สภาพปัจจุบันและปัญหาการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 3-4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2551

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

การวิจัยครั้งนี้ วีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติงานและปัญหาการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 3-4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 8 ด้านและเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการประกันคุณภาพภายใน จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา และประเภทของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ช่วยผู้บริหารสถานศึกษาฝ่ายวิชาการหรือครูหัวหน้าฝ่ายวิชาการ และครุที่เป็นกรรมการและเลขานุการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 3-4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ขนาดใหญ่พิเศษ ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก จำนวน 63 แห่ง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 189 คน เลือกมาใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา จำแนกเป็น 8 ด้าน จำนวน 53 ข้อ การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา มีค่า IOC ระหว่าง 0.67 – 1.00 และค่าความเชื่อมั่นโดยการหาค่าแอลฟ่าตามวิธีของครอนบาคมีค่าอยู่ระหว่าง 0.844 – 0.984 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยล่ะ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และ F-test และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยใช้ Scheffe’ s test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกาพบว่า สภาพการปฏิบัติงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหาการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับน้อย เมื่อเปรียบเทียบสภาพการปฏิบัติงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในของกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในสถานศึกษาขนาดใหญ่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากกว่าสถานศึกษาขนาดเล็ก ส่วนปัญหาการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในสถานศึกษาขนาดใหญ่อยู่ในระดับน้อยกว่าสถานศึกษาขนาดเล็ก สำหรับการเปรียบเทียบสภาพการปฏิบัติงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในของกลุ่มตัวอย่างสถานศึกษารัฐบาลมีระดับการปฏิบัติมากกว่าสถานศึกษาเอกชน ส่วนระดับปัญหาการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของกลุ่มตัวอย่างสถานศึกษารัฐบาลมีระดับปัญหาน้อยกว่าสถานศึกษาเอกชน

คำอธิบาย

คำหลัก

การประกันคุณภาพการศึกษา, ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต

การอ้างอิง