กฎหมายต้นแบบว่าด้วยความเสมอภาคด้านมาตรฐานขั้นต่ำเกี่ยวกับสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของพนักงานมหาวิทยาลัย
dc.contributor.author | สว่าง กันศรีเวียง | th_TH |
dc.date.accessioned | 2566-03-08T04:59:20Z | |
dc.date.available | 2023-03-08T04:59:20Z | |
dc.date.issued | 2566 | |
dc.description | ตารางและรูปภาพประกอบ | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้ศึกษาและวิจัยเรื่องกฎหมายต้นแบบว่าด้วยความเสมอภาคในสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของพนักงามหวิทยาลัย ซึ่งมีวัตถุประสงเพื่อการศึกษา (1) แนวคิด ทฤษฎี หลักการที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล (2) วิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบในเรื่องสวัสดิการ และประโยชน์เกื้อกูลของกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศ และ กฎหมายของประเทศไทย เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลพนักงานมหาวิทยาลัยของประเทศไทยให้เกิดความเสมอภาคกัน (3) วิเคราะห์สภาพการณ์การคุ้มครองสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของพนักงานมหาวิทยาลัยของประเทศไทย (4) วิเคราะห์รูปแบบสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลที่เหมาะสมสำหรับสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลพนักงานมหาวิทยาลัยของประเทศไทย (5) จัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยความเสมอภาคในสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของพนักงานมหาวิทยาลัย ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า จากการใช้ทฤษฎี หลักการ และแนวคิดในการวิเคราะห์เกี่ยวกับความเสมอภาคในสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของพนักงานมหาวิทยาลัยพบว่า พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เป็นกฎหมายที่เปิดช่องนำหลักการความมีอิสระในการบริหารจัดการมาใช้กับมหาวิทยาลัย ระบบการบริหารงานด้านบุคลากรจึงให้อำนาจและหน้าที่แก่สภามหาวิทยาลัยในการกำหนดสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล ซึ่งพบว่าแต่ละมหาวิทยาลัยมีการกำหนดอัตราสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลแตกต่างกัน ทั้งที่การเข้ามาเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยของทุกมหาวิทยาลัยถูกกำหนดคุณสมบัติเหมือนกัน จึงเกิดการเปรียบเทียบระหว่างมหาวิทยาลัยเดียวกันหรือระหว่างมหาวิทยาลัยทำให้เห็นได้ชัดถึงความไม่เสมอภาค เหลื่อมล้ำ ไม่เท่าเทียมกันทั้งที่ต่างก็ทำหน้าที่เหมือนกัน ซึ่งย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้านการให้ความรู้แก่บุคลากรของชาติ ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้จึงได้เสนอกฎหมายต้นแบบความเสมอภาคในสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของพนักงานมหาวิทยาลัย ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติความเสมอภาคในสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. .... ซึ่งประกอบด้วย (1) นิยามศัพท์ (2) การศึกษา (3) ความมั่นคงในชีวิต (4) หลักประกันสุขภาพ และ (5) แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน | th_TH |
dc.description.sponsorship | Sripatum University | th_TH |
dc.identifier.citation | สว่าง กันศรีเวียง. 2565. "กฎหมายต้นแบบว่าด้วยความเสมอภาคด้านมาตรฐานขั้นต่ำเกี่ยวกับสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของพนักงานมหาวิทยาลัย." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. | th_TH |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9059 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศรีปทุม | th_TH |
dc.subject | ความเสมอภาค | th_TH |
dc.subject | สวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล | th_TH |
dc.subject | พนักงานมหาวิทยาลัย | th_TH |
dc.title | กฎหมายต้นแบบว่าด้วยความเสมอภาคด้านมาตรฐานขั้นต่ำเกี่ยวกับสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของพนักงานมหาวิทยาลัย | th_TH |
dc.title.alternative | MODEL LAW ON EQUALITY OF MINIMUM STANDARDS ON THE WELFARE AND BENEFITS OF UNIVERSITY STAFFS | th_TH |
dc.type | Thesis | th_TH |
ไฟล์
ชุดต้นฉบับ
1 - 5 ของ 15
กำลังโหลด...
- ชื่อ:
- กิตติกรรมประกาศ (final).pdf
- ขนาด:
- 254.14 KB
- รูปแบบ:
- Adobe Portable Document Format
มัดใบอนุญาต
1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
- ชื่อ:
- license.txt
- ขนาด:
- 1.71 KB
- รูปแบบ:
- Item-specific license agreed upon to submission
- คำอธิบาย: