พลิกฟื้นคุณค่าพื้นที่ย่านตลาดพลูด้วยทุนทางวัฒนธรรม

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2566-06-22

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

เชิงนามธรรม

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทุนทางวัฒนธรรมของพื้นที่ย่านตลาดพลู และสร้างการรับรู้คุณค่าของผู้คน อาหาร สถานที่ อันเป็นมรดกวัฒนธรรมย่านตลาดพลูในช่องทางการรับรู้สาธารณะ และการสร้างประสบการณ์การรับรู้แบบใหม่ในย่าน โดยผ่านสื่อดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพื่อสร้างโอกาสและพัฒนาผู้ประกอบการในกลุ่มคนรุ่นใหม่ให้รักษาและต่อยอดโอกาสทางเศรษฐกิจจากต้นทุนทางวัฒนธรรมเดิม การดำเนินงานวิจัยโดยการสัมภาษณ์และจัดบทสนทนาแบบมีส่วนร่วม (Participatory dialogue/focus group) เพื่อเก็บข้อมูลทุนทางวัฒนธรรมทั้งแบบรายปัจเจกและกลุ่มเฉพาะ เพื่อให้ชุมชนช่วยเสนอไอเดียในการพัฒนาสินค้า บริการ และคุณค่าในชุมชนตลาดพลู รวมถึงการแก้ปัญหาการล่มสลายของวัฒนธรรม ประเพณี ศิลปะการแสดงอันเป็นตำนานเล่าขานเรื่องราวของชุมชน ผู้คนในพื้นที่ย่านตลาดพลู ผลการวิจัย พบว่า ทุนทางวัฒนธรรมของพื้นที่ย่านตลาดพลู ประกอบด้วยทุนทางวัฒนธรรมของกลุ่มศิลปะการแสดงและกลุ่มอาหาร ทุนทางด้านสถาปัตยกรรม สถานที่ และทุนวัฒนวิถีความเชื่อศรัทธาของชุมชนไทยจีน จากคำตอบเรื่องทุนวัฒนธรรมที่ได้จึงนำความต้องการของผู้นำกลุ่มและผู้ประกอบการที่ต้องการสืบทอดรักษาคุณค่าความเป็นต้นแบบที่เป็นตำนานของกลุ่มตนเอง และต้องการสร้างการรับรู้ในวงกว้างไม่จำกัดเฉพาะผู้คนในพื้นที่ย่านตลาดพลูเท่านั้น การสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มคุณค่าและมูลค่าต่อยอดในเชิงพาณิชย์ และการขยายฐานของคนรุ่นใหม่ที่เข้ามาร่วมสืบสานคุณค่ามรดกของย่านมาสร้างสรรค์และผลิตเนื้อหาเล่าเรื่อง สร้างการรับรู้คุณค่าผ่านสื่อดิจิทัลและสัมผัสประสบการณ์จริงจากกิจกรรมที่สร้างสรรค์สร้างการมีส่วนร่วมโดยชุมชนพื้นที่ย่านตลาดพลู Abstract This research article has the objective of studying the cultural capital of the Talad Plu area, the building of public awareness regarding the cuisine, places, and cultural heritage of the Talad Plu area through public channels. New experiential awareness of attractions on digital platforms to advance opportunities for the new generation of entrepreneurs. Build the economic opportunities provided by the existing cultural capital. The research was conducted through participatory dialogue/focus groups to collect data on cultural capital at the levels of the individual and specialized groups and to provide a platform for the community to present ideas on the development of products, services, and values in the area, as well as solutions to problems affecting the deterioration of the communal culture, traditions, the arts, and stories. The research found that the cultural capital in the Talad Plu area can be grouped into the performing arts, cuisine, architecture, places, and the way of life and beliefs of the Thai-Chinese community. The leaders and entrepreneurs have the desire to pass on the values and stories of their groups and raise awareness of these values to a wider audience and not just those living in the Talad Plu area. They also want to creatively add commercial value to existing products and add commercial value and encourage the participation of the new generation to pass on the old heritage through the creation of new content storytelling for digital platforms and experiential activities that encourage the communal participation of those residing in the Talad Plu area.

คำอธิบาย

คำหลัก

1.ทุนทางวัฒนธรรม, 2. ตลาดพลู, 3. คุณค่า, 4. การรับรู้, 1. Cultural Capital, 2. Talad Plu, 3. Value, 4. Awareness

การอ้างอิง

วรรณี งามขจรกุลกิจ. (2565). "พลิกฟื้นคุณค่าพื้นที่ย่านตลาดพลูด้วยทุนทางวัฒนธรรม" ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 5 พ.ศ.2566 "ศาสนาและปรัชญา : แนวคิด มุมมอง คุณค่าทางวัฒนธรรม", หน้า 530-542.