบุตรเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกายและอนามัย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดให้บิดามารดามีหน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ ส่วนมาตรฐานขั้นต่ำในการอุปการะเลี้ยงดูนั้น กำหนดไว้ในกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำ ในการอุปการะเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนและพัฒนาเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแล พ.ศ.2549 โดยศึกษาตั้งแต่แนวคิด ทฤษฎี วัตถุประสงค์การลงโทษทางอาญา และการกำหนดความรับผิดของบิดมารดาหากปรากฏว่าบุตรได้รับความเสียหายจากการให้การรักษาพยาบาลโดยบิดามารดา จากการศึกษาพบว่าการรักษาพยาบาลที่จะทำให้บุตรได้รับความเสียหายอาจเกิดได้ 3 กรณี คือ เกิดจากการกระทำโดยเจตนา กระทำโดยประมาท และกระทำโดยประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง สำหรับการรักษาพยาบาลโดยเจตนาหรือการไม่พาบุตรไปรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยงดเว้นซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญาได้คุ้มครองไว้อยู่แล้ว ในขณะที่การกระทำโดยประมาทและกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงนั้น เนื่องจากประมวลกฎหมายอาญาของไทยมีบทบัญญัติความผิดฐานประมาทต่อชีวิต ร่างกาย ไว้ 3 มาตรา คือ กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ ความตาย (มาตรา 291) กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่น รับอันตรายสาหัส (มาตรา 300) และกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กาย หรือจิตใจ (มาตรา 390) ส่วนในพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มาตรการทางอาญาที่ลงโทษบิดามารดาล้วนเป็นความผิดที่ต้องมีเจตนากระทำความผิดทั้งสิ้น ดังนั้นการที่บิดามารดารักษาพยาบาลบุตรโดยประมาทหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกายและอนามัยไม่ได้มีกฎหมายกำหนดบทลงโทษเด็ดขาดกับบิดามารดาไว้โดยเฉพาะ ดังนั้นผู้ศึกษาจึงเห็นว่า สมควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ลักษณะ 10 ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย หมวด 1 ความผิดต่อชีวิต หมวด 2 ความผิดต่อร่างกายโดยบัญญัติลักษณะความผิดและกำหนดโทษในกรณีบิดามารดากระทำโดยประมาท และกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้เด็กได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย อันเกิดจากการรักษาพยาบาลทั้งนี้ เพื่อเป็นการคุ้มครองเด็กให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

คำอธิบาย

นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

คำหลัก

เด็ก/การรักษาพยาบาล, มาตรฐานขั้นต่ำ

การอ้างอิง