การพัฒนาส่วนต่อขยายระบบรางในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อการเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2563

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาส่วนต่อขยายระบบรางในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อการเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์ เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ และ เจ้าหน้าที่จากสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรจังหวัดเชียงใหม่ อีกทั้งการศึกษาจากแอกสารและงาน วิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1. จังหวัดเชียงใหม่มีปัญหาเกี่ยวกับการจราจรหนาแน่น ก่อให้เกิดการจราจรติดขัดเป็นอย่างมาก ดังนั้นจังหวัดเชียงใหม่จึงผุดโครงการรถไฟฟ้ารางเบาเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด ในจุดที่มีการจราจรหนาแน่น ซึ่งประกอบด้วยโครงการรถไฟฟ้า 3 สาย ได้แก่ สายสีแดง สายสีเขียว และสายสีน้ำเงิน แต่ยังพบปัญหาเกี่ยวกับจุดเชื่อมต่อของสถานีรถไฟฟ้าไปยังแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น อำเภอสันกำแพง 2. แนวทางการพัฒนาส่วนต่อขยายระบบรางในจังหวัดเชียงใหม่ระหว่างจุดเชื่อมต่อห้าง สรรพสินค้าพรอมเมดา – อำเภอสันกำแพง ระยะทาง 10.9 กิโลเมตร และตั้งชื่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูประกอบด้วย 7 สถานี เริ่มต้นจากจุดเชื่อมต่อสถานีห้างสรรพสินค้าพรอมเมดา สถานีโรงแรมดาราเทวี สถานีบ้านศิลาดล สถานี M Sport Club สถานีอุตสาหกรรมทำมือบ่อสร้าง สถานีสวนน้ำ Water Park และสถานีช่วงสันกำแพงและพบจุดเชื่อมต่อสายสีเขียวสถานีท่าอากาศยานเชียงใหม่

คำอธิบาย

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

คำหลัก

การพัฒนาส่วนต่อขยาย, ระบบรางในจังหวัดเชียงใหม่

การอ้างอิง

พัชรปรัตถ์ ขาวสอาด. 2562. "การพัฒนาส่วนต่อขยายระบบรางในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อการเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ." การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.