แนวคิดทฤษฎีการเล่าเรื่องกับค่านิยมคนไทยเชื้อสายจีนในละครโทรทัศน์ เรื่อง เลือดข้นคนจาง (Study the storytelling theory with values Chinese - Thai in “Blood is thicker than water”)
dc.contributor.author | บุณยนุช สุขทาพจน์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2562-06-28T09:42:03Z | |
dc.date.available | 2019-06-28T09:42:03Z | |
dc.date.issued | 2562-03-29 | |
dc.description | ศึกษาการเล่าเรื่องและค่านิยมของละครไทยเรื่อง เลือดข้นคนจาง สามารถสร้างปรากฎการณ์ใหม่ให้กับวงการละครไทย เป็นกระแสที่ดังมากที่สุดในออนไลน์ | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีการเล่าเรื่องค่านิยมคนไทยเชื้อสายจีนในละครโทรทัศน์ เรื่อง เลือดข้นคนจาง โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาจากละครประกอบกับการสัมภาษณ์นักวิจารณ์ละคร และสัมภาษณ์กลุ่มผู้ชมละคร ผลการศึกษาพบว่า 1) ที่มาของเรื่องละครเป็นสื่อที่ให้ทั้งแง่คิด ความรู้ และความบันเทิง จึงเป็นที่น่าสนใจในการศึกษาถึงทฤษฎีการเล่าเรื่องนั้นมีการเปลี่ยนผ่านจากคนจีนรุ่นเก่าไปถึงคนไทยเชื้อสายจีนรุ่นใหม่ การดูแลคนในครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีนตามค่านิยม จึงมีฉากสำคัญที่เกิดขึ้นในตอนต่างๆ เช่น การคลุมถุงชน กงสี ความรัก และความสำคัญที่มีต่อลูกชายมากกว่าลูกสาว และการให้ความสำคัญกับหลานชายคนแรกของตระกูลเป็น“ตั่วซุง”ด้วยปมดังกล่าวจึงทำให้นำมาซึ่งความขัดแย้ง อิจฉาริษยา และนำมาสู่การฆาตกรรมของสมาชิกในครอบครัวขึ้น 2) โครงเรื่องและการดำเนินเรื่อง มีการดำเนินเรื่องไปตามขนบการเล่าเรื่องจนเกิดปมปริศนา “ใครฆ่าประเสริฐ” 3) ค่านิยม เพื่อให้ผู้ชมได้ข้อคิด และนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ประกอบด้วยค่านิยม 6 ด้าน คือ ค่านิยมอันเกิดจากศาสนาและความเชื่อ ค่านิยมด้านประเพณีคนไทยเชื้อสายจีน ค่านิยมด้านความรัก ค่านิยมเรื่องเพศ ค่านิยมเกี่ยวกับความกตัญญูกตเวที ค่านิยมด้านการศึกษา ทฤษฎีการเล่าเรื่องกับค่านิยมของคนไทยเชื้อสายจีนของละคร ตัวละครที่ไม่ได้จบลงอย่างหดหู่ แต่แฝงไว้ซึ่งแง่คิดในการใช้ชีวิต มีการแก้ไขปัญหาอย่างมีทางออก และวิธีการแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในสังคมมนุษย์ที่เริ่มต้นมาจากคำว่าครอบครัว จึงถือได้ว่าเป็นสถาบันพื้นฐานทางสังคมที่มีบทบาทสำคัญที่สุด | en_US |
dc.description.sponsorship | - | en_US |
dc.identifier.citation | หนังสือ กาญจนา แก้วเทพ. (2549). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพฯ : เอดิสันเพรสโปรดักส์. กาญจนา แก้วเทพ. (2547). การวิเคราะห์สื่อ แนวคิดและเทคนิค. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: แบรนด์เอจ. ฉวีวรรณ วรรณประเสริฐ. (2522). สังคมไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แพร่พิทยา. สมบูรณ์ สุขสำราญ. (2529). ความเชื่อทางศาสนาและพิธีกรรมของชุมชนจีน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุพัตรา สุภาพ. (2522). สังคมและวัฒนธรรมไทย ค่านิยม ครอบครัว ศาสนา ประเพณี. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. วิทยานิพนธ์ ฉลองรัตน์ ทิพย์พิมาน. (2539). วิเคราะห์โครงสร้างการเล่าเรื่องในภาพยนตร์อเมริกัน ที่ตัวเอกเป็น สตรี. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รวมพร ศรีสมานันท์. (2541). การวิเคราะห์การเล่าเรื่องทางโทรทัศน์ในรายการสัมภาษณ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,กรุงเทพมหานคร. สุภาวรรณ วรรธนะศุภกุล. (2550). คุณลักษณะของละครเอเชียยอดนิยม ศึกษากรณีละครญี่ปุ่น ไต้หวันและเกาหลีในโทรทัศน์ไทย (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร. อภิญญา ศรีรัตนสมบูรณ์. (2534). การวิเคราะห์ละครโทรทัศน์ชุด “คู่กรรม” ในการถ่ายทอดความ เชื่อและค่านิยมในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. อุมาพร มะโรณีย์. (2551). สัมพันธบทของการเล่าเรื่องในสื่อการ์ตูน ละครโทรทัศน์และนวนิยาย (วิทยานิพนธ์นิเทศศาตรมหาบัณฑิต) สาขาสื่อสารมวลชน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สื่ออิเล็กทรอนิกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2561). มองวัฒนธรรมจีนผ่าน “เลือดข้นคนจาง”. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2561, จาก https://www.chula.ac.th/cuinside/13320/ CAMPUS Star. (2561). แผนผังครอบครัว ตระกูลจิระอนันต์ ใน เลือดข้นคนจาง. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2561, จาก https://lifestyle.campus-star.com/entertainment/134370.html MTHAI. (2561). เลือดข้นคนจีน เข้าใจคนไทยเชื้อสายจีนผ่าน 6 วิทยานิพนธ์. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2561, จาก https://thematter.co/pulse/6-research-thai-chinese/60646 The MATTER. (2561). ทำไม คนจีนถึงรักลูกชาย และความหมายของ ตั่วซุง หลานนอก หลานใน. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2561, จาก https://teen.mthai.com/variety/156903.html | en_US |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6305 | |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา | en_US |
dc.subject | ค่านิยม | en_US |
dc.subject | คนไทยเชื้อสายจีน | en_US |
dc.subject | ละครโทรทัศน์ | en_US |
dc.title | แนวคิดทฤษฎีการเล่าเรื่องกับค่านิยมคนไทยเชื้อสายจีนในละครโทรทัศน์ เรื่อง เลือดข้นคนจาง (Study the storytelling theory with values Chinese - Thai in “Blood is thicker than water”) | en_US |
ไฟล์
มัดใบอนุญาต
1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
- ชื่อ:
- license.txt
- ขนาด:
- 1.71 KB
- รูปแบบ:
- Item-specific license agreed upon to submission
- คำอธิบาย: