มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินตามมาตรา 13 ของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินพ.ศ.2542 : ศึกษาเฉพาะกรณีการควบคุมการฟอกเงินในการทำธุรกรรมกับธนาคารพาณิชย์
dc.contributor.author | นันทชัย คำกิ่ง | |
dc.date.accessioned | 2551-07-04T03:59:23Z | |
dc.date.available | 2551-07-04T03:59:23Z | |
dc.date.issued | 2551-07-04T03:59:23Z | |
dc.description.abstract | จากการศึกษา เรื่อง มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินตามมาตรา 13 ของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 : ศึกษาเฉพาะกรณีการควบคุมการฟอกเงินในการทำธุรกรรมกับธนาคารพาณิชย์ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อศึกษาประวัติวิวัฒนาการ แนวคิด รูปแบบการฟอกเงิน ทฤษฏีของพระราชบัญญัติการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 รวมถึงวิเคราะห์ถึงบทบาทและหน้าที่ของธนาคารพาณิชย์ และวิธีการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมเงินสด ธุรกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สิน และธุรกรรมอันน่าสงสัย ของธนาคารพาณิชย์ ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า แหล่งที่มาของเงินหรือทรัพย์สินที่ถูกนำมาทำให้สะอาด สถานที่สำหรับการฟอกเงิน และรูปแบบการฟอกเงินมีความหลากหลายมากขึ้นตามการพัฒนาสังคม โดยสถานที่เหมาะแก่การทำธุรกรรมเพื่อฟอกเงินก็คือ ธนาคารพาณิชย์ โดยธนาคารพาณิชย์เป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญในการควบคุมตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 13 ธุรกรรมที่สถาบันการเงินต้องรายงานต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (1) ธุรกรรมที่ใช้เงินสดมีจำนวนเกินกว่าที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง (2) ธุรกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่มีมูลค่าเกินกว่าที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง หรือ (3) ธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นธุรกรรมตาม (1) หรือ (2) หรือไม่ก็ตาม มาตรการการควบคุมการฟอกเงิน ทั้งสามมาตรการสกัดกั้นมิให้มีการเปลี่ยนสภาพเงินหรือทรัพย์สิน ที่ได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือไม่สุจริต ให้กลายเป็นเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาโดยถูกกฎหมายหรือพิสูจน์ไม่ได้ว่า เป็นการได้เงินหรือทรัพย์สินนั้นมาโดยทุจริตโดยมีหลักเกณฑ์ที่สำคัญ คือ กำหนดให้การฟอกเงินเป็นความผิดทางอาญา และกำหนดให้ธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ มีหน้าที่ต้องรายงานการเคลื่อนไหวของธุรกรรม ตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 อีกทั้งยังเป็นมาตรการในการช่วยยับยั้งการฟอกเงินได้ด้วย จึงกำหนดให้สถาบันการเงินและบุคคลที่เกี่ยวข้อง มีหน้าที่ต้องรายงานการทำธุรกรรม และการแสดงตนของลูกค้า เพื่อเป็นการทำความรู้จักกับลูกค้าของตนให้ดี และวัตถุประสงค์ที่สำคัญนั้นก็เพื่อให้สถาบันการเงิน ใช้มาตรการที่สมเหตุสมผลในการตรวจสอบข้อมูลที่แท้จริง เกี่ยวกับตัวลูกค้า รวมทั้งหลีกเลี่ยงไม่ให้มีการใช้บัญชีที่ไม่มีชื่อ หรือบัญชีชื่อปลอม หรือบัญชีที่ไม่ระบุชื่อของเจ้าของอย่างแท้จริง อันจะเป็นช่องว่างในการฟอกเงินได้ โดยการกำหนดให้สถาบันการเงินนั้น ต้องมีหน้าที่ในการรายงานธุรกรรมนั้น ถือว่าเป็นการควบคุมการทำธุรกรรมโดยมีหลักเกณฑ์ที่กำหนดเบื้องต้นนั้นเป็นการใช้มูลค่าของธุรกรรมข้อแรก กล่าวคือสถาบันการเงินนั้น มีหน้าที่ต้องรายงานธุรกรรม ต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เมื่อมีการทำธุรกรรมของลูกค้าในสถาบันการเงิน ในรูปแบบต่าง ๆ นอกเหนือจากการทำรายงานงบการเงินต่อธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นหน้าที่อันพึงต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน เงินทุนหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ หรือกฎหมายอื่นใดที่เป็นธุรกิจเกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินนั้น | en_US |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1195 | |
dc.subject | กฎหมาย | en_US |
dc.subject | การฟอกเงิน | en_US |
dc.subject | พระราชบัญญัติ | en_US |
dc.subject | ธุรกรรม | en_US |
dc.subject | ธนาคารพาณิชย์ | en_US |
dc.subject | สถาบันการเงิน | en_US |
dc.title | มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินตามมาตรา 13 ของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินพ.ศ.2542 : ศึกษาเฉพาะกรณีการควบคุมการฟอกเงินในการทำธุรกรรมกับธนาคารพาณิชย์ | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
ไฟล์
ชุดต้นฉบับ
1 - 5 ของ 11
มัดใบอนุญาต
1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
- ชื่อ:
- license.txt
- ขนาด:
- 1.72 KB
- รูปแบบ:
- Item-specific license agreed upon to submission
- คำอธิบาย: