การวิเคราะห์ทางการเงินของบริษัทผลิตปูนซีเมนต์ที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
dc.contributor.author | วัชรีย์ ธรรมรักษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2564-01-08T08:52:58Z | |
dc.date.available | 2021-01-08T08:52:58Z | |
dc.date.issued | 2542 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงภาวะโดยทั่วไปของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ โดยศึกษาถึงการผลิต การตลาด การนำเข้า และการส่งออกปูนซีเมนต์ของประเทศไทย 2) ศึกษาแหล่งที่มาและการใช้ไปชองเงินทุนของบริษัทปูนซีเมนต์ที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 3) ศึกษาถึงสภาพคล่อง ประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ ความสามารถในการก่อหนี้ และความสามารถในการหากำไรของบริษัทปูนซีเมนต์ที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาและตัดสินใจลงทุนในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บริษัทปูนซีเมนต์ที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 4 บริษัท คือ บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) บริษัทชลประทานซีเมนต์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัททีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) โดยรวบรวมข้อมูลจากงบการเงินของบริษัทดังกล่าว ระหว่างปี พ.ศ.2536 – 2541 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์อัตราร้อยละและการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน ผลการวิจัยมีดังนี้ คือ 1) แหล่งที่มาของเงินทุนส่วนใหญ่มาจากกู้ยืม ซึ่งเป็นเงินกู้ระยะยาว รองลงมา คือ หนี้สินหมุนเวียน และส่วนของผู้ถือหุ้น แหล่งที่ใช้ไปของเงินส่วนใหญ่นำไปลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ได้แก่ ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ รองลงมา คือ สินทรัพย์หมุนเวียน เงินลงทุนและเงินให้กู้ยืมของกิจการที่เกี่ยวข้องจากการวิเคราะห์อัตราร้อยละของงบการเงินพบว่า มีการนพเงินลงทุนจากแหล่งเงินลงทุนระยะสั้นไปลงทุนสินทรัพย์ถาวร ทำให้เกิดความไม่สัมพันธ์กันของระยเวลาที่จะชำระหนี้คืน 2) สำหรับการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน ปรากฏว่าในช่วงระยะเวลาก่อนใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวปี พ.ศ.2536 – 2539 พบว่า - การวิเคราะห์สภาพคล่องมีแนวโน้วสูงขึ้นและลดลงในปี พ.ศ.2539 - การวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์มีแน้วโน้มลดลง และสุงขึ้นในปี พ.ศ. 2539 - การวิเคราะห์ความสามารถในการก่อหนี้มีแน้วโน้มสูงขึ้น - การวิเคราะห์ความสามารถในการหากำไรมีแนวโน้มลดลงในช่วงระเวลาหลังใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวในปี พ.ศ. 2540 – 2541 ผลการวิเคราะห์เป็น ดังนี้ - การวิเคราะห์สถาพคล่องมีแนวโน้มลดลง - การวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์มีแน้วโน้มลดลง - การวิเคราะห์ความสามารถในการก่อหนี้มีแน้วโน้มสูงขึ้น - การวิเคราะห์ความสามารถในการหากำไรในปี พ.ศ.2540 ลดต่ำลงอย่างมากจนเกิดผลขาดทุน และในปี พ.ศ.2541 ความสามารถในการหากำไรสูงขึ้น จากการวิเคราะห์ทางการเงินพบว่า อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์เป็นอุตสาหกรรมที่น่าลงทุน เนื่องจากยังมีแน้วโน้มที่จะหากำไรได้ พิจารณาได้จากอัตราส่วนกำไรสุทธิต่อค่าขาย อัตราผลตอบแทนจาการลงทุนลัอัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้นที่สูงขึ้นในปี พ.ศ.2541 ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ปริมาณการส่งออกปูนซีเมนต์ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมนี้มีแนวโน้มที่ดีในอนาคต | th_TH |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7152 | |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.subject | การวิเคราะห์ทางการเงิน | th_TH |
dc.title | การวิเคราะห์ทางการเงินของบริษัทผลิตปูนซีเมนต์ที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย | th_TH |
dc.type | Thesis | th_TH |