ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานตามสัญญาจ้างเหมาค่าแรงในกรณีที่เป็นบุคคลในหน่วยงานของรัฐ และผู้ประกอบการเอกชน
dc.contributor.author | เกวรี สงวนสุข | en_US |
dc.date.accessioned | 2562-03-08T03:30:31Z | |
dc.date.available | 2019-03-08T03:30:31Z | |
dc.date.issued | 2562-03-08 | |
dc.description | นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาการบังคับใช้กฎหมายอันเกี่ยวเนื่องกับสิทธิประโยชน์ หรือสวัสดิการพื้นฐานที่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างเหมาค่าแรงในหน่วยงานของรัฐ และผู้ประกอบการเอกชนควรได้รับ ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐและผู้ประกอบการเอกชน ได้มอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใด เป็นผู้จัดหาคนมาทางานอันมิใช่การประกอบธุรกิจจัดหางาน โดยการทำงานนั้น เป็นการทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง หรือเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดในภารกิจหลักของหน่วยงานหรือผู้ประกอบการนั้น ๆ ซึ่งพบว่า ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานอย่างเดียวกับลูกจ้างตามสัญญาโดยตรง แต่กลับไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ หรือสวัสดิการพื้นฐานอื่นใดนอกเหนือไปจากค่าจ้าง เนื่องจากหน่วยงานของรัฐ หรือผู้ประกอบการเอกชน ไม่ได้ให้สถานะใด ๆ แก่บุคคลเหล่านี้ เสมือนเป็นบุคคลภายนอก และอาจนาไปสู่การกระทำอันไม่เป็นธรรมในการเลิกจ้าง จึงได้แบ่งการพิจารณาออกเป็น 2 ส่วน ในส่วนของลูกจ้างรับเหมาค่าแรงในหน่วยงานของรัฐ กระทรวงการคลังได้กำหนดว่า ผู้รับจ้างเหมาบริการมีฐานะเป็นผู้รับจ้างทำของ ไม่ถือเป็นบุคลากรของรัฐที่จะมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ สวัสดิการ ที่พึงได้รับจากทางราชการ ไม่มีนิติสัมพันธ์กับรัฐในฐานะนายจ้างกับลูกจ้าง ส่วนราชการจึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องนำส่งเงินสมทบในส่วนของผู้ว่าจ้างเข้ากองทุนประกันสังคม ส่งผลทำให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงในหน่วยงานของรัฐไม่ได้รับสิทธิประโยชน์หรือสวัสดิการพื้นฐานอื่นใดนอกเหนือไปจากค่าจ้าง จึงเห็นควรให้กำหนดสถานะของลูกจ้างรับเหมาค่าแรงให้มีลักษณะของการเป็นลูกจ้างชั่วคราวของหน่วยงานของรัฐ ส่วนลูกจ้างรับเหมาค่าแรงในผู้ประกอบการเอกชน แม้ว่ากฎหมายคุ้มครองแรงงานของไทย จะวางหลักไว้ตามมาตรา 11/1 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 โดยให้ถือว่า ผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างของคนที่มาทางาน และให้ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานก็ตาม ทั้งมีคำพิพากษาฎีกาที่ 22326-22404/2555 รับรองสถานะของบุคคลเหล่านี้ไว้ และไม่มีบทบัญญัติใดที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนในเรื่องของการเลิกจ้าง ดังนั้น จึงเห็นควรให้แก้ไขบทบัญญัติ ตามมาตรา 11/1 โดยเพิ่มเติมในส่วนของการพิจารณาต่อสัญญาจ้าง การเลิกจ้างอย่างเป็นธรรม โดยใช้วิธีปฏิบัติเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง ซึ่งลูกจ้างรับเหมาค่าแรงควรได้รับการปฏิบัติและการคุ้มครองอย่างเดียวกัน รวมถึงการกำหนดบทลงโทษในกรณีการฝ่าฝืนตามมาตรา 11/1 โดยให้มีการแก้ไขบทบัญญัติตามมาตรา 144/1 เพิ่มบทลงโทษจาคุก และกำหนดโทษปรับที่มีอัตราสูงขึ้นตามสภาพการณ์ในปัจจุบัน เพื่อเป็นการป้องกันและยับยั้งการกระทำความผิดให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป | en_US |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6031 | |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.subject | การคุ้มครองแรงงาน | en_US |
dc.subject | สัญญาจ้างเหมาค่าแรง | en_US |
dc.subject | หน่วยงานของรัฐ | en_US |
dc.subject | ผู้ประกอบการเอกชน | en_US |
dc.title | ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานตามสัญญาจ้างเหมาค่าแรงในกรณีที่เป็นบุคคลในหน่วยงานของรัฐ และผู้ประกอบการเอกชน | en_US |
dc.title.alternative | LEGAL PROBLEMS AND OBSTRUCTION REGARDING LABOR PROTECTION UNDER WAGE LUMP SUM AGREEMENT, IN CASE THE PERSON IS THAT OF GOVERNMENT AGENCY AND PRIVATE ENTREPRENEUR | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |