การรับรู้และความคาดหวัง เพื่อสร้างกลยุทธ์ในการพัฒนา รายการฝนฟ้าอากาศช่อง 7HD
dc.contributor.author | พรเทพ สิงหกุล | th_TH |
dc.date.accessioned | 2564-04-30T07:00:01Z | |
dc.date.available | 2021-04-30T07:00:01Z | |
dc.date.issued | 2564 | |
dc.description.abstract | การศึกษาวิทยานิพนธ์เรื่องการรับรู้ และความคาดหวัง เพื่อสร้างกลยุทธ์ในการพัฒนารายการฝนฟ้าอากาศ ช่อง 7HD (1) เพื่อศึกษาการรับรู้ของผู้ชมที่มีต่อกระบวนการผลิตรายการ ฝนฟ้าอากาศ (2) เพื่อศึกษาความคาดหวังของผู้ชมที่มีต่อกระบวนการผลิตรายการฝนฟ้าอากาศ (3) เพื่อศึกษากลยุทธ์กระบวนการผลิตรายการฝนฟ้าอากาศ ให้สอดคล้องกับความต้องการรับชม การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีแบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และทำการประมวลผลจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป การศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีสำรวจความคิดเห็นจากแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่ประชาชนทั่วประเทศที่เคยรับชมรายการฝนฟ้าอากาศ ช่อง 7HD แบ่งเป็นภาค 6 ภาค ภาคละ 70ชุด รวมจำนวน 420 คน ด้วยวิธีการตอบแบบสอบถามออนไลน์ ซึ่งการตอบแบบสอบถามผู้วิจัยจะระบุว่าผู้ชมต้องเคยรับชมรายการฝนฟ้าอากาศมาแล้วอย่างน้อย 5 ครั้ง โดยผู้วิจัยจะส่งให้ผู้สื่อข่าวภูมิภาคประจำตามจังหวัดเชียงใหม่ทางภาคเหนือ จังหวัดขอนแก่นทางภาคอีสาน จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาคใต้ จังหวัดชลบุรี ภาคตะวันออก และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาคกลาง ส่วนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ผู้วิจัยจะทำการเผยแพร่ด้วยตนเอง ผลการศึกษาวิจัยการรับรู้ และความคาดหวัง เพื่อสร้างกลยุทธ์ในการพัฒนารายการ ฝนฟ้าอากาศ ช่อง 7HD จากกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ สรุปได้ว่า ลักษณะที่แตกต่างกัน เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และที่อยู่ (ภูมิภาค) ของกลุ่มตัวอย่าง ส่งผลต่อการรับรู้ของผู้ชมที่มีต่อรายการพยากรณ์อากาศ ฝนฟ้าอากาศ และตามผลการศึกษาพบว่า ลักษณะทางด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ อายุ อาชีพ รายได้ และ ที่อยู่อาศัย (ภูมิภาค) มีผลต่อการรับรู้ของผู้ชมที่มีผลต่อรายการพยากรณ์อากาศ ฝนฟ้าอากาศ โดยช่วงอายุ 21-30 ปี มีผลต่อรายการพยากรณ์อากาศ ฝนฟ้าอากาศ มากกว่ากลุ่มช่วงอายุอื่นๆ ซึ่งสอดคล้องกับกลุ่มตัวอย่างที่ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีผลต่อรายการพยากรณ์อากาศ ฝนฟ้าอากาศ มากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ประกอบอาชีพอื่นๆ ส่วนรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของกลุ่มตัวอย่างพบว่า รายได้ ต่ำกว่า 15,000 บาท บริษัทเอกชน มีผลต่อรายการพยากรณ์อากาศ ฝนฟ้าอากาศ มากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่รายได้อื่นๆ | th_TH |
dc.description.sponsorship | Sripatum University | th_TH |
dc.identifier.citation | พรเทพ สิงหกุล. 2562. "การรับรู้และความคาดหวัง เพื่อสร้างกลยุทธ์ในการพัฒนา รายการฝนฟ้าอากาศช่อง 7HD." วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. | th_TH |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7499 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศรีปทุม | th_TH |
dc.subject | การรับรู้ | th_TH |
dc.subject | ความคาดหวัง | th_TH |
dc.subject | กลยุทธ์ | th_TH |
dc.subject | รายการฝนฟ้าอากาศ | th_TH |
dc.subject | ยุคดิจิทัล | th_TH |
dc.title | การรับรู้และความคาดหวัง เพื่อสร้างกลยุทธ์ในการพัฒนา รายการฝนฟ้าอากาศช่อง 7HD | th_TH |
dc.title.alternative | PERCEPTION AND EXPECTATION OF THE VIEWERS IN CREATING THE STRATEGY OF CHANNEL’S 7 WEATHER PROGRAM “FON-FAH ARCARD” | th_TH |
dc.type | Thesis | th_TH |
ไฟล์
ชุดต้นฉบับ
1 - 5 ของ 14
มัดใบอนุญาต
1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
- ชื่อ:
- license.txt
- ขนาด:
- 1.71 KB
- รูปแบบ:
- Item-specific license agreed upon to submission
- คำอธิบาย: