ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมต่อการที่นักธุรกิจจีนมาประกอบกิจการปลูกกล้วยหอมในประเทศไทยเพื่อส่งออกไปยังประเทศจีน

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2560

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มนุษย์และสังคมโดยรวมนั้น นับวันปัญหาสิ่งแวดล้อมยังขยายออกไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีการดำเนินธุรกิจทางการเกษตรแบบพันธะสัญญาของคนต่างชาติในประเทศไทยแล้วก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมต่อประเทศชาติ ทำให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม เพราะความคุ้มครองสิทธิทางด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาในด้านการเยียวยาผู้เสียหาย ในเรื่องการพิสูจน์ความเสียหายและ การกำหนดค่าเสียหาย รวมทั้งในเรื่องมาตรกรบังคับและมาตรการลงโทษทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งยังไม่ได้รับการแก้ไข เนื่องด้วยไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายเป็นการเฉพาะ หากแต่ได้นำพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประมวลกฎหมายอาญา มาใช้บังคับโดยอนุโลม กรณีจึงไม่สามารถที่จะรองรับสภาพปัญหาที่กำลังเกิดความเสียหายขยายวงกว้างและมีความซับซ้อนขึ้นได้ อันทำให้การบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยยังไม่สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากสาเหตุดังกล่าวได้อย่างแท้จริง ซึ่งเป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขและหากเนิ่นช้ากว่านี้ความเสียหายจะยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น จากผลกระทบที่เกิดขึ้นดังกล่าวได้มีการพยายามหามาตรการต่าง ๆ มาใช้แก้ไขปัญหาการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม เช่น มาตรการลงโทษด้านกฎหมาย ซึ่งมีทั้งมาตรการทางแพ่ง ทางอาญาและทางปกครอง ซึ่งหากใช้อย่างเหมาะสมแล้วก็จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลกับประเทศไทยมาก แต่การที่จะใช้มาตรการทางแพ่งเกี่ยวกับการกำหนดค่าเสียหายในคดีสิ่งแวดล้อม เป็นลักษณะการใช้ดุลพินิจ ซึ่งการใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายได้อย่างถูกต้องเหมาะสมนั้น จะต้องมีเงื่อนไขทางด้านกฎหมายที่เอื้ออำนวยอย่างเหมาะสมด้วย จึงต้องมีการปรับปรุงแก้ไขตัวบทกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง รวมถึงวิธีการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อมมาใช้กับปัญหาในคดีสิ่งแวดล้อมเพื่อเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที ทั้งต่อผู้เสียหายและต่อสิ่งแวดล้อม จากการศึกษาของผู้ศึกษาพบว่าตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิยชย์ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและประมวลกฎหมายอาญา ยังมีข้อบกพร่องที่ศาลจะนำมาใช้ในการกำหนดค่าเสียหายคดีสิ่งแวดล้อมและนำมาใช้เป็นมาตการบังคับและมาตรการลงโทษทางสิ่งแวดล้อมได้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขตัวบทกฎหมายที่เอื้ออำนวยต่อการใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายในคดีสิ่งแวดล้อม รวมทั้งรัฐบาลต้องบัญญัติมาตรการอย่างเด็ดขาดขึ้นเป็นกรณีเฉพาะนักธุรกิจต่างชาติที่เข้ามาทำเกษตรแบบพันธะสัญญาในประเทศไทย ผู้ศึกษาเชื่อว่าจะทำให้การใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายในคดีสิ่งแวดล้อมเป็นไปในทิศทางที่ครอบคลุมความเสียหายทั้งหมดได้อย่างแท้จริงและเป็นการง่ายแก่การควบคุมนักธุรกิจต่างชาติที่เข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทย อันทำให้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยลดลง

คำอธิบาย

ขวัญชนก พลพันธุ์. ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมต่อการที่นักธุรกิจจีนมาประกอบกิจการปลูกกล้วยหอมในประเทศไทยเพื่อส่งออกไปยังประเทศจีน. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ.2560.

คำหลัก

กฎหมายสิ่งแวดล้อม, ประกอบกิจการปลูกกล้วยหอม, การทำเกษตรแบบพันธะสัญญา, เกษตรพันธะสัญญากับสิ่งแวดล้อม

การอ้างอิง

ขวัญชนก พลพันธุ์. (2560). ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมต่อการที่นักธุรกิจจีนมาประกอบกิจการปลูกกล้วยหอมในประเทศไทยเพื่อส่งออกไปยังประเทศจีน. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ.2560.