ปัญหาเกี่ยวกับการนำสืบพิสูจน์ค่าเสียหายในคดีละเมิดลิขสิทธิ์

dc.contributor.authorมิตรชาย ก่ำทอง
dc.date.accessioned2551-07-01T08:11:50Z
dc.date.available2551-07-01T08:11:50Z
dc.date.issued2551-07-01T08:11:50Z
dc.description.abstractการศึกษาในเรื่อง “ปัญหาเกี่ยวกับการนำสืบพิสูจน์ค่าเสียหายในคดีละเมิดลิขสิทธิ์” ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ผู้ศึกษามีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงบทบัญญัติทางกฎหมายในเรื่องปัญหาเกี่ยวกับการนำสืบพิสูจน์ค่าเสียหาย ในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ตามกฎหมายไทย และกฎหมายต่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางในการแก้ไข ปรับปรุง กฎหมายลิขสิทธิ์ของไทย โดยข้อมูลที่นำมาเป็นฐานในการศึกษานี้ ได้มาจากบทบัญญัติทางกฎหมาย ตำราทางวิชาการ บทความ เอกสารสัมมนา และคำพิพากษาของศาลต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมถึงความสัมพันธ์กับเรื่องปัญหาในการนำสืบพิสูจน์ค่าเสียหายในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ทั้งของประเทศไทย และต่างประเทศเป็นสำคัญ ผลการศึกษาพบว่า การที่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ของไทย ฉบับที่ใช้ในปัจจุบัน เป็นการบังคับเกี่ยวกับกรณีที่เกิดจากการละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรง และก็ไม่ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ที่ว่าด้วยการกำหนดค่าเสียหายประเภทต่าง ๆ รวมถึงปัญหา และวิธีการนำสืบพิสูจน์ค่าเสียหายไว้ อันมีผลทำให้ศาล และคู่ความในคดีไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเพียงพอสำหรับใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาการนำสืบพิสูจน์ของค่าเสียหายได้อย่างเหมาะสมกับข้อพิพาท ซึ่งในกรณีที่ได้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ขึ้น ในประเด็นในเรื่องเดียวกันนี้ กฎหมายต่างประเทศจะมีหลักเกณฑ์ทางกฎหมายที่มีความชัดเจนและสมบูรณ์มากกว่าของไทย อำนาจของศาลนั้นเป็นอำนาจอิสระ และเป็นดุลพินิจของศาลแต่ละท่าน ดังนั้น เมื่อมีหลักเกณฑ์ขึ้นมาแล้วศาลซึ่งเป็นผู้พิจารณาคดีจะได้มีแนวทางในการใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายที่เป็นธรรมแก่ผู้เสียหายตามความเป็นจริง เพราะศาลจะต้องรับฟังพยานหลักฐานรูปแบบใหม่ ๆ ที่มีความสลับซับซ้อน และมีปริมาณของข้อมูลต่าง ๆ มากกว่าคดีทั่ว ๆไป ประเทศไทยจึงควรศึกษา และนำหลักเกณฑ์ของกฎหมายต่างประเทศดังกล่าวมาวิเคราะห์ เพื่อปรับใช้เป็นแนวทาง การพัฒนา และแก้กฎหมายของประเทศไทยในเรื่องเดียวกันต่อไป สารนิพนธ์นี้ มีข้อเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 64 และมาตรา 65 และข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2540 ข้อ 12 โดยบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมให้ชัดเจนถึงคำร้องว่าควรจะเป็นคำขอฝ่ายเดียว และการบัญญัติให้สิทธิแก่จำเลย หรือบุคคลที่ถูกกล่าวอ้างว่าได้กระทำละเมิด สามารถทำการยื่นคำร้องเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ระงับ หรือละเว้นการกระทำ และการให้วางประกันความเสียหายอันจะเกิดขึ้นได้ รวมถึงการบัญญัติถึงระยะเวลาสิ้นสุดของคำสั่งให้ระงับ หรือละเว้นการกระทำ โดยควรมีการบัญญัติให้มีหลักเกณฑ์ทางกฎหมายในเรื่องประเภท หรือลักษณะของค่าเสียหาย อันเนื่องมาจากการทำละเมิด หลักเกณฑ์ และวิธีการเกี่ยวกับปัญหาการนำสืบพิสูจน์ค่าเสียหายในคดีแต่ละประเภท รวมถึงการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ มาตรการการบังคับพยานที่มาให้เป็นพยาน หรือบันทึกถ้อยคำไว้แล้วไม่มาศาล เพื่อให้ศาลได้ใช้ดุลพินิจเพิ่มเติม ให้คำพิพากษาของศาลมีความชัดเจน และเป็นบรรทัดฐานเดียวกันen_US
dc.identifier.urihttps://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1185
dc.subjectค่าเสียหายen_US
dc.subjectละเมิดลิขสิทธิ์en_US
dc.subjectลิขสิทธิ์en_US
dc.titleปัญหาเกี่ยวกับการนำสืบพิสูจน์ค่าเสียหายในคดีละเมิดลิขสิทธิ์en_US
dc.typeThesisen_US

ไฟล์

ชุดต้นฉบับ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 5 ของ 11
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
title.pdf
ขนาด:
27.43 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
abstract.pdf
ขนาด:
55.77 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
ไม่มีชื่อ
ขนาด:
25.45 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
cont.pdf
ขนาด:
38.12 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
chap1.pdf
ขนาด:
84.83 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
มัดใบอนุญาต
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
license.txt
ขนาด:
1.72 KB
รูปแบบ:
Item-specific license agreed upon to submission
คำอธิบาย:

คอลเลคชัน