ศักยภาพของสื่อบุคคลกับการสื่อสารเพื่อการพัฒนาชุมชน

dc.contributor.authorจินตวีร์ เกษมศุข
dc.date.accessioned2553-08-02T09:56:23Z
dc.date.available2553-08-02T09:56:23Z
dc.date.issued2553
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง “ศักยภาพของสื่อบุคคลกับการสื่อสารเพื่อการพัฒนาชุมชน” นี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาถึงคุณลักษณะของสื่อบุคคลที่สร้างเสริมศักยภาพของสื่อบุคคลในการระดมพลังการพัฒนาชุมชน 2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่เอื้ออำนวยหรือเป็นอุปสรรคต่อการใช้สื่อบุคคลในการสื่อสารเพื่อการพัฒนาชุมชน และ 3) เพื่อให้เกิดการระดมพลังการพัฒนาชุมชนและเกิดกระบวนการสื่อสารเพื่อการพัฒนาที่มีความเหมาะสมกับสภาพของแต่ละชุมชน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้นำชุมชนและสมาชิกชุมชนในเขตพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ได้แก่ การจับสลากจากรายชื่อชุมชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครจำนวน 3 เขต จากทั้งหมด 50 เขต เพื่อเป็นพื้นที่ในการศึกษา ซึ่งได้แก่ 1) ชุมชนเขตบางเขน 2) ชุมชนเขตบางนา และ 3) ชุมชนเขตพญาไท หลังจากนั้น ได้ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) โดยเลือกชุมชนในเขตดังกล่าวทั้ง 3 เขต ได้แก่ 1) ชุมชนหมู่บ้านคงหิรัญ เขตบางเขน 2) ชุมชนคลองบางนา เขตบางนา และ 3) ชุมชนสนามเป้า เขตพญาไท ทั้งนี้ จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งที่เป็นผู้นำชุมชนและสมาชิกในชุมชนมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 372 คน แบ่งออกเป็นผู้นำชุมชน 3 คน และสมาชิกชุมชน 369 คน โดยแบ่งเป็นชุมชนสนามเป้า เขตพญาไท จำนวน 141 คน ชุมชนหมู่บ้านคงหิรัญ เขตบางเขน จำนวน 78 คน และชุมชนคลองบางนา เขตบางนา จำนวน 150 คน จากผลการวิเคราะห์คุณลักษณะที่สร้างเสริมศักยภาพของผู้นำชุมชนทั้ง 9 ลักษณะ อันจะมีส่วนช่วยในการระดมพลังพัฒนาชุมชน พบว่า โดยส่วนใหญ่ ทั้งผู้นำชุมชนและสมาชิกชุมชนในแต่ละชุมชนนั้น มีความตระหนักว่า ผู้นำชุมชนของตนต้องเป็นผู้มีความอดทนที่จะผลักดันงานให้ไปสู่จุดหมายปลายทางหรือประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่สมาชิกในชุมชนส่วนใหญ่มีความต้องการเป็นอันดับแรกถึงร้อยละ 95.4 อันดับสองคือ ผู้นำชุมชนของตนต้องเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ร้อยละ 94.4 เช่น รู้จักประสานความคิด ประสานประโยชน์ สามารถทำงานร่วมกับสมาชิกในชุมชนได้ และอันดับสามคือ ผู้นำชุมชนต้องเป็นผู้มีความยุติธรรมและซื่อสัตย์สุจริต โดยต้องอาศัยหลักของความถูกต้อง หลักแห่งเหตุผลและความซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น หรือปฏิบัติงานด้วยจิตที่ปราศจากอคติ ปราศจากความลำเอียง ร้อยละ 93.8 นอกจากนี้ จากผลการวิเคราะห์คุณลักษณะที่สร้างเสริมศักยภาพในการสื่อสารของผู้นำชุมชนทั้ง 11 ลักษณะ อันเป็นปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการใช้สื่อบุคคลในการสื่อสารเพื่อการพัฒนาชุมชน พบว่า คุณลักษณะที่สร้างเสริมบทบาทในการสื่อสารของผู้นำชุมชน 3 อันดับแรก ได้แก่ การเป็นผู้รับฟังความคิดเห็นและความต้องการของชุมชน การเป็นผู้เปิดรับการสื่อสารจากภายนอกเข้าสู่ชุมชนและสามารถถ่ายทอดข่าวสารให้ชุมชนได้รับรู้ และการเป็นผู้กลั่นกรองข่าวสารให้เหมาะสมกับพื้นฐานความรู้ของคนในชุมชน ตามลำดับen_US
dc.identifier.urihttps://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1842
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.subjectสื่อบุคคลen_US
dc.subjectการสื่อสารเพื่อการพัฒนาen_US
dc.subjectชุมชนen_US
dc.titleศักยภาพของสื่อบุคคลกับการสื่อสารเพื่อการพัฒนาชุมชนen_US
dc.title.alternativeTHE POTENTIAL OF PERSONAL MEDIA VERSUS DEVELOPMENT COMMUNICATION FOR COMMUNITYen_US

ไฟล์

ชุดต้นฉบับ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
51.ดร.จินตวีร์.pdf
ขนาด:
2.46 MB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
มัดใบอนุญาต
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
license.txt
ขนาด:
1.73 KB
รูปแบบ:
Item-specific license agreed upon to submission
คำอธิบาย: