CMU-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 89
  • รายการ
    การสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการกับพฤติกรรมการเปิดรับที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี : กรณีศึกษา นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีปทุม
    (Sripatum University, 2561-05-20) สันติ ธนลาภอนันต์
    การศึกษาวิทยานิพนธ์เรื่อง "การสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการกับพฤติกรรมการเปิดรับที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี : กรณีศึกษา นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีปทุม" เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative) มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยศรีปทุมศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยศรีปทุม ศึกษาการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยศรีปทุม และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการเปิดรับ การสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการและการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • รายการ
    ปัจจัยและการประชาสัมพันธ์เพื่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) วีระชัย ตระหง่านกิจ
    การวิจัยเรื่อง “ปัจจัยและการประชาสัมพันธ์เพื่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยรภัฏจันทรเกษม” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยเกี่ยวกับตนเองและสังคมมีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม 2) ปัจจัยเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมมีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม โดยใช้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 400 คน เป็นกลุ่มตัวอย่าง การวิจัยนี้ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Chi – Square test)ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยเกี่ยวกับตนเองและสังคมในด้านความคาดหวังเป็นปัจจัยที่นักศึกษาเลือกศึกษาต่อมากที่สุด โดยพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านคณาจารย์มีความรู้ ความสามารถเป็นลำดับแรก อยู่ในระดับมาก (X = 4.05) สำหรับด้านปัจจัยเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษา พบว่า ด้านหลักสูตร ได้แก่ มีหลักสูตรตามที่ตนต้องการเป็นลำดับแรก อยู่ในระดับมาก (X = 3.93) และในด้านการประชาสัมพันธ์ พบว่า นักศึกษารับการประชาสัมพันธ์จาก เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเป็นลำดับแรก อยู่ในระดับมาก (X = 3.60) โดยใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลการรับสมัคร ผลการทดสอบสมมุติบานพบว่า ปัจจัยเกี่ยวกับตนเองและสังคม ได้แก่ สถานะทางครอบครัวและตนเอง มีผลกับปัจจัยเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
  • รายการ
    ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำร็จของรายการควิชโชว์ บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) : กรณีศึกษา “ปริศนาฟ้าแลบ”
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ธนธัช ไตรรัตน์วงศ์
    การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตรายการควิชโชว์ของบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) : กรณีศึกษา “ปริศนาฟ้าแลบ” 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร้จของรายการควิชโชว์ บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัเ (มหาชน) : กรณีศึกษา”ปริศนาฟ้าแลบ” การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยในเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้การวิจัยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In – depth Interview) กับกลามผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) คือ 1) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการผลิตรายการจำนวน 11 คน 2) ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานสื่อสารการตลาดจำนวน 4 คน 3) ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานการตลาดจำนวน 2 คน 4) ผู้ที่เกี่ยวข้องกัลงานทรัพยากรบุคคลจำนวน 2 คน 5) คณะกรรมการผู้มอบรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครี้งที่ 30 ประเภทรางวัลรายการ เกมโชว์ดีเด่นจำนวน 1 คน รวมทั้งหมดจำนวน 20 คน ซึ่งผู้ศึกษาได้ใช้ระยะเวลาในการศึกษาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2560 ถึงเดือนสิงหาคม 2560 การสัมภาษณ์ทำควบคู่ไปกับการสังเกตการณ์ โดยสังเกตการณ์ในการผลิตรายการ หลักในการผลิตรายการ กระบวนการในการผลิตรายการ ขั้นตอนการผลิตรายการ รวมไปถึงปัจจัยภายในและภายนอก ค้นหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ
  • รายการ
    การเปิดรับชมละคร Club Friday The Series ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ชีวิตคู่ ในเขตกรุงเทพมหานคร
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) นลินทิพย์ เพิ่มภัทรสกุล
    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้รับชมละคร Club Friday The Series ศึกษาพฤติกรรมการรับชมละคร Club Friday The Series ศึกษาทัศนคติของผู้ชมที่มีต่อละคร Club Friday The Series และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติของผู้ชมที่มีต่อละคร Club Friday The Series กับพฤติกรรมการใช้ชีวิตคู่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็น ผู้รับชมละคร Club Friday The Series ภายในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมุ่งศึกษากลุ่ม Generation Y ซึ่งเกิดในช่วง พ.ศ. 2520 -2537 จำนวน 400 คน ผู้วิจับเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) จากนั้นนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) การทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t-test, F-test และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient)
  • รายการ
    ภาพลักษณ์ของสถาบันอาชีวศึกษาในเขตจังหวัดชลบุรี ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ธนะวัฒน์ ถนัดรบ
    การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การรับรู้ข่าวสาร ทัศนคติ ที่มีต่อภาพลักษณ์ของสถานศึกษาอาชีวะในเขตจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครี่งนี้คือผู้ที่อยู่อาศัยในจังหวัดชลบุรีทั้งเพศชายและหญิง จำนวน 400 คน ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก้บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลกาศึกษาวิจัยพบว่า ลักษณะทางประชากรที่มีพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน มีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับสถาบันอาชีวศึกษาในเขตจังหวัดชลบุรีแตกต่างกัน
  • รายการ
    การใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อให้ได้บัณฑิตที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ชญาดา อาสนสุวรรณ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อให้ได้บัณฑิตที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์และองค์ความรู้ที่ค้นคว้าจากสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพทางการเรียนในด้านต่างๆ ตามกรอบมาตรฐานตัวบ่งชี้คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ (กรอบ TQF) 5 ด้าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามทั้งหมด 367 คน ผู้นำวิจัยนำแบบสอบถามที่ได้จากการศึกษามาทำการวิเคราะห์ข้อมูลตามขั้นตอน ตรวจสอบความสมบรูณ์ของแบบสอบถามที่ได้รับคืนมาทั้งหมด นำแบบสอบถามมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะทางประชากรศาสตร์ ที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการเรียนการสอน เพื่อทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบแบบที (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) วิเคราะห์โดยค่าเฉลี่ย เป็นรายข้อ รายด้าน และโดยรวมเพื่อนำเสนอในรูปแบบตาราง ประกอบคำบรรยาย
  • รายการ
    รูปแบบการดำเนินชีวิต พฤติกรรมเปิดรับสื่อ และความพึงพอใจต่อการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ของคนวัยทำงาน
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ปนัดดา เกษศิลป์
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิต พฤติกรรมการเปิดรับสื่อที่มีผลต่อความพึงพอใจต่อการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ของคนวัยทำงาน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการดำเนินชีวิต พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ และความพึงพอใจที่มีผลต่อการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ของคนวัยทำงาน ทำการศึกษาวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้แบบทดสอบ (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ระหว่างเดือนมีนาคม-เดือนเมษายน พ.ศ.2560 โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน อายุระหว่าง 19-59 ปี ที่มาท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการ แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t-test) วิเคราะห์วามแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance : ANAVO) และวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor analysis)
  • รายการ
    การรับรู้เกี่ยวกับความรู้ผิดชอบต่อสังคมในการสื่อสารเพื่อการสร้างภาพลักษณ์ของบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) พรจิรา วิภาดาพิสุทธิ์
    การศึกษาเรื่อง การรับรู้เกี่ยงกับความรับผิดชอบต่อสังคมในการสื่อสารเพื่อการสร้างภาพลักษณ์ของบริษัท ฮอนด้า ออดตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาถึงการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการทำกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม ทัศนคติ และการรับรู้ภาพลักษณ์ของบริษัท ฮอนด้า ออดตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด 2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะทางประชากรกับการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการทำกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท ฮอนด้า ออดตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการทำกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม ทัศนคติ และการรับรู้ภาพลักษณ์ของบริษัท ฮอนด้า ออดตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ในเขตจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ผู้ศึกษาได้ศึกษา คือ ประชากรเพศชายและเพสหญิงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชลบุรี โดยในที่นี้เก็บคัวอย่างเป็นจำนวนทั้งสิ้นจำนวน 400 คน ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 400 คนเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุระหว่าง 26 – 35 ปี เป็นพนักงานเอกชน มีระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001 – 25,000 บาท การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการทำกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท ฮอนด้า ออดตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ประชาชนมีการรับรู้โครงการด้านมนุษยธรรมมากที่สุด ทัศนคติที่มีต่อบริษัท ฮอนด้า ออดตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด อยู่ในระดับดี และมรการรับรู้ภาพลักษณ์ของบริษัท ฮอนด้า ออดตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ด้านชื่อเสียงมากที่สุด
  • รายการ
    พฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้ชมโฆษณาเพื่อการสร้างสรรค์งานโฆษณาในสื่อ Youtube กรณีศึกษาโฆษณาประเภทประกันชีวิต
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) นนทภรณ์ บุญจึงเจริญรัตน์
    งานศึกษาวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับโฆษณา และเกิดการสร้างสรรค์งานโฆษณาในการดึงดูดความสนใจในสื่อ Youtube กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือผู้ชม โฆษณาในสื่อ Youtube ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบการแจกแจงแบบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รับชมรายการภาพยนตร์ละครย้อนหลัง โดยรับชมผ่านโทรศัพท์มือถือ มีความถี่ในการรับชม 1-3 ครั้งต่อวัน รับชมในช่วง เวลา 18.01-24.00 น รับชมทุกวัน และรับชมในบริเวณบ้านพัก ความพึงพอใจโฆษณาในสื่อ Youtube ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านความตั้งใจมีค่าเฉลี่ยสูงสุด
  • รายการ
    ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์ประดับยนต์ผ่าน FACEBOOK FANPAGE
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ศรนารายณ์ โพธิ์จันทร์
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์ และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์ประดับยนต์ผ่าน Facebook Fanpage กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ ผู้ซื้ออุปกรณ์ประดับยนต์ผ่าน Facebook Fanpage จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบการแจกแจงแบบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้งานเฟชบุ๊กผ่านโทรศัพท์มือถือ มีค่าความถี่ในการใช้งานเฟชบุ๊ก 1-3 ชั่งโมงต่อครั้ง ใช้งานเฟชบุ๊กในช่วงเวลา 18.00-24.00 นาฬิกา ใช้งานเฟชบุ๊กทุกวัน ใช้งานเฟชบุ๊กบริเวณบ้านพัก ใช้งานเฟชบุ๊กในขณะพักผ่อน ใช้งานเพื่อการติดต่อสื่อสาร และอุปกรณ์ประดับยนต์ที่เคยซื้อส่วนใหญ่เป็นอุปกรณืตกแต่งเพื่อความสวยงาม เช่น ชุดแต่งรถรอบคันเบาะนั่งฝาครอบไฟ โลโก้ สติ๊กเกอร์ สปอยเลอร์ ฟิล์มกรองแสง อุปกรณ์ หรืออุปกรณ์หุ้มพวงมาลัย หรืออุปกรณ์หุ้มเกียร์ เป็นต้น
  • รายการ
    ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ลาซาด้าของผู้บริโภคกลุ่มเจนเนอเรชันวาย
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) อทิตา ภูวสิทธิธาดา
    การศึกษาวิทยานิพนธ์เรื่อง “ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ลาซาด้าของผู้บริโภคกลุ่มเจนเนอเรชันวาย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ส่วนประสมทางการตลาด และองค์ประกอบของเว็บไซต์ในการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเว็บไวต์ลาซาด้าของผู้บริโภคกลุ่มเจนเนอเรชันวาย ทั้งนี้ ทำการศึกษาโดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research) โดยเก็บข้อมูลจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง เพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเว็บไวต์ลาซาด้าของผู้บริโภคกลุ่มเจนเนอเรชันวาย และใช้แบบสอบถามปลายเปิด (Questionnaire) ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น ซึ่งผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและความเชื่อมั่นด้วยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) สำหรับเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริโภคกลุ่มเจนเนอเรชันวายที่เคยตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเว็บไวต์ลาซาด้าในประเทศไทย จำนวน 400 คน โดยสถิติเชิงอนุมานที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t-test, F-test (One-way ANOVA), ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิธีวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ
  • รายการ
    ผลสัมฤทธิ์ของการประชาสัมพันธ์ภายในการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ทิพยรัตน์ ด้วงเกลี้ยง
    การศึกษาวิจัยเรื่องผลสัมฤทธิ์ของการประชาสัมพันธ์ภายในการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่ เพื่อศึกษาการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ภายในองค์กรของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากสื่อประชาสัมพันธ์ภายในของพนักงานไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่ และเพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ การเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ การใช้ประโยชน์จากสื่อประชาสัมพันธ์ที่ส่งผลสัมฤทธิ์ของการประชาสัมพันธ์ภายในการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่ การศึกษาการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (QuantitiveResearch) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ซึ่งมีทั้งลักษณะปลายปิด และปลายเปิด กับกลุ่มเป้าหมายพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงาน
  • รายการ
    ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำเสนอข่าวประเภทอาชญากรรม ในมุมมองของประชาชน เพื่อพัฒนาการนำเสนอข่าวในยุคทีวีดิจิทัล
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ศิรัณพร มูลอุทก
    การวิจัยเรื่อง "ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำเสนอข่าวประเภทอาชญากรรมในมุมมองของประชาชน เพื่อพัฒนาการนำเสนอข่าวในยุคทีวีดิจิทัล" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการเปิดรับข่าวอาชญากรรม 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำเสนอข่าวประเภทอาชญากรรม 3) พัฒนาการนำเสนอข่าวประเภทอาชญากรรมในยุคทีวีดิจิทัล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือประชาชนที่เคยรับข่าวอาชญากรรม อาศัยอยู่ในภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยอบบสอบถามออนไลน์ สถิติในการวิเคราะห์ผล ใช้สถิติเชิงพรรณนาอธิบายผลการวิเคราะห์ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการเปิดรับข่าวอาชญากรรมผ่านทางโทรทัศน์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3.93 ผลการวิจัยปัจจัยที่มีผลต่อการนำเสนอข่าวอาชญากรรมในยุคทีวีดิจิทัล เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านเนื้อหาข่าวที่มีอยู่ในกระแส มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 4.02 ด้านรูปแบบการนำเสนอการรายงานสดจากพื้นที่ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 4.01 ด้าน ภาพประกอบข่าว สื่อถึงอารมณ์ ความรู้สึก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 4.51 ด้านผู้รายงานข่าว (ผู้ประกาศข่าว)มีความรู้ด้านคดีอาชญากรรม มีค่าเแลี่ย 4.02 แลพด้านผู้รายงานข่าว (ผู้สื่อข่าว) มีความว่องไว คล่องตัว กระฉับกระเฉง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3.95 ผลการวิจัยเพื่อพัฒนาการนำเสนอข่าวอาชญากรรม พบว่าด้านคุณค่าข่าว พัฒนาความถูกต้องของข่าวมาก่อนความรวดเร็ว มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 4.00 ด้านผู้รายงานข่าว พัฒนาการจับประเด็นสำคัญของข่าว มีค่าเฉลีย 4.00 และด้านเครื่องมือ พัมนาอุปกรณ์ออกอากาศ ระบบออกอากาศทันสมัย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 4.01
  • รายการ
    ส่วนประสมทางการตลาดและสื่อสารการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจถ่ายภาพของประชาชนภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) สุภพงษ์ สุขชาวนา
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจถ่ายภาพของประชาชนภูมิและการสื่อสารการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจถ่ายภาพของประชาชนภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบปลายเปิดและทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติทดสอบแบบที การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว ค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์ และวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ
  • รายการ
    กลยุทธ์การสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) วาราดา จินดาอินทร์
    การศึกษาวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ของนิสิตคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อศึกษาการรับรู้ที่มีผลต่อการตัดสินใจจากสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อเข้าศึกษาต่อคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ของนิสิตคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเพื่อศึกษาแนวทางการวางแผนกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้รูปแบบงานวิจัยแบบผสม (Mixed Method) ซึ่งใช้วิธีศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้แบบสอบถามกับนิสิตคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) กับกลุ่มเป้าหมายภายในองค์กรประกอบด้วย ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และภายนอกองค์กรประกอบด้วย นักประชาสัมพันธ์ นักวิชาการ และสื่อมวลชน
  • รายการ
    การสร้างแบรนด์บุคคลของผู้นำเสนอข่าวทางสื่อโทรทัศน์ที่ประสบความสำเร็จ
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) จิตติมา สุทธิวนิช
    การวิจัยเรื่อง “การสร้างแบรนด์บุคคลของผู้นำเสนอข่าวทางสื่อโทรทัศน์ที่ประสบความสำเร็จ” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำคัญของการสร้างแบรนด์บุคคล วิธีการสร้างและรูปแบบการสื่อสารแบรนด์บุคคลของผู้นำเสนอข่าวทางสื่อโทรทัศน์ที่ประสบความสำเร็จ ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่าง 5 กลุ่ม จำนวน 35 คน คือ ผู้ประกาศหรือผู้ดำเนินรายการข่าวทางสื่อโทรทัศน์ 10 คน กลุ่มผู้สื่อข่าว 5 คน กลุ่มบรรณาธิการข่าว โปรดิวเซอร์ (Producer) สถานีโทรทัศน์และบุคคลในสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย 5 คน กลุ่มนักวิชาการด้านการสร้างแบรนด์ 5 คน และกลุ่มผู้ชมที่ติดตามผู้นำเสนอข่าวที่ประสบความสำเร็จ 10 คน ผลการวิจัยพบว่า ผู้นำเสนอข่าวให้ความสำคัญกับการสร้างแบรนด์บุคคลในปัจจุบัน เนื่องจากการแข่งขันที่สูงขึ้น พฤติกรรมผู้ชมที่เปลี่ยนไปจึงต้องสร้างการจดจำให้เกิดขึ้นกับผู้ชมเพื่อให้ได้รับการติดตาม โดยผลการวิจัยสามารถออกแบบเป็นโมเดล (Model) การสร้างแบรนด์บุคคลของผู้นำเสนอข่าวที่ประสบความสำเร็จทางสื่อโทรทัศน์ คือ “SPOT”
  • รายการ
    การสื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ตโฟนในฐานะสื่อวัฒนธรรมประชานิคม (POPULAR CULTURE) ของผู้บกพร่องทางการได้ยินในเขตกรุงเทพมหานคร
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) พงศ์สุภา ศิริสุขเจริญพร
    การวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมการสื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ตโฟนในฐานะสื่อวัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) ของผู้บกพร่องทางการได้ยินในเขตกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พฤติกรรมการสื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ตโฟนผู้บกพร่องทางการได้ยินในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ตโฟนของผู้บกพร่องทางการได้ยินในขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาปัจจัยในการใช้โทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ตโฟน ของผู้บกพร่องทางการได้ยินในเขตวิจัยแบบผสมผสาน (mixed method research) เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยวิธีการสำรวจ (quantitative reaearch) เพื่อทำการวิเคราะห์และทดสอบทฤษฎี โดยใช้เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเราะห์ด้วยวิธีทางสถิติต่างๆ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าไคสแควร์ (chi-square) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์แบบเพียร์สัน (Pearson product moment) ร่วมกับการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ (qualitative research) โดยการสัมภาษณ์เจาะลึกและสังเกตแบบมีส่วนร่วม โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บกพร่องทางการได้ยิน ผู้บกพร่องทางการได้ยินที่มีการใช้ดทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ตโฟน (smartphone) ในเขตกรุงเทพมหานครและผู้ที่สื่อสารกับผู้บกพร่องทางการได้ยิน ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ปกครอและเพื่อนของผู้บกพร่องทางการได้ยิน จำนวน 100 คน เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายเป็นบุคคลกลุ่มพิเศษมีจำนวนประชากรน้อยกว่าคนปกติทั่วไปผู้ศึกษาจึงทำการเก็บข้อมูลเพียง 100 คน
  • รายการ
    กลยุทธ์การสื่อสาร เพื่อการพัฒนาสโมสรฟุตบอลอาชีพไทย
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ศิริวัฒน์ ชัยพิพัฒนพงษ์
    การศึกษาวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการพัฒนาฟุตบอลอาชีพไทยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการพัฒนาสโมสรฟุตบอลอาชีพไทย และ 2) ศึกษากลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการพัฒนาสโมสรฟุตบอลอาชีพไทยเก็บข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ที่มีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสโมสรฟุตบอลอาชีพไทย 5 ขึ้นไป จำนวน 40 คน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ภาครัฐ 10 คน ภาคเอกชน (สโมสร) 10 คน นักกีฬาฟุตบอลอาชีพ 10 คน และ สื่อมวลชนสายกีฬาฟุตบอล10 คน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการพัฒนาสโมสรฟุตบอลอาชีพไทย ได้แก่ สื่อดั้งเดิม สื่อใหม่ การตลาด งบประมาณ บุคลากร แฟนคลับ การบริหารจัดการ รวมทั้งการสนับสนุนจากภาครัฐและภาคเอกชน (สปอนเซอร์)
  • รายการ
    รูปแบบการนำเสนอข่าวเหตุการณ์ภัยภิบัติในไทย ทางสื่อโทรทัศน์ในยุคดิจิทัล
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) นันทิพัฒน์ โปธาปัน
    การศึกษาวิทยานิพนธ์เรื่องรูปแบบการนำเสนอข่าวเหตุการณ์ภัยภิบัติในไทย ทางสื่อโทรทัศน์ในยุคดิจิทัล (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับชมข่าวเหตุการณ์ภัยภิบัติในไทย ทางสื่อโทรทัศน์ในยุคดิจิทัลของประชาชน (2) เพื่อศึกษาความคาดหวังของประชาชน ที่มีต่อรายการข่าวเหตุการณ์ภัยภิบัติในไทย ทางสื่อโทรทัศน์ในยุคดิจิทัล (3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการนำเสนอข่าวเหตุการณ์ภัยภิบัติในไทย ทางสื่อโทรทัศน์ในยุคดิจิทัล การศึกาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เพื่อให้ผลการศึกษาบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้โดยการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์รพหว่างตัวแปรต่างๆตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ การศึกษาศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีสำรวจความคิดเห็นจากแบบสอบถามกลุ่มตตัวอย่างที่ที่เป็นแฟนเพจข่าวของสถานีโทรทัศน์ทั้ง 8 สถานี (7HD, 3HD, Workpoin TV, One31, AmarinTV, ThairathTV, Nation TV22 และช่อง 8) รวมจำรวน 400 คนด้วยวิธีการตอบแบบสอบถามออนไลน์ เนื่องจากแต่ละเพจมีผู้ที่รับชมข่าวเช้ามาแสดงความเห็นด้านข่าวสารจำนวนมาก ซึ่งถือว่าเป็นแฟนตัวยงของรายการข่าว จพทำให้ได้ข้อคิดเห็นจากผู้รับชมข่าวอย่างแท้จริง
  • รายการ
    การรับรู้ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมของชุมชนในกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของกลุ่มโรงงานไฟฟ้า อมตะ บี.กริม เพาเวอร์ ในนิคมอมตะนคร จังหวัด ชลบุรี
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) เบญจมาศ สิทธิโชคธรรม
    การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทำการศึกษาเกี่ยวกับการรับรู้ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมของชุมชนในกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของกลุ่มโรงไฟฟ้าอมตะ บี.กริม เพาเวอร์ ในนิคมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือกลุ่มประชากรทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่รัศมี 5 กิโลเมตร จำนวนทั้งสิ้น 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ได้แก่ Indepdent Samples t-test, One-way ANOVA การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์ และประมวลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Window