มาตรการทางกฎหมายในการบังคับใช้พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522
dc.contributor.author | สุสิริวงษ์ ยอดวงษ์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2566-08-08T03:52:11Z | |
dc.date.available | 2023-08-08T03:52:11Z | |
dc.date.issued | 2566 | |
dc.description | ตารางประกอบ | th_TH |
dc.description.abstract | สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษามาตรการทางกฎหมายในการบังคับใช้พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 (ฉบับที่ 13 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2565) เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสภาพการจราจรและจำนวนยานพาหนะที่เพิ่มขึ้นและเพื่อความปลอดภัยแก่ชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของประชาชน อย่างไรก็ตามปัจจุบันประเทศไทยก็ยังคงประสบปัญหาในเรื่องอุบัติเหตุบนท้องถนน ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาทางสังคมที่สำคัญก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน โดยเฉพาะอุบัติเหตุจากการขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด หรือขับขี่ในขณะเมาสุรา เนื่องจากผู้ขับขี่และผู้ใช้ทางไม่เคารพกฎหมายจราจร หรือ ไม่เกรงกลัวต่อการกระทำผิดกฎหมาย โดยมีสาเหตุมาจากความไม่เหมาะสมของการบังคับใช้ หรือ บทลงโทษของผู้กระทำความผิด ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับความเหมาะสมในการบังคับใช้พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 พบว่าภายใต้พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 เป็นกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับบทลงโทษ และลักษณะของการกระทำผิดอันเกี่ยวข้องกับการจราจรทางบกซึ่งรายละเอียดของความผิดจะถูกกำหนดโดยกฎหมายลำดับรอง ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 เช่น กฎกระทรวง หรือระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับระบบการบันทึกคะแนนความประพฤติในการขับรถของผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่ พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นมาตรการเสริมในการสร้างวินัยการขับขี่ เพื่อแก้ไขปัญหาเหตุการณ์ หรือการกระทำที่มีผู้กระทำความผิดแล้วส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงในสังคม อย่างไรก็ตาม ยังพบว่าตัวบทกฎหมายดังกล่าว ยังไม่มีความสามารถในการข่มขู่ หรือยับยั้งให้คนไม่กล้า หรือเกรงกลัวในการกระทำความผิดได้ ส่งผลให้ยังเกิดการฝ่าฝืนกฎหมายของผู้ขับขี่และผู้ใช้ทางอยู่เสมอ ซึ่งเห็นได้จากจำนวนอุบัติเหตุจากการจราจรในประเทศไทยมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี (2) ปัญหาเกี่ยวกับบทลงโทษผู้กระทำความผิดพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 โดยเฉพาะความผิดที่มีโทษปรับทางอาญา พบว่า ภายใต้พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ได้กำหนดบทลงโทษสำหรับผู้กระทำความผิด ได้แก่ การตัดแต้มใบขับขี่ การชำระค่าปรับ และการสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต อย่างไรก็ตามบทลงโทษที่มีโทษปรับทางอาญา และการตัดแต้มนั้น ปัจจุบันยังไม่สามารถส่งผลให้กับผู้ขับขี่และผู้ใช้ทางเกิดความเกรงกลัวในผลของบทลงโทษทางกฎหมาย (3) ปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดอำนาจหน้าที่ให้เจ้าพนักงานตำรวจจราจรในการบังคับใช้พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 กับผู้กระทำความผิด พบว่าพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ถือเป็นกฎหมายหลักในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของตำรวจจราจร อย่างไรก็ตาม การที่พระราชบัญญัติจราจรให้อำนาจแก่พนักงานสอบสวนทำการเปรียบเทียบปรับอย่างกว้าง ส่งผลให้ความเคารพกฎหมายของคนในสังคมลดลง และเปิดโอกาสให้เจ้าพนักงานจราจรใช้โทษและมาตรการบังคับเป็นข้อต่อรอง เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วย ซึ่งหากเปรียบเทียบกับประเทศญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และ ราชอาณาจักรสวีเดน แล้ว ทั้งสามประเทศต่างให้ความสำคัญกับลักษณะของการกระทำความผิด และบทลงโทษเพื่อป้องกันการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย พร้อมทั้งให้เจ้าพนักงานตำรวจจราจรมีอำนาจในการยึดใบอนุญาตขับขี่ และเขียนใบสั่งเมื่อพบเห็นการกระทำความผิด เช่น ประเทศญี่ปุ่นในกรณีของการกระทำความผิดเมาแล้วขับนั้น ไม่เพียงแต่ห้ามเฉพาะผู้ขับขี่ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น ยังกำหนดความผิดไปถึงผู้ที่ให้ยืมรถ หรือผู้ที่จัดหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้ผู้ขับขี่ด้วย สหราชอาณาจักรได้กำหนดบทลงโทษในการตัดแต้ม และ ค่าปรับสำหรับผู้กระทำความผิด โดยเฉพาะความผิดกรณีขับรถยนต์เกินอัตราความเร็วที่กฎหมายกำหนด สำหรับราชอาณาจักรสวีเดนได้ดำเนินโครงการ Vision Zero โดยได้ดำเนินการออกแบบถนนเพื่อความปลอดภัยของคน ทั้งคนขับและคนที่เดินถนน มากกว่าความสะดวกสบายในการขับขี่ ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาทางกฎหมาย โดยการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ดังนี้ (1) ควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมลักษณะของการกระทำความผิดให้มีความเหมาะสมกับปัจจุบันมากยิ่งขึ้น (2) ควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโทษปรับในฐานความผิดที่กระทบสิทธิของประชาชนโดยรวม ให้สูงมากยิ่งขึ้นจนเกิดความเกรงกลัวที่จะกระทำความผิด (3) ควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ให้เจ้าพนักงานจราจรเป็นการเฉพาะ กล่าวคือ เมื่อพบการกระทำความผิดสามารถออกหมายเรียก หมายจับ และติดตามจับกุมผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีจนเสร็จสิ้นกระบวนความ เพื่อให้การติดตามและจับกุมผู้กระทำความผิดมาลงโทษมีความรวดเร็ว | th_TH |
dc.description.sponsorship | Sripatum University | th_TH |
dc.identifier.citation | สุสิริวงษ์ ยอดวงษ์. 2566. "มาตรการทางกฎหมายในการบังคับใช้พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. | th_TH |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9306 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศรีปทุม | th_TH |
dc.subject | กฎหมายจราจร | th_TH |
dc.subject | มาตรการทางกฎหมาย | th_TH |
dc.title | มาตรการทางกฎหมายในการบังคับใช้พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 | th_TH |
dc.title.alternative | LEGAL PROBLEM ON THE LAW ENFORCEMENT TRAFFIC ACT, B.E. 2522 | th_TH |
dc.type | Thesis | th_TH |
ไฟล์
ชุดต้นฉบับ
1 - 5 ของ 14
กำลังโหลด...
- ชื่อ:
- กิตติกรรมประกาศ (Final).pdf
- ขนาด:
- 67.91 KB
- รูปแบบ:
- Adobe Portable Document Format
มัดใบอนุญาต
1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
- ชื่อ:
- license.txt
- ขนาด:
- 1.71 KB
- รูปแบบ:
- Item-specific license agreed upon to submission
- คำอธิบาย: