ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิ โดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ศึกษากรณี: ผู้ได้รับสิทธิการเช่า และเช่าซื้อ

dc.contributor.authorชัยธง พรมนิยมth_TH
dc.date.accessioned2564-04-20T09:30:58Z
dc.date.available2021-04-20T09:30:58Z
dc.date.issued2562
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสิทธิของบุคคลผู้ได้รับสิทธิในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมอันเกิดจากการเช่าและเช่าซื้อตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 และระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเช่าซื้อที่ดิน พ.ศ. 2548 จากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 และระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเช่าซื้อที่ดิน พ.ศ. 2548 มาตรา 30 และมาตรา 39 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรครอบครองที่ดินเพื่อทำการเกษตรจะนำไปโอนขายหรือโอนทางมรดกให้แก่ทายาทที่มิใช่เกษตรกรไม่ได้ แต่ให้สิทธิแก่เกษตรกรสามารถนำที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินให้เช่า หรือเช่าซื้อได้ เมื่อมีการเช่าหรือเช่าซื้อแล้วไม่มีสิทธิโอนให้แก่บุคคลภายนอกและทายาทที่มิใช่เกษตรกรได้ ดังนั้นเมื่อกฎหมายปฏิรูปที่ดินกำหนดไว้เช่นนี้จึงก่อให้เกิดปัญหาแก่ผู้รับสิทธิจากการปฏิรูปที่ดิน เพราะเมื่อส่งค่างวดเช่าซื้อที่ดินงวดสุดท้ายแล้วไม่อาจโอนให้แก่ผู้รับสิทธิได้จึงทำให้เกษตรกรเสียประโยชน์ที่จะได้รับกรรมสิทธิ์จากการเช่าซื้อและไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการปฏิรูปที่ดิน เพราะที่ดินที่นำมาปฏิรูปนั้นเป็นที่ดินที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้รับงบประมาณจากรัฐมาจัดซื้อที่ดินว่างเปล่าจากเอกชนแล้วนำมาจัดสรรให้แก่ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมจึงเป็นที่ดินที่ไม่ใช่ที่ดินที่ต้องห้ามการโอนและการโอนขายสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมย่อมได้รับประโยชน์ไปด้วย เพราะเป็นหน่วยงานในการควบคุมการโอนที่ดินเพื่อเกษตรกรรม นอกจากนั้น ในส่วนทายาทผู้ได้รับสิทธิจากการปฏิรูปที่ดินจะต้องเป็นผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเท่านั้นย่อมขัดต่อหลักการเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุคปัจจุบันเนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรมในลักษณะเป็นอาชีพเสริมมีจำนวนน้อยที่ทำอาชีพเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียว จึงทำให้ระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเช่าซื้อที่ดิน พ.ศ. 2548 ไม่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและอาชีพของประชาชนในยุคปัจจุบัน จากการศึกษาขอเสนอแนะว่า เห็นควรให้แก้ไขพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 30 และมาตรา 39 ประกอบระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเช่าซื้อที่ดิน พ.ศ. 2548 ที่ออกตามอำนาจมาตรา 30 และมาตรา 39 ให้สามารถโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้โดยกำหนดระยะเวลาในการโอนกรรมสิทธิ์เมื่อพ้น 10 ปี นับแต่วันเช่าซื้อเสร็จ และให้แก้ไขคุณสมบัติของทายาทผู้รับมรดกจะต้องไม่มีข้อจำกัดอาชีพ โดยกำหนดให้เป็นทายาทโดยธรรมหรือทายาทตามพินัยกรรมก็เพียงพอต่อการรับมรดกที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินth_TH
dc.identifier.urihttps://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7438
dc.language.isothth_TH
dc.subjectการปฏิรูปที่ดินth_TH
dc.subjectเกษตรกรรมth_TH
dc.titleปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิ โดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ศึกษากรณี: ผู้ได้รับสิทธิการเช่า และเช่าซื้อth_TH
dc.typeThesisth_TH

ไฟล์

ชุดต้นฉบับ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
abstarct.pdf
ขนาด:
158.36 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
มัดใบอนุญาต
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
license.txt
ขนาด:
1.71 KB
รูปแบบ:
Item-specific license agreed upon to submission
คำอธิบาย: