ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อจริยธรรม และความมั่นคงปลอดภัยทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในบริบทของประเทศไทย 4.0: กรณีศึกษา สถาบันอุดมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล

เชิงนามธรรม

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ที่สามารถจำแนกปัจจัยออกได้เป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ความ เข้าใจเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์ และสื่อสังคมออนไลน์ ผลการวิจัยสรุปว่า ภาพรวมของปัจจัยที่มีมีผลกระทบต่อจริยธรรม และความความมั่นคง ปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.72 โดยด้านที่มี ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ พฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์และสื่อสังคมออนไลน์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 อยู่ใน ระดับมาก แสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมการเรียนรู้ของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไป ด้วยการหันมาใช้ คอมพิวเตอร์และสื่อสังคมออนไลน์กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Google Facebook Line YouTube รองลงมาเป็นด้านสังคม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.96 อยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน ด้วยการใช้สื่อออนไลน์ สร้างการมีปฎิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น รวมทั้งด้านบันเทิง เช่น การชมภาพยนตร์และวิดีโอออนไลน์ ส่วน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่าที่สุด คือ ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.14 อยู่ในระดับปานกลาง อันเป็นการบ่งชี้ว่า ผู้คนส่วนหนึ่งยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์

คำอธิบาย

สุพล พรหมมาพันธุ์.ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อจริยธรรม และความมั่นคงปลอดภัยทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในบริบทของประเทศไทย 4.0: กรณีศึกษา สถาบันอุดมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. งานวิจัยนี้ ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยศรีปทุม ปีการศึกษา 2560.

คำหลัก

จริยธรรมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ, ประเทศไทย 4.0, ความมั่นคงปลอดภัย, การขโมยอัตลักษณ์, อาชญากรรมคอมพิวเตอร์

การอ้างอิง

สุพล พรหมมาพันธุ์. 2562. "ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อจริยธรรม และความมั่นคงปลอดภัยทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในบริบทของประเทศไทย 4.0 : กรณีศึกษา สถาบันอุดมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล." ผลงานวิจัย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

คอลเลคชัน