การคุ้มครองผู้ต้องขังตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479
dc.contributor.author | ขนิษฐา ติรวัฒนวานิช | en_US |
dc.date.accessioned | 2562-03-07T08:06:22Z | |
dc.date.available | 2019-03-07T08:06:22Z | |
dc.date.issued | 2562-03-07 | |
dc.description | นิติศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี | en_US |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะทำการศึกษาความเป็นมาและความสำคัญของการคุ้มครองผู้ต้องขังตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 โดยทำการศึกษากฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยได้ไปลงนามและให้สัตยาบันไว้แล้ว ข้อกำหนดมาตรฐานขั้นตํ่าว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังของสหประชาชาติ ค.ศ.1955 และพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนากฎหมายพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 ให้เป็นไปตามหลักสากลและมีประสิทธิภาพในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ผลจากการศึกษาพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 พบว่าพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ยังมีการบัญญัติบทลงโทษทางวินัยต่อผู้ต้องขังที่ถือว่าเป็นการกระทำที่ทารุณกรรม เช่น การขังห้องมืดการเฆี่ยน ส่งผลให้ไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือที่ยํ่ายีศักดิ์ศรี ค.ศ.1984 และยังไม่ได้มีการกำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสำหรับผู้ต้องขังพิการ ส่งผลให้ไม่สอดคล้องกับกฎมาตรฐานว่าด้วยความเสมอภาคทางโอกาสให้แก่คนพิการ และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ รวมถึงการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เรือนจำ ยังมีการละเมิดสิทธิและใช้อำนาจไปในทางไม่ถูกต้อง ส่งผลให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อผู้ต้องขัง เนื่องจากไม่มีคณะกรรมการต่อต้านการทรมาน ที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้ถูกกระทำทรมาน ส่งผลให้ไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ยํ่ายีศักดิ์ศรี ค.ศ.1984 ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาเห็นควรที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 โดยยกเลิก คำว่า การขังห้องมืด และเฆี่ยน ที่บัญญัติอยู่ในมาตรา 35(7) และ (8) แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 และกำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการผู้ต้องขังพิการโดยให้มีบทบัญญัติการคุ้มครอง สิทธิ ประโยชน์ สวัสดิการ ที่จะได้รับในระหว่างอยู่เรือนจำเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยได้ไปลงนามและให้สัตยาบันไว้แล้ว และกฎมาตรฐานขั้นตํ่าในการปฎิบัติต่อนักโทษขององค์การสหประชาชาติ รวมถึงการจัดตั้งคณะกรรมการต่อต้านการทรมานโดยมีมาตรการกฎหมายเกี่ยวกับหน่วยงานดูแลคดีที่ผู้ต้องขังถูกทรมานเพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการกระทำอื่น ๆ ที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ยํ่ายีศักดิ์ศรีสำหรับใช้บังคับกับพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องขัง | en_US |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5980 | |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.subject | การทรมาน | en_US |
dc.subject | ผู้ต้องขัง | en_US |
dc.subject | พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 | en_US |
dc.title | การคุ้มครองผู้ต้องขังตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 | en_US |
dc.title.alternative | DETAINEE PROTECTION UNDER PENITENTIARY ACT, B.E.2479 | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |