ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับคาร์บอนเครดิต: ศึกษากรณีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) พ.ศ.2550

dc.contributor.authorปรีชา สามารถ
dc.date.accessioned2553-05-18T09:23:05Z
dc.date.available2553-05-18T09:23:05Z
dc.date.issued2553-05-18T09:23:05Z
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้เนื่องจากปัญหาโลกร้อน (Global Warming) ที่ต้องเผชิญอยู่ในปัจจุบันเกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ เมื่อมีการสะสมของก๊าซเหล่านี้เป็นจำนวนมากในชั้นบรรยากาศก่อให้เกิดการเก็บกักความร้อนจากรังสีดวงอาทิตย์เอาไว้ หรือที่เรียกกันว่าภาวะเรือนกระจก (Greenhouse Effect) ส่งผลกระทบถึงความเป็นอยู่ของประชาคมโลกโดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ทำให้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปจากปกติที่เคยเป็นมาส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก รวมถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆ ดังนั้นการประชุมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศขององค์การสหประชาชาติ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) จึงมีเป้าหมายเพื่อให้บรรลุถึงการรักษาระดับความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศให้คงที่ อยู่ในระดับที่ปลอดภัยจากการแทรกแซงของมนุษย์ที่เป็นอันตรายต่อระบบภูมิอากาศ การรักษาระดับดังกล่าวต้องดำเนินการในระยะเวลาเพียงพอที่จะให้ระบบนิเวศปรับตัวโดยไม่คุกคามต่อการผลิตอาหารของมนุษย์ จากนั้นมีการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญา (Conference of the Parties: COP) ครั้งที่ 3 ณ กรุงโตเกียว ได้มีการตกลงยกร่างพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ขึ้นในวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.2530 ได้มีการกำหนดพันธกรณีในการลดก๊าซเรือนกระจกที่เป็นข้อผูกมัดทางกฎหมายสำหรับประเทศในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหรือกลุ่มภาคผนวกที่ 1 (Annex I) และมีพันธกรณีทั่วไปร่วมกันระหว่างประเทศภาคีสมาชิกทั้งหมดรวมถึงการเพิ่มการดูดซับก๊าซเรือนกระจก และเสริมด้วยกลไกอื่นๆ ได้แก่ Joint Implementation, Clean Development Mechanism และ Emissions Trading เพื่อให้ได้มาซึ่งเครดิตที่มีต้นทุนต่ำกว่าการลดก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศ ประเทศไทยสามารถเข้าร่วมโครงการได้โดยผ่านกลไกการพัฒนาที่สะอาด จากการศึกษาพบว่าพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) พ.ศ.2550 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3) พ.ศ.2544 และกฎหมายทั่วไปยังครอบคลุมไม่ทั่วถึง ส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) พ.ศ.2550 มาตรา 7(2) ว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาโครงการที่ได้คำรับรองเท่านั้น เนื่องจากการลงทุนเกี่ยวกับกลไกการพัฒนาที่สะอาด โครงการใดต้องการที่จะขายก๊าซเรือนกระจกได้จะต้องผ่านการรับรองในชื่อ Certified Emission Reductions โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เป็นผู้พิจารณาให้การรับรองโครงการ โครงการที่ยังไม่ได้คำรับรองหรือไม่ได้ขอคำรับรองก็จะไม่ได้รับการส่งเสริมและไม่ได้ประโยชน์จากคาร์บอนเครดิตด้วย ตามมาด้วยปัญหาการส่งเสริมการลงทุน เนื่องจากโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขนาดใหญ่ต้องใช้เทคโนโลยีและเงินลงทุนสูง ควรส่งเสริมการลงทุนตามปกติ ส่วนโครงการขนาดเล็กส่งเสริมเฉพาะคนไทยเท่านั้น เพราะใช้เงินลงทุนต่ำและเทคโนโลยีไม่สูงนัก ต่อมาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับหน่วยงานในการตรวจสอบโดยไม่มีหน่วยงานใดมาตรวจสอบและติดตามผลโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ได้คำรับรองแล้ว และปัญหาการขาดมาตรการบังคับทางกฎหมายยังไม่มีมาตรการบังคับทางกฎหมายในการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนั้นผู้ศึกษาจึงได้เสนอแนะดังนี้ ให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) พ.ศ.2550 มาตรา 7(2) ว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาโครงการที่ได้คำรับรองและโครงการที่ไม่ได้คำรับรอง ขยายขอบเขตประเภทของผู้ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเกี่ยวกับคาร์บอนเครดิตว่าควรจะต้องส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ลดก๊าซเรือนกระจกโดยใช้เทคโนโลยีที่สูงเท่านั้น และการเพิ่มอำนาจหน้าที่ให้กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมควบคุมมลพิษ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือหน่วยงานเอกชนให้มีอำนาจหน้าที่เข้าไปตรวจสอบการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามโรงงานอุตสาหกรรมหรือโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่างๆที่ได้คำรับรอง แก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 โดยให้ก๊าซเรือนกระจกเป็นก๊าซที่ต้องมีการควบคุมปริมาณการปล่อยและให้ความสำคัญเกี่ยวกับการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดและการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพen_US
dc.identifier.urihttps://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1718
dc.subjectกฎหมายen_US
dc.subjectคาร์บอนเครดิตen_US
dc.subjectพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกen_US
dc.subjectก๊าซเรือนกระจกen_US
dc.titleปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับคาร์บอนเครดิต: ศึกษากรณีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) พ.ศ.2550en_US

ไฟล์

ชุดต้นฉบับ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 5 ของ 12
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
1title..pdf
ขนาด:
36.85 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
2abstract.pdf
ขนาด:
78.21 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
3acknow.pdf
ขนาด:
45.07 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
4content.pdf
ขนาด:
55.98 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
5chap1.pdf
ขนาด:
111.4 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
มัดใบอนุญาต
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
license.txt
ขนาด:
1.72 KB
รูปแบบ:
Item-specific license agreed upon to submission
คำอธิบาย: