ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัทอะไหล่รถยนต์ แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2562-03-22

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

เชิงนามธรรม

การศึกษาครั้งนี้มุ่งศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัทอะไหล่รถยนต์ แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างได้แก่พนักงาน จำนวน 236 คน สถิติที่ใช้ในการการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ใช้การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (one-way anova) การทดสอบจำแนกเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD ใช้สถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (pearson product moment correlation coefficient) และใช้สมการพยากรณ์โดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีเพศแตกต่างกันจะมีความผูกพันเชิงบรรทัดฐานที่แตกต่างกัน ส่วนคนที่มีอายุแตกต่างกันจะมีความผูกพันเชิงการคงอยู่ที่แตกต่างกัน ส่วนคนที่มีระดับการศึกษา ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน และรายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน จะมีความผูกพันทั้ง3ด้านที่แตกต่างกัน 2) การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ในเรื่องการสรรหาและการคัดเลือก การฝึกอบรมและการพัฒนา การจ่ายค่าตอบแทนและผลปะโยชน์อื่น ความปลอดภัยและสุขภาพ การประเมิงผลการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน ส่วนขวัญและกำลังใจ และแรงงานสัมพันธ์มีอิทธิพลต่อความผูกพันขององค์กรเชิงอารมณ์ เชิงการคงอยู่ และเชิงบรรทัดฐาน แตกต่างกัน อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำอธิบาย

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

คำหลัก

การจัดการทรัพยากรมนุษย์, ความผูกพันต่อองค์กร

การอ้างอิง