ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศของไทย : ศึกษากรณีการส่งมอบ

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2552

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

ปัจจุบันการซื้อขายสินค้ามิได้จำกัดเฉพาะภายในประเทศเท่านั้น ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาการทำให้มีการติดต่อซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ดังนี้ เมื่อเกิดปัญหาหรือเกิดการผิดสัญญาในการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ และมีข้อพิพาทขึ้นสู่ศาลไม่ว่าของประเทศใด มักเกิดปัญหาเกี่ยวกับการนำกฎหมายมาปรับใช้แก้ข้อพิพาทดังกล่าว ด้วยเหตุนี้คณะกรรมาธิการว่าด้วยกฎหมายการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ (UNCITRAL) และตัวแทนของประเทศต่างๆ จึงได้ร่วมกันยกร่างอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ (CISG) ขึ้น เพื่อให้การซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศมีความเป็นเอกภาพ อนึ่ง บทบัญญัติของ CISG ดังกล่าวยังได้รับรองสถานะของะรรมเนียมปฏิบัติของคู่สัญญา เช่น INCOTERMS ซึ่งเกี่ยวกับการส่งมอบสินค้าอันเป้นกรณีวิทยานิพนธ์ฉบับนี้หยิบยกขึ้นมาศึกษาด้วย ด้วยเหตุที่ประเทศไทยยังมิได้เข้าร่วมเป็นภาคี CISG เมื่อเกิดปัญหาหรือเกิดการผิดสัญญาในการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศและมีข้อพิพาทขึ้นสู่ศาลไทย ศาลไทยก็ต้องใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บังคับแก่ข้อพิพาทดังกล่าว ซึ่งอาจทำให้การตัดสินคดีของศาลไทยม่สอดคล้องกับหลักสากล เนื่องจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีหลักเกณฑ์ที่สำคัญ ๆ หลายประการในเรื่องการส่งมอบแตกต่างจาก CISG และ INCOTERMS ผู้วิจัยเห็นว่าการที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้มีอยู่สองแนวทาง แนวทางแรก คือ การเข้าร่วมเป็นภาคี CISG แล้วออกกฎหมายอนุวัติการ แนวทางที่สอง คือ การปรับปรุงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือจัดทำกฎหมายเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศขึ้นโดยเฉพาะซึ่งในแนวทางที่สองนี้จะรวมถึงการออกกฎหมายรับรองสถานะของ INCOTERMS ด้วย ซึ่งทั้งสองแนวทางดังกล่าว มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป อย่างไรก้อตาม ไม่ว่าประเทศไทยจะเลือกแนวทางใด ก็ล้วนแต่เป็นประโยชน์ต่อการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศของไทยทั้งสิ้น

คำอธิบาย

คำหลัก

สัญญาซื้อขาย, การค้าระหว่างประเทศ, นิติศาสตรมหาบัณฑิต

การอ้างอิง