ปัญหาการกำหนดมาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุมน้ำหนักยานพาหนะตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2565

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

สารนิพนธ์นี้เป็นการศึกษาปัญหาการควบคุมน้ำหนักยานพาหนะตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง (Law on Highway) โดยมุ่งหมายค้นคว้าเพื่อค้นหานิติวิธี (Legal Method) ในการพัฒนาปรับปรุงให้เกิดความเหมาะสมในควบคุมการจราจร (Traffic Control) และน้ำหนักบรรทุกของรถยนต์ (Pay Load of Car) เนื่องจากการขนส่งมีจำนวนมากขึ้นจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการบรรทุกสิ่งของในการขนส่งนั้น ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงความคุ้มค่าในการประกอบการ ทำให้การบรรทุกสินค้าในแต่ละเที่ยวมักมีจำนวนเต็มคันรถ (Full Truck Load) เพื่อให้ถนนมีอายุการใช้งานตามระยะเวลาที่เหมาะสมและเกิดความปลอดภัยต่อผู้ใช้รถและใช้ถนนในการสัญจร จึงมีการใช้บังคับกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมมิให้รถบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 (Highways Act B.E. 2535 (1992)) จึงกำหนดให้อำนาจผู้อำนวยการทางหลวง (Highway Director) ประกาศกำหนดเกณฑ์อัตราการบรรทุกน้ำหนักยานพาหนะบนทางหลวง โดยออกประกาศ เรื่อง ห้ามใช้ยานพาหนะที่มีน้ำหนัก น้ำหนักบรรทุกหรือน้ำหนักลงเพลาเกินกว่าที่ได้กำหนด หรือโดยที่ยานพาหนะนั้นอาจทำให้ทางหลวงเสียหาย เดินบนทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงสัมปทาน ประกาศ ณ วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2548 โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 61 ประกาศดังกล่าวจึงมีผลเป็นการกำหนดพิกัดน้ำหนักรถบรรทุก (Truck Weight Rating) ตามกฎหมาย และหากผู้ใดฝ่าฝืนบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดจะต้องรับโทษทางอาญา (Criminal Penalty) มีระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ เพื่อต้องการให้เกิดความสงบเรียบร้อย (Public Order) ในสังคมและการให้บริการสาธารณะของรัฐ (Public Service of State) ในด้านการจราจร ซึ่งรัฐนำงบประมาณจากภาษีของประชาชนมาใช้ดำเนินการ เพื่อให้ได้ประโยชน์อย่างต่อเนื่องและเกิดความคุ้มค่ากับการใช้จ่ายของภาครัฐ (Public Sector) ที่มีปัญหาในการใช้งบประมาณแต่ละปีหลายพันล้านบาทเพื่อซ่อมบำรุงถนนที่เสียหายจากการบรรทุกน้ำหนักเกินอัตรา แต่การลงโทษตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 กลับมีความยุ่งยาก เนื่องจากมีหน่วยงานของรัฐหลายหน่วยงาน (State Agencies) ที่เกี่ยวข้อง จึงทำให้เกิดความซ้ำซ้อนและความสับสนต่อการใช้บังคับกฎหมายเพื่อแก้ไขเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทางหลวง อย่างไรก็ตาม การที่พระราชบัญญัตินี้กำหนดแต่เพียงลงโทษหรือระวางโทษทางอาญานั้นยังไม่อาจแก้ไขหรือป้องกันมิให้รถบรรทุกทำการบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดได้อย่างเพียงพอหรือเต็มประสิทธิภาพ เพราะการกำหนดบทลงโทษดังกล่าวเป็นเพียงการลงโทษเฉพาะผู้กระทำความผิดซึ่งหน้า โดยกรณีนี้จะเป็นการดำเนินการได้แต่เพียงผู้ขับขี่เท่านั้น แต่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือได้รับประโยชน์จากการบรรทุกน้ำหนักเกินอัตรา คือ ผู้ประกอบการขนส่งหรือนายจ้างซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างที่ถือเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดนั้น พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 มิได้กำหนดให้ต้องรับโทษแต่ประการใด เมื่อผู้ขับขี่ถูกจับกุมแล้ว กลับปรากฏว่าเจ้าของหรือผู้ประกอบการขนส่งหรือนายจ้างเพียงแต่ถูกบังคับให้ชำระค่าปรับตามที่ศาลพิพากษาลงโทษปรับเท่านั้น ซึ่งต่อมาอาจใช้วิธีการเปลี่ยนตัวผู้ขับขี่และให้ผู้ขับขี่ขับรถบรรทุกน้ำหนักเกินอัตราอีก การกระทำเช่นนี้จะก่อให้เกิดการกระทำความผิดเช่นเดิมอีก

คำอธิบาย

คำหลัก

กฎหมายว่าด้วยทางหลวง, การควบคุมน้ำหนักยานพาหนะ, เจ้าพนักงานทางหลวง, ผู้ประกอบการขนส่งหรือนายจ้าง, ผู้อำนวยการทางหลวง

การอ้างอิง

ชิน เดชภิรัตนมงคล. 2565. “ปัญหาการกำหนดมาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุมน้ำหนักยานพาหนะตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง.” บทความนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.