ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการประกันวินาศภัย

dc.contributor.authorสุภัค ชายผาth_TH
dc.date.accessioned2565-10-07T04:16:50Z
dc.date.available2022-10-07T04:16:50Z
dc.date.issued2565
dc.description.abstractประกันวินาศภัยมีความสำคัญอย่างมากในชีวิตประจำวันเนื่องจากเป็นสัญญาที่รับประกันความเสี่ยงภัยที่เกิดขึ้นต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินโดยสัญญาประกันวินาศภัยหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “กรมธรรม์ประกันวินาศภัย” สารนิพนธ์ฉบับนี้ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันวินาศภัย สัญญาประกันภัย และกรมธรรม์ประกันภัย พบว่า ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มีการบัญญัติบทกำหนดในอัตราที่เบาทำให้ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติฯ ไม่เกิดความเกรงกลัวต่อกฎหมายในเรื่องของการประวิงสินไหมค่าทดแทนของผู้รับประกันภัยอันส่งผลกระทบต่อผู้เอาประกันภัย และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในส่วนของการคืนเบี้ยประกันภัยตามกรณี การทำประกันภัยหลายรายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ยังไม่มีการบัญญัติไว้ชัดเจนว่า ผู้เอาประกันภัยสามารถขอคืนเบี้ยประกันภัยกรณีประกันภัยหลายรายได้หรือไม่ อย่างไร รวมทั้งในเรื่องของรูปแบบของสัญญาหรือกรมธรรม์ประกันวินาศภัยกรณีสัญญาประกันวินาศภัยหรือกรมธรรม์ประกันวินาศภัยสำเร็จรูป โดยรูปแบบของสัญญาอาจไม่เป็นธรรมต่อผู้เอาประกันวินาศภัยโดยมีปัญหาดังต่อไปนี้ ประเด็นแรก ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายการประวิงค่าสินไหมทดแทนกรณีประกันวินาศภัย ประเด็นที่สองปัญหาการบังคับใช้กฎหมายการคืนเบี้ยประกันภัยของการทำประกันภัยซ้ำซ้อน ประเด็นที่สาม ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายของประกันวินาศภัยกรณีสัญญาประกันวินาศภัยหรือกรมธรรม์ประกันวินาศภัยไม่เป็นธรรม ผู้วิจัยจึงเห็นควรให้ประเทศไทยมีการพิจารณา ปรับปรุง แก้ไข หลักเกณฑ์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำกับ ควบคุม ดูแลธุรกิจประกันภัยให้ครอบคลุมและมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นซึ่งหากหลักเกณฑ์และกฎหมายในประเทศไทย ยังไม่ได้มีการดำเนินการปรับปรุง แก้ไขในส่วนของมาตรการการควบคุม กำกับ ดูแล และบทกำหนดโทษที่ชัดเจนเอาไว้อันจะก่อให้เกิดผลเสียต่อผู้บริโภคหรือผู้เอาประกันภัย ซึ่งเป็นสาเหตุอันจะนำไปสู่ประเด็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคได้เนื่องจากสัญญากรมธรรม์ที่ทำขึ้นระหว่างผู้รับประกันภัยกับผู้เอาประกันภัยเป็นสัญญาอันไม่เป็นธรรมและผู้บริโภคเกิดความเสียหายในการที่ทำกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว และส่งผลทำให้ธุรกิจประกันภัยในประเทศไทยคอยได้รับผลกระทบไปด้วย เนื่องจากไม่มีผู้บริโภคต้องการที่จะซื้อกรมธรรม์ประกันภัยโดยผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้ 1) ควรทบทวน แก้ไข เพิ่มเติมหลักเกณฑ์ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประกันวินาศภัย 2) ควรทบทวน แก้ไข เพิ่มเติม หลักเกณฑ์ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย จะเห็นได้ว่า บทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในการคืนเบี้ยของประกันยังมีความไม่ชัดเจนว่าผู้เอาประกันภัยจะสามารถเรียกเบี้ยประกันภัยคืนได้หรือไม่ หรือกรณีอย่างไรบ้างที่จะได้รับ หรือไม่ได้รับเบี้ยประกันภัยคืนบ้าง 3) ควรทบทวน แก้ไข เพิ่มเติม หลักเกณฑ์ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสัญญาประกันภัยที่ใช้บังคับภายในประเทศไทย โดยเปรียบเทียบกับประมวลกฎหมายพาณิชย์ของประเทศสหรัฐอเมริกา ในหลักของความไม่ยินยอมร่วมกันแล้วth_TH
dc.description.sponsorshipSripatum Universityth_TH
dc.identifier.citationสุภัค ชายผา. 2565. “ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการประกันวินาศภัย.” สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.th_TH
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8485
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมth_TH
dc.subjectธุรกิจประกันภัยth_TH
dc.titleปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการประกันวินาศภัยth_TH
dc.title.alternativePROBLEMS OF LAW ENFORCEMENT OF CASES RELATED TO NON-LIFE INSURANCEth_TH
dc.typeThesisth_TH

ไฟล์

ชุดต้นฉบับ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 5 ของ 11
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
01-หน้าปก-.pdf
ขนาด:
46.43 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
02. บทคัดย่อไทย-อังกฤษ-.pdf
ขนาด:
284.93 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
03-กิตติกรรมประกาศ-.pdf
ขนาด:
68.61 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
04-สารบัญ.pdf
ขนาด:
115.52 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
05-บทที่1 -.pdf
ขนาด:
434.69 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
มัดใบอนุญาต
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
license.txt
ขนาด:
1.71 KB
รูปแบบ:
Item-specific license agreed upon to submission
คำอธิบาย: