INF-06. ผลงานวิจัย

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 10 ของ 10
  • รายการ
    ระบบแชทบอทอัจฉริยะเพื่อการให้คำปรึกษาทางการเรียน กรณีศึกษาคณะวิชาของมหาวิทยาลัยศรีปทุม
    (Sripatum University, 2566) พิรพัฒน์ จันทร
    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาระบบแชทบอทอัจฉริยะสำหรับให้คำปรึกษาทางการเรียนของนักศึกษาในคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และ(2) เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลความรู้เฉพาะทางด้านการให้คำปรึกษาทางการเรียนเพื่อใช้สนับสนุนการทำงานระบบแชทบอทอัตโนมัติ โดยการพัฒนาระบบแชทบอทอัตโนมัติ สามารถแบ่งออก 3 ส่วน ได้แก่ (1) ส่วนของการเก็บข้อมูลคำถามและคำตอบของแต่ละหน่วยงานที่เคยให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาในปีที่ผ่านมาเป็นต้นแบบในการตอบคำถามอัตโนมัติ ด้วยแอปพลิเคชันกูเกิลชีต (Google sheet) (2) ส่วนการพัฒนาส่วนติดต่อผู้ใช้งาน (User Interface) ผ่านแอปพลิเคชันไลน์ด้วยการเขียนโปรแกรมเพื่อเชื่อมต่อระหว่างแอปพลิเคชันไลน์ (Line Application) กับแอปพลิเคชันกูเกิลชีต และ(3) ส่วนของการสอนให้แชทบอทเรียนรู้ด้วยภาษาแอปสคลิปต์ (App Script) ภาษาเจสัน (JSON) และภาษาพีเอชพี
  • รายการ
    การพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับโดยใช้สัญญาอัจฉริยะในโดเมนคุณวุฒิการศึกษา
    (Sripatum University, 2566) ชัชวาลย์ วรวิทย์รัตนกุล
    ในยุคดิจิทัล การตรวจสอบย้อนกลับเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการสร้างความไว้วางใจในการใช้ข้อมูล ทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และการศึกษา งานวิจัยนี้ใช้เทคโนโลยีสัญญาอัจฉริยะอีเธอเรียมเพื่อสร้างระบบตรวจสอบย้อนกลับในโดเมนคุณวุฒิการศึกษา ที่นำไปสู่การสร้างความโปร่งใสและถูกต้องตามกฎหมายสำหรับเอกสารรับรองทางการศึกษา ทั้งนี้สถาปัตยกรรมการทำงานของระบบได้ถูกออกแบบให้เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างแพลตฟอร์มการทำงานอีเธอเรียมสัญญาอัจฉริยะกับ IPFS ซึ่งทำหน้าที่บันทึกและแลกเปลี่ยนเอกสารรับรองทางการศึกษา โดยงานวิจัยนี้ได้กำหนดโซ่อุปทานของหนังสือรับรองการศึกษาในสามระดับ ได้แก่ ระดับมัธยมศึกษา ระดับอาชีวศึกษาและ ระดับอุดมศึกษา ผลการวิจัยพบว่าระบบตรวจสอบย้อนกลับคุณวุฒิการศึกษาสามารถแก้ปัญหาเรื่องความโปร่งใส การปลอมแปลงคุณวุฒิการศึกษาได้อยู่ในระดับดีมาก
  • รายการ
    ระบบสมองกลฝังตัวเพื่อการประหยัดพลังงานเครื่องปรับอากาศชนิดแยกส่วน โดยการตรวจสอบสภาวะอิ่มตัวของอุณหภูมิลมจ่ายออก
    (Sripatum University, 2560) สุรชัย ทองแก้ว
    แนวคิดของงานวิจัยนี้คือการพัฒนาระบบสมองกลฝังตัวเพื่อประหยัดพลังงานเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนด้วยการควบคุมความเย็นสะสมของลมจ่ายออก โดยระบบสมองกลฝังตัวที่นำเสนอประกอบด้วย ไมโครคอนโทรลเลอร์ เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและรีเลย์ควบคุม Compressor ซึ่งการควบคุมการทำงานของ Compressor นั้นจะมีอัลกอริทึมในการตัดสินใจปิด Compressor โดยการใช้ค่าความเย็นสะสมที่ลมจ่ายออกของเครื่องปรับอากาศเป็นตัวชี้วัดในการควบคุม หากความเย็นสะสมที่ Evaporator ถึงจุดอิ่มตัว ไมโครคอนโทรลเลอร์จะสั่งให้ Compressor หยุดทำงาน จากนั้นความเย็นสะสมอิ่มตัวจะถูกจ่าย ออกเพื่อลดอุณหภูมิห้อง
  • รายการ
    แบบจำลองการตรวจสอบการทุจริตสำหรับข้อมูลที่ไม่สมดุล โดยใช้เทคนิคการลดมิติข้อมูลร่วมกับการเรียนรู้ของเครื่อง
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) นิเวศ จิระวิชิตชัย
    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองการตรวจสอบการทุจริตสำหรับข้อมูลที่ไม่สมดุลโดยใช้เทคนิคการลดมิติข้อมูลร่วมกับการเรียนรู้ของเครื่อง เพื่อการจำแนกธุรกรรมที่มีความผิดปกติ(Fraud Detection) และหาความสัมพันธ์ของกลุ่มธุรกรรมผิดปกติเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากธุรกรรมที่ทุจริตในระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  • รายการ
    ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อจริยธรรม และความมั่นคงปลอดภัยทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในบริบทของประเทศไทย 4.0: กรณีศึกษา สถาบันอุดมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
    (Sripatum University, 2562) สุพล พรหมมาพันธุ์
    งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ที่สามารถจำแนกปัจจัยออกได้เป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ความ เข้าใจเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์ และสื่อสังคมออนไลน์ ผลการวิจัยสรุปว่า ภาพรวมของปัจจัยที่มีมีผลกระทบต่อจริยธรรม และความความมั่นคง ปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.72 โดยด้านที่มี ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ พฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์และสื่อสังคมออนไลน์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 อยู่ใน ระดับมาก แสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมการเรียนรู้ของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไป ด้วยการหันมาใช้ คอมพิวเตอร์และสื่อสังคมออนไลน์กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Google Facebook Line YouTube รองลงมาเป็นด้านสังคม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.96 อยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน ด้วยการใช้สื่อออนไลน์ สร้างการมีปฎิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น รวมทั้งด้านบันเทิง เช่น การชมภาพยนตร์และวิดีโอออนไลน์ ส่วน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่าที่สุด คือ ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.14 อยู่ในระดับปานกลาง อันเป็นการบ่งชี้ว่า ผู้คนส่วนหนึ่งยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์
  • รายการ
    การเปรียบเทียบวิธีการคัดเลือกคุณลักษณะที่สำคัญในการปรับปรุง การพยากรณ์มะเร็งเต้านม
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) อัจจิมา มณฑาพันธุ์
    งานวิจัยนี้ได้ศึกษาเกี่ยวกับการเปรียบเทียบวิธีการคัดเลือกคุณลักษณะที่สำคัญในการปรับปรุงการพยากรณ์มะเร็งเต้านม มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะหาเทคนิคการคัดเลือกคุณลักษณะที่สำคัญเพื่อนามาใช้พยากรณ์มะเร็งเต้านม โดยใช้วิธีการคัดเลือกคุณลักษณะจากเทคนิคต่างๆจำนวน 7 เทคนิค ได้แก่ เทคนิค Correlation Based Feature Selection เทคนิค Information Gain (IG) เทคนิค Gain Ratio (GR) เทคนิค Chi-Square เทคนิค Forward Selection เทคนิค Backward Elimination และเทคนิค Evolutionary Selection นำผลที่ได้จากแต่ละเทคนิคมาคำนวณหาค่าประสิทธิภาพในการทำนายการเป็นมะเร็งเต้านม ผลการทดลองพบว่าเทคนิค Evolutionary Selection ได้ผลดีที่สุดจากจำนวน 7 เทคนิค จากจำนวนคุณลักษณะของข้อมูลทั้งหมด 30 คุณลักษณะ เทคนิค Evolutionary Selection สามารถลดคุณลักษณะที่สาคัญเหลือเพียง 16 คุณลักษณะ ซึ่งให้ผลการวัดค่าความถูกต้องในการพยากรณ์ได้ดีถึง 95.26%
  • รายการ
    ความรู้พื้นฐานและทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) พันธิการ์ วัฒนกุล; สุรศักดิ์ มังสิงห์
    ปัจจุบันวิถีโลกได้ถูกปรับเปลี่ยนตามสภาพกาลเวลาด้วยความรู้และนวัตกรรมเทคโนโลยีอันทันสมัยการเรียนรู้เป็น กระบวนการที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตที่อาจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองจากธรรมชาติ ครอบครัว สังคมและสิ่งแวดล้อมต่างๆที่ส่งเสริมต่อการเรียนรู้ เมื่อเกิดการเรียนรู้จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านความรู้ ความเข้าใจ ความคิด อารมณ์ ทัศนคติ ความชำนาญและทักษะ องค์กรด้านการศึกษาและนักวิชาการได้ตระหนักถึงความสำคัญขององค์ความรู้หลักและทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิตและการเรียนในยุคศตวรรษที่ 21 ด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บทความนี้ได้นำเสนอผลการเปรียบเทียบแนวความคิดขององค์กรด้านการศึกษาและนักวิชาการในประเด็นทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21 และผลการเปรียบเทียบพบว่าทักษะด้านข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีมีความสำคัญเป็นอันดับต้น
  • รายการ
    การใช้ตำแหน่ง 2 ตำแหน่งในการพิสูจน์ตัวตนโดยใช้สัญญาณคลื่นสมองช่วงเดลต้า
    (Sripatum University, 2561) ปรีชา ตั้งเกรียงกิจ
    งานวิจัยนี้ได้ศึกษาถึงเรื่องการพิสูจน์ตัวตนโดยใช้คลื่นสมองช่วงเดลต้ามาศึกษา มีจุดประสงค์เพื่อที่จะใช้ตำแหน่งเพียง 2 ตำแหน่งของคลื่นสมองในการพิสูจน์ตัวตน จากหลักการของโครงข่ายประสาทแบบมีการสอน (Supervised neural network) จำนวนคุณสมบัติที่น้อยลง ทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ดังนั้นวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือการศึกษาประสิทธิภาพการใช้ตำแหน่งคลื่นสมองในการพิสูจน์ตัวตน 2 ตำแหน่ง โดยใช้คลื่นสมองช่วงเดลต้าของผู้ทดลอง 40 คน มีการใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบอิสระ (ICA) โดยวิธี SOBIRO ในการแยกสัญญาณรบกวนออกจากสัญญาณคลื่นสมองของแต่ละบุคคลและคัดแยกคลื่นสมองโดยใช้ช่วงที่มีความถี่ต่ากว่า 4 เฮิรตซ์มาทดสอบ ใช้เทคนิคของโครงข่ายประสาทเทียมในการพิสูจน์ตัวตนของบุคคล 40 คน โดยมีการเปลี่ยนค่าจำนวนเซลล์ประสาทในชั้นข้อมูลแอบแฝง (Hidden layer) ตั้งแต่ 5-26 เซลล์เพื่อหาค่าที่เหมาะสม ในการหาตำแหน่ง 2 ตำแหน่งที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการพิสูจน์ตัวตน
  • รายการ
    การสร้างแบบจำลองเพื่อทำนายเส้นทางโคจรของรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีการขับเคลื่อนผ่านเส้นแบ่งเลนที่เป็นเส้นตรงและโค้งโดยใช้ตัวกรองคาลมาน
    (คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ชฎาพร เกตุมณี
    เนื่องจากมีผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บเพิ่มขึ้นทุกๆปีจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ จึงทำให้มีผู้วิจัยเป็นจำนวนมากให้ความสนใจในการพัฒนาระบบการขนส่งและจราจรอัจฉริยะ (ITS) การวิจัยชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาระบบตรวจจับเลนที่ใช้ระบบ Machine vision และเซ็นเซอร์แบบต่างๆ ในการตรวจจับเส้นแบ่งเลนในทุกขณะการขับเคลื่อนของรถยนต์ ซึ่งมักจะได้รับผลกระทบจากสัญญาณรบกวนที่เกิดจากสภาพแวดล้อม เช่น ฝนตก หมอก หรือแม้กระทั่งเงาของเสาไฟฟ้า เพื่อทำให้ข้อมูลที่ได้จากระบบตรวจจับเส้นเลนมีความถูกต้องแม่นยำและสามารถนำไปใช้ในระบบขับขี่อัตโนมัติ หรือระบบผู้ช่วยคนขับต่อไปได้ บทความการวิจัยชิ้นนี้ได้นำเสนอแนวคิดในการออกแบบจำลองที่มีความเที่ยงตรงเพื่อใช้ในการทำนายเส้นวงโคจรของรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีการขับเคลื่อนผ่านเส้นแบ่งเลนที่เป็นเส้นตรงและโค้งโดยใช้ตัวกรองคาลมาน ซึ่งแตกต่างจากการวิจัยก่อนหน้านี้ที่นิยมสร้างแบบจำลองสำหรับการขับเคลื่อนผ่านเส้นแบ่งเลนที่เป็นเส้นตรงเพียงอย่างเดียว ซึ่งแบบจำลองทางคณิตศาสตร์นี้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในระบบตรวจจับเลนที่มีสัญญาณรบกวนหรือการขาดหายไปของข้อมูลโดยใช้ตัวกรองคาลมาลเป็นอัลกอริทึมในการลดสัญญาณรบกวนและเพิ่มความถูกต้องแม่นยำของข้อมูล
  • รายการ
    การวิเคราะห์เปรียบเทียบการระบุตัวตน โดยการใช้ลักษณะเฉพาะทางกายภาพของร่างกาย
    (Sripatum University, 2560) อัจจิมา มณฑาพันธ์ุ
    วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้เพื่อให้ทราบถึงความแตกต่างระหว่างการระบุตัวตนโดยการใช้คุณลักษณะเฉพาะทางกายภาพของร่างกายในแต่ละประเภท ทาการวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียในหลากหลายมุมมอง เช่น วิเคราะห์เปรียบเทียบความแพร่หลายในการใช้งาน ความคงทนถาวร ความง่ายต่อการเก็บข้อมูล สมรรถนะการทำงาน การได้รับการยอมรับ ความยากในการปลอมแปลง และค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมทั้งวิเคราะห์การระบุตัวตนแบบใหม่ที่อยู่ในระหว่างการวิจัยและมีแนวโน้มจะนำมาใช้ในอนาคต โดยทำการศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสาร บทความ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปผลการวิเคราะห์ ข้อดี ข้อเสียคุณลักษณะสาคัญของการระบุตัวตนด้วยชีวมาตรแต่ละประเภท This study aimed to verify an identity authentication by examining various parts of the body. Both strong and weak points of the authentication should be examined such as universality, permanence, the ease of collecting data, performance, acceptance, difficulty in information duplication as well as low cost verification. This paper also included new authentication method being researched which would be further useful. Relevant information from documents, articles and researches had been gathered then analyzed and synthesized. Both strong and weak points of major feature in applying biometric identifier were also provided.