ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการทำธุรกิจสถานรับดูแลผู้สูงอายุ

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2552-08-28T08:23:42Z

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

เชิงนามธรรม

ด้วยสภาพของสังคมในปัจจุบันมีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต กล่าวคือ แต่เดิมในการดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวไม่ว่าจะเป็นบิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ก็จะได้รับการดูแลเลี้ยงดูจากบุตรหลานเป็นอย่างดี จนกระทั่งกลายเป็นวัฒนธรรมที่ดีงาม ส่วนผู้ที่ดูแลเลี้ยงดูบุคคลดังกล่าวก็จะได้รับการยกย่องว่าเป็นบุตรที่ดี มีความกตัญญูกตเวที ผลของอิทธิพลทางวัฒนธรรมดังกล่าวก็ทำให้มีการบัญญัติกฎหมายแพ่งขึ้นอย่างสอดคล้องกัน โดยได้กำหนดว่าบิดามารดามีหน้าที่ให้การอุปการะเลี้ยงดูบุตร ส่วนบุตรก็มีหน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาดุจเดียวกัน แต่เมื่อสภาพของสังคมมีความเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตร ไปเป็นสังคมอุตสาหกรรม บุตรหลานที่เข้าสู่วัยทำงานก็จะออกจากบ้านเข้าสู่เมืองอุตสาหกรรมเพื่อทำงาน ปล่อยให้บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ที่เป็นผู้สูงอายุอยู่บ้านโดยลำพังปราศจากผู้ดูแล และถูกทอดทิ้ง ซึ่งการดูแลผู้สูงอายุในปัจจุบันจึงมีทั้งการดูแลในสถาบันครอบครัว องค์กรธุรกิจภาคเอกชน และหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ดูแล สำหรับการดูแลผู้สูงอายุโดยหน่วยงานของรัฐนั้น แม้ว่ารัฐจะไม่มีหน้าที่โดยเฉพาะเจาะจง ในการดูแลผู้สูงอายุก็ตาม แต่การดูแลให้การช่วยเหลืออุปการะผู้สูงอายุ ถือว่าเป็นสวัสดิการอย่างหนึ่งที่รัฐจะต้องจัดให้มีขึ้น แต่ด้วยค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุนั้นมีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งมีไม่เพียงพอต่อการให้บริการแก่ผู้สูงอายุได้อย่างทั่วถึง ขาดประสิทธิภาพ และผู้สูงอายุบางส่วนไม่อาจเข้าถึงการให้บริการได้ จากสภาพปัญหาดังกล่าวจึงทำให้เกิดธุรกิจสถานรับดูแลผู้สูงอายุ โดยองค์กรธุรกิจภาคเอกชนขึ้น โดยเข้ามาให้บริการกับผู้สูงอายุที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี ทั้งนี้ในการดูแลผู้สูงอายุโดยองค์กรภาคเอกชนโดยทั่วไปแล้ว จะมีลักษณะของการให้บริการแบ่งเป็น 2 ประเภท คือการรับดูแลผู้สูงอายุ เข้าดูแลในสถานประกอบการ และกรณีการจัดหาหรือส่งพนักงานไปดูแลผู้สูงอายุตามบ้านพัก ด้วยเหตุที่เป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นใหม่จึงส่งผลทำให้เกิดปัญหาการบังคับตามสัญญา ปัญหาภาระการพิสูจน์ความเสียหายที่เกิดจากการทำธุรกิจ ปัญหาการควบคุม กำกับดูแลการประกอบธุรกิจ และปัญหาเกี่ยวกับบทลงโทษ ที่เป็นมาตรการในการควบคุมภาคเอกชนในการการเข้ามาดำเนินธุรกิจสถานรับดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ โดยหลักแล้วเกิดจากการไม่มีกฎหมายเฉพาะ และขณะเดียวกันกฎหมายที่มีอยู่ยังไม่ครอบคลุมถึงการประกอบธุรกิจในลักษณะเช่นนี้ ฉะนั้นเพื่อให้ปัญหาเหล่านี้ได้รับการแก้ไข จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการที่จะมีกฎหมาย เฉพาะสำหรับการประกอบธุรกิจสถานรับดูแลผู้สูงอายุขึ้น เพื่อสนับสนุน รองรับ การทำธุรกิจสถานรับดูแลผู้สูงอายุให้มีประสิทธิภาพ มีมาตรฐานสากล และนำไปสู่การพัฒนาเป็นเกณฑ์มาตรฐานในประเทศไทยต่อไป

คำอธิบาย

คำหลัก

กฎหมาย, ธุรกิจ, สถานรับดูแล, ผุ้สูงอายุ

การอ้างอิง