ข้อเสนอการตีความของคำนิยามของคำว่า "เหตุสุดวิสัย" ตามกฎหมายไทย เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสากล

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2567

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 8 การตีความคำนิยามของคำว่า “เหตุสุดวิสัย” ของไทยจะมีคำนิยามที่แคบไม่ทันต่อยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป โดยได้ศึกษาถึงหลักเกณฑ์ทางกฏหมายของต่างประเทศในระบบคอมมอนลอร์ ระบบซีวิลลอร์และหลักกฏหมายสากลที่เกี่ยวกับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและกรณีการชำระหนี้ที่เป็นไปอย่างยากลำบาก (Hardship) ว่าสามารถนำหลักการใดมาปรับใช้กับการตีความคำนิยามของคำว่า “เหตุสุดวิสัย” ของไทยได้ ผลการศึกษาพบว่าประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยไม่สามารถนำมาปรับใช้กับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและกรณีการชำระหนี้ที่เป็นไปอย่างยากลำบาก (Hardship) ดังนั้น หากเกิดกรณีปัญหาเกี่ยวกับการไม่สามารถปฎิบัติการชำระหนี้ได้เพราะเกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญของสัญญาภายหลังที่ทำสัญญาโดยที่คู่สัญญาไม่อาจคาดคิดมาก่อนในขณะที่ทำสัญญานั้น แล้วส่งผลให้การชำระหนี้เป็นภาระหนักเกินควรแก่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากเกินไปจนทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันระหว่างคู่สัญญา คู่สัญญาต้องรับภาระในการชำระหนี้มากเกินไปนั้นจะต้องรับชำระหนี้อย่างสิ้นเชิง เนื่องจากในประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 8 ไม่ได้บัญญัติในเรื่องดังกล่าวไว้ จึงทำให้คู่สัญญาไม่มีสิทธิที่จะปรับข้อสัญญาหรือเลิกสัญญากันได้ตามเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

คำอธิบาย

คำหลัก

เหตุสุดวิสัย

การอ้างอิง

ทัตพิชา กรุดวงษ์. 2554. “ข้อเสนอการตีความของคำนิยามของคำว่า "เหตุสุดวิสัย" ตามกฎหมายไทย เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสากล.” หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.