ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจศาล ตามพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562
dc.contributor.author | เกียรติศักดิ์ ใยชิด | th_TH |
dc.date.accessioned | 2566-07-22T04:02:32Z | |
dc.date.available | 2023-07-22T04:02:32Z | |
dc.date.issued | 2566 | |
dc.description.abstract | สารนิพนธ์นี้ศึกษาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจศาล ตามพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจศาล (2) มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจศาลของต่างประเทศและประเทศไทย (3) ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจศาล (4) แนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจศาล ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาการจับกุมผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ได้รับการปล่อยตัวโดยศาลหลบหนีหมายจับพบว่า การที่เจ้าพนักงานตำรวจศาลจะจับกุมผู้ที่หลบหนีหมายจับที่ปล่อยตัวโดยศาลได้ต้องเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถขอความช่วยเหลือจากพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้ทันท่วงทีเท่านั้น จึงไม่สามารถดำเนินการติดตามจับกุมผู้ที่หลบหนีการปล่อยชั่วคราวได้อย่างทันท่วงที ส่งผลทำให้มาตรฐานในการรักษาความยุติธรรมของศาลเกิดปัญหาในภาพรวม ไม่สามารถนำผู้กระทำความผิดมารับการลงโทษ และบังคับตามผลของคำพิพากษาได้ (2) ปัญหาการติดตามจับกุมผู้กระทำความผิดในบริเวณศาลแล้วหลบหนีออกนอกบริเวณศาลพบว่า อำนาจการจับกุมผู้กระทำความผิดในบริเวณศาลของเจ้าพนักงานตำรวจศาลสามารถจับกุมได้เพียงในบริเวณศาลเท่านั้น แม้ว่าจะเป็นการหลบหนีต่อเนื่องจากในบริเวณศาลไปนอกบริเวณศาล ส่งผลให้ไม่สามารถที่จะนำตัวผู้กระทำความผิดมารับโทษตามกฎหมาย และไม่บรรลุผลตามเจตนารมณ์ของกฎหมายในการคุ้มครองกระบวนการยุติธรรม ป้องกันปราบปรามและการรักษาความสงบเรียบร้อยการกระทำความผิดในบริเวณศาลได้ (3) ปัญหาการดูแลและควบคุมผู้ต้องหา หรือจำเลย หรือผู้ต้องขังของเจ้าพนักงานตำรวจศาลพบว่า ตามพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562 ไม่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานตำรวจศาลในการควบคุมตัวผู้ต้องหา หรือจำเลย หรือผู้ต้องขังเอาไว้ แม้ว่าตามมาตรา 5 จะบัญญัติให้อำนาจในการรักษาความสงบเรียบร้อยและรักษาความปลอดภัยบุคคลและทรัพย์สินและป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในบริเวณศาลก็ตาม แต่กฎหมายดังกล่าวก็ยังไม่มีความชัดเจนไม่ครอบคลุมส่งผลต่อการปฏิบัติ ทำให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยหรือผู้ต้องขังหลบหนีในบริเวณศาล ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหากฎหมายดังกล่าว โดยแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562 โดยกำหนดให้ (1) เจ้าพนักงานตำรวจศาลมีอำนาจในการจับกุมผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ได้รับการปล่อยชั่วคราวโดยศาลแล้วหนีหรือจะหลบหนี (2) กำหนดให้อำนาจเจ้าพนักงานตำรวจศาลในการไล่ติดตามจับกุมผู้กระทำความผิดตามมาตรา 5 (1) (2) ที่กระทำความผิดในบริเวณศาลต่อเนื่องนอกบริเวณศาล (3) กำหนดให้เจ้าพนักงานตำรวจศาลมีอำนาจควบคุมดูแลผู้ต้องหา หรือจำเลย หรือผู้ต้องขัง ในบริเวณศาลรวมไปถึงการควบคุมและขนย้ายตัวบุคคลดังกล่าวไปดำเนินคดีในศาลอื่น | th_TH |
dc.description.sponsorship | Sripatum University | th_TH |
dc.identifier.citation | เกียรติศักดิ์ ใยชิด. 2566. "ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจศาล ตามพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562." ผลงานนักศึกษานิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. | th_TH |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9250 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศรีปทุม | th_TH |
dc.title | ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจศาล ตามพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562 | th_TH |
dc.title.alternative | LEGAL ISSUES RELATED TO THE EXERCISE OF POWER AND DUTIES OF THE COURT MARSHAL ACCORDING TO THE COURT MARSHAL ACT B.E. 2562 (2019) | th_TH |
dc.type | Thesis | th_TH |