ปัจจัยการสื่อสารทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา

dc.contributor.authorกัญญารัตน์ บุญประกอบen_US
dc.date.accessioned2562-03-07T06:21:09Z
dc.date.available2019-03-07T06:21:09Z
dc.date.issued2562-03-07
dc.descriptionนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรีen_US
dc.description.abstractการศึกษาเรื่อง “ปัจจัยการสื่อสารทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการศูนย์ตรวจ สุขภาพโรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา” เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ดำเนินการ เก็บข้อมูลโดยการสำรวจ (Survey Research) แบบวัดผลครั้งเดียว (One-shot Case Study) มี วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะทางประชากรกับการตัดสินใจใช้บริการ ศูนย์ตรวจสุขภาพ ศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจ ใช้บริการศูนย์ตรวจสุขภาพ ศึกษาความแตกต่างของระดับความสำคัญทางด้านปัจจัยการสื่อสารทาง การตลาดกับการตัดสินใจใช้บริการศูนย์ตรวจสุขภาพ และศึกษาความแตกต่างในด้านพฤติกรรม การใช้บริการกับความพึงพอใจในการใช้บริการศูนย์ตรวจสุขภาพ ในการกำหนดกลุ่มตัวอย่างผู้วิจัย ได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 600 ชุด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบรูณ์ โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่าง แบบสะดวก (Convenience Sampling) ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistical Analysis) เพื่อคำนวณหาค่าร้อยละ (Percentage) ความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ใช้ค่าสถิติ Chi-square เพื่อทดสอบความสัมพันธ์และความแตกต่างของตัวแปรและใช้สถิติการ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way analysis of variance: ANOVA) เพื่อทดสอบความ แตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยมากกว่า 2 กลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 36-45 ปี เป็น พนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนสูงกว่า 40,000 บาท มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี และมีสถานภาพสมรส ในด้านของพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารด้านสุขภาพจากสื่อประเภทต่างๆ โดยรวม พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการเปิดรับข่าวสารด้านสุขภาพจากสื่อเฉพาะกิจมากที่สุด รองลงมา คือ สื่อมวลชนและสื่อบุคคล ตามลำดับ ด้านการใช้บริการศูนย์ตรวจสุขภาพ พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีการใช้บริการศูนย์ตรวจสุขภาพปี ละ 1 ครั้ง และตัดสินใจกลับมาใช้บริการศูนย์ตรวจ สุขภาพอีก พร้อมทั้งแนะนำให้ผู้อื่นมาใช้บริการด้วย ผลการศึกษาด้านปัจจัยการสื่อสารทาง การตลาดทั้ง 7 ด้าน ที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการศูนย์ตรวจสุขภาพพบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ระดับ ความสำคัญกับปัจจัยการสื่อสารทางการตลาดด้านช่องทางการจัดจำหน่ายมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและด้านราคาน้อยที่สุด ผลการวิจัยยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึง พอใจต่อการใช้บริการศูนย์ตรวจสุขภาพในด้านช่องทางการจัดจำหน่ายมากที่สุด รองลงมา คือ ด้าน ผลิตภัณฑ์และด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ในขณะที่ด้านราคามีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มี เพศ อายุ อาชีพ รายได้ ระดับการศึกษา และสถานภาพที่แตกต่างกัน จะมีการตัดสินใจใช้บริการศูนย์ตรวจสุขภาพไม่แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ในเรื่องพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารด้านสุขภาพจากสื่อมวลชน และสื่อ เฉพาะกิจ พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจใช้บริการศูนย์ตรวจสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ 0.05 ในขณะที่ด้านสื่อบุคคลพบว่า การเปิดรับข่าวสารด้านสุขภาพจากแพทย์มี ความสัมพันธ์กับการตัดสินใจใช้บริการศูนย์ตรวจสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และ ผู้ใช้บริการที่ให้ความสำคัญกับปัจจัยการสื่อสารทางการตลาดทั้ง 7 ด้านแตกต่างกันจะมีการ ตัดสินใจใช้บริการศูนย์ตรวจสุขภาพแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 นอกจากนี้ ผู้ใช้บริการที่มีพฤติกรรมการใช้บริการแตกต่างกันจะมีความพึงพอใจในการใช้บริการศูนย์ตรวจ สุขภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05en_US
dc.identifier.urihttps://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5939
dc.language.isothen_US
dc.subjectปัจจัยการสื่อสารทางการตลาดen_US
dc.subjectศูนย์ตรวจสุขภาพโรงพยาบาลพญาไทen_US
dc.titleปัจจัยการสื่อสารทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลพญาไท ศรีราชาen_US
dc.title.alternativeMARKETING COMMUNICATION FACTORS INFLUENCING THE DECISION TO USE SERVICES AT CHECK-UP CENTER OF PHYATHAI SRIRACHA HOSPITALen_US
dc.typeThesisen_US

ไฟล์

ชุดต้นฉบับ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
abstract.pdf
ขนาด:
96.97 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
มัดใบอนุญาต
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
license.txt
ขนาด:
1.71 KB
รูปแบบ:
Item-specific license agreed upon to submission
คำอธิบาย: