การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่ชายแดนไทย – พม่า อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี=PEOPLE’S PARTICIPATIONIN THE PREVENTION AND RESOLUTION TOWARDS DRUG ABUSE IN THE SUBDISTRICT ADMINISTRATIVEORGANIZATIONS IN THE VICINITY OF THAI-BURMESE BORDER SUAN PHUNG DISTRICT, RATCHABURI PROVINCE
กำลังโหลด...
วันที่
2558-01-08T11:48:48Z
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
เชิงนามธรรม
การศึกษาเรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่ชายแดนไทย – พม่าอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี” ในครั้งนี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาของเส้นทางลำเลียงและลักลอบค้า ยาเสพติดในเขตพื้นที่ชายแดนไทย – พม่า อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี 2) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนใน
การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์การบริหารส่วนตำบล3)ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายในองค์การปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การปัจจัยพื้นฐาน
ในการระดมการมีส่วนร่วมของประชาชนและการมีส่วนร่วมของประชาชน และ 4) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์การ
บริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่ชายแดนไทย – พม่า อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ใช้ระเบียบแบบแผนวิธีวิจัยเชิงผสมผสานโดยวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) ประชากรที่เป็นผู้บริหารและสมาชิกขององค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 90 คน และ 2)ประชากรทีเ่ป็นประชาชน จำนวน 380 คน จำนวน 4 ตำบลประกอบกด้วยตำบลสวนผึ้ง ตำบลป่าหวาย ตำบลท่าเคย และตำบลตะนาวศรี
ผลการศึกษาพบว่า 1)สภาพปัญหาของเส้นทางลำเลียงและลักลอบค้า ยาเสพติดในเขตพื้นที่ชายแดนไทย – พม่า อำเภอสวนผึ้ง จังหวัด ราชบุรี ไม่ปรากฏว่ามีการลำเลียงและลักลอบค้ายาเสพติดจากประเทศพม่าเขา้ สู่ประเทศไทยในบริเวณแถบนี้ เพราะสาเหตุสำคัญคือบริเวณ
ชายแดนประเทศพม่า ที่ติดต่อกับอำเภอสวนผึ้ง เป็นหมู่บ้านเล็กๆไม่มีชุมชนขนาดใหญ่และเป็นเขตค่ายทหารซึ่งบริเวณฝั่งพม่าไม่มี แีหล่งผลิตยาเสพติด 2) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ
ป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่ชายแดนไทย – พม่าอำเภอสวนผึ้งจังหวัดราชบุรี ในภาพรวมมีระดับการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากโดยตัวชี้วัดที่ได้รับคะแนนมากที่สุดคือ การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน (To Inform) รองลงมา ได้แก่ การให้ประชาชนเข้ามาร่วมกิจกรรม (To Collaborate) การรับฟังความคิดเห็น (To Consult) การให้ประชาชนเขา้ มาเกี่ยวข้องในการวางแผนและตัดสินใจ (To Involve) และการกระจายอำนาจให้แก่ประชาชน (To Empower) 3) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายในองค์การ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ ปัจจัย พื้นฐานในการระดมการมีส่วนร่วมของประชาชนกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน และแก้ไ้ขปัญหายาเสพติดขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่ชายแดนไทย – พม่า อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ผลการศึกษาในภาพรวมทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์ทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ 0.05 และ
4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่ชายแดนไทย – พม่า อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มี 5 ตัวชี้วัด ได้แก่ วัฒนธรรมองค์การ โครงสร้างองค์การ ภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การและปัจจัย พื้นฐานในการระดมการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่วนปัจจัยที่ไม่ส่งผลหรือไม่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไข้ปัญหายาเสพติดขององค์การบริหารส่วนตำ บลในเขตพื้นที่ชายแดนไทย – พม่าอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี มี 2 ตัวชี้วัด ได้แก่ นโยบายขององค์การและการบริหารองค์การ
คำอธิบาย
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
คำหลัก
การมีส่วนร่วมของประชาชน, การป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด, องค์การบริหารส่วนตำบล, ชายแดนไทย-พม่าอำเภอสวนผึ้งจังหวัดราชบุรี
การอ้างอิง
สิงห์ ปานะชา. 2558. "การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่ชายแดนไทย – พม่า อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี." วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาคารพญาไท.