ปัญหาการกำหนดโทษทางอาญา: ศึกษากรณีการยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2556-10-16T02:23:32Z

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

เชิงนามธรรม

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัญหาการกำหนดโทษทางอาญา โดยศึกษา กรณีการยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 เนื่องจากสำนักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกาซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 โดยเตรียมการยกเลิกกฎหมายว่าด้วยความผิด อันเกิดจากการใช้เช็ค โดยมีแนวคิดว่า ปัจจุบันธุรกิจการเงินการธนาคารมีความเจริญก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ธนาคารสามารถตรวจสอบข้อมูลของผู้ใช้เช็คได้อย่างรวดเร็วและ สมบูรณ์ จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในเช็คอีกต่อไป จากการศึกษาศึกษาโดยค้นคว้าจากเอกสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ตำรา กฎหมาย ตัวบทกฎหมาย บทความทางวิชาการ พบว่า ไม่สมควรยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วย ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 แต่ควรแก้ไขเพิ่มเติมโดยการกำหนดโทษทางอาญาใหม่ เพราะพระราชบัญญัติดังกล่าวยังคงความน่าเชื่อถือในการใช้เช็คต่อวงการธุรกิจการค้าอยู่ หากมีการ ยกเลิกความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คในทางอาญา โดยมีเพียงความรับผิดทางแพ่งแต่เพียงลำพังก็ อาจทำให้ผู้เสียหายได้รับการชำระหนี้ที่ล่าช้าออกไป และที่สำคัญประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายอื่น หรือมาตรการอื่นเข้ามารองรับการใช้เช็คได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงอาจทำให้เช็คขาดความ น่าเชื่อถือและเป็นเหตุให้ผู้สั่งจ่ายหรือผู้ออกเช็คไม่มีความเกรงกลัวต่อการกระทำผิด ซึ่งจะทำให้ไม่ บรรลุวัตถุประสงค์ของการใช้เช็คที่ต้องการให้สาธารณชนเกิดความมั่นใจในการรับเช็ค สำหรับการทำธุรกรรมทางการค้าอันเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้เช็คเป็นตราสารในการชำระหนี้แทนเงิน สด ผู้วิจัยจึงเห็นว่า เพื่อเป็นการบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 ให้เหมาะสม และเป็นการลดปัญหาในการกำหนดโทษทางอาญาเกี่ยวกับเช็ค จึงควรมีการ พิจารณาแก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 โดยการยกเลิกโทษ จำคุกในมาตรา 4 กรณีที่กฎหมายมิได้บัญญัติถึงเจตนาทุจริตของผู้กระทำความผิด เนื่องจากมาตรา 4 (2) ถึง (4) อาจเป็นเหตุให้ผู้ออกเช็คที่มิได้มีเจตนาทุจริตที่จะไม่ใช้เงินตามเช็ค แต่อาจเกิดจาก สภาวะทางเศรษฐกิจขาดสภาพคล่องหรือความจำเป็นในทางธุรกิจบางประการของผู้ออกเช็ค เช่น ประสบปัญหากิจการขาดทุน ทำให้ไม่สามารถใช้เงินตามเช็คได้ ต้องรับโทษทางอาญา แต่ควรคง โทษจำคุกกรณีที่มีเจตนาในการกระทำความผิด และกำหนดโทษปรับให้มีจำนวนที่สูงขึ้น โดยต้อง ระวางโทษปรับตามจำนวนเงินที่สั่งจ่ายตามเช็ค อีกทั้งควรมีมาตรการเสริมโดยกำหนดให้มีเบี้ยปรับ ในทางแพ่งในการทำสัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน เมื่อเช็คถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน เพื่อให้ บรรลุวัตถุประสงค์ในการสร้างความน่าเชื่อถือในการใช้เช็ค และให้การกระทำความผิดเกี่ยวกับเช็ค มีจำนวนลดน้อยลง

คำอธิบาย

นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

คำหลัก

การกำหนดโทษทางอาญา, การยกเลิกพระราชบัญญัติ, ความผิดจากการใช้เช็ค

การอ้างอิง